14 พ.ค. 2020 เวลา 06:21 • การศึกษา
CHAPTER 13
เมื่อตกเป็น " บุคคลล้มละลาย " ส่งผลอย่างไรต่อชีวิตบ้าง ???
ภาพจาก : scb.co.th
/// เพื่อให้ทุกคนได้ระวังไม่ให้ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เพราะการล้มละลายไม่ใช่เรื่องไกลตัว ///
📍ในที่นี้ ผมจึงรวบรวมเอาประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับกฎหมายล้มละลายมาเล่าให้ฟัง และเกริ่นนำในเรื่องฐานเศรษฐกิจบ้าง เพื่อผู้อ่านจะได้รู้เท่าทันและไม่อยู่ในสภาวะเสี่ยงที่จะเป็นบุคคลล้มละลาย /// 😷
- ผมขอเกริ่นนำในด้านฐานเศรษฐกิจประเทศไทยก่อนนะครับ
เพราะเป็นจุดเชื่อมโยงที่ก่อให้เกิดหนี้ไม่ทางตรง..ก็ทางอ้อม ☠️
• ย้อนไปเมื่อ (ปี 61) ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รายงานภาพรวมเศรษฐกิจโลกในปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมาว่าอยู่ในภาวะการขยายตัวชะลอลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2560
• ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2562 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอลงไปกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งในยุคที่เศรษฐกิจชะลอตัวเช่นนี้ อะไร ๆ ก็มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ ทำให้หลายครั้งเราอาจจะได้ยินหรือพบเห็นคนที่มีฐานะทางการเงินทั้งในระดับร่ำรวยและปานกลาง อยู่ดี ๆ ก็กลายเป็น“คนล้มละลาย”
1
ภาพจาก : google
• และในต้นปี 2563 ก็ต้องมาเจอ COVID-19 😈 ที่จะสร้างมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงกว่ากรณีของโรคซาร์สที่มีจุดกำเนิดที่จีนเช่นกัน
1
• โดยมีการประเมินว่าทำให้ GDP โลกลดลง 54,000 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 0.14% สำหรับผลกระทบครั้งนี้ในด้านการค้าโลก
🇹🇭 ขณะที่ไทยติดอยู่ที่อันดับ 11 ด้วยมูลค่าความเสียหาย 700 ล้านดอลลาร์ โดยอุตสาหกรรมผลิตยางและพลาสติก เครื่องมือเครื่องจักร เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์สื่อสาร ยานยนต์ ในไทยเป็นสาขาที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด
📚 ข้อมูลจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย
ภาวะ : หนี้ครัวเรือน
- จากรูปจะเห็นว่า ไทย 🇹🇭เราเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย : คนไทยมีหนี้มากขึ้นสถิติตรงนี้มีความสำคัญ เพราะภาคครัวเรือนเป็นหน่วยเศรษฐกิจรากฐานที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
- คนไทยเริ่มเป็นหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย คนไทยอายุ 30 ปี ครึ่งหนึ่งมีหนี้แล้ว และประมาณ 1 ใน 5 เป็นหนี้เสีย คนไทยมีหนี้มากขึ้น ค่าเฉลี่ยหนี้ต่อรายเพิ่มขึ้นจาก 377,109 บาท เป็น 552,499 บาท ขณะที่ยอดหนี้ลดลงไม่มากแม้จะเข้าสู่วัยเกษียณอายุ เกษียณแล้วหนี้ยังไม่หมด คนไทยอายุ 60-69 ปี ยังมีหนี้เฉลี่ย 453,438 บาท/ราย
📚 ขอบคุณข้อมูลจาก : mgronline.com
ภาพจาก : moneyhub
- อย่างไรก็ดีหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เป็นสิ่งที่เราควรต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีหนี้สินมากมายจนถึงขนาด ที่เรียกว่า “หนี้สินล้นพ้นตัว” ซึ่งอาจจะทำให้เรากลายเป็นบุคคลล้มละลาย
- การเป็นบุคคลล้มละลายนั้นมีสาเหตุจากการที่เรามีหนี้สินมาก และไม่สามารถชำระคืนกับเจ้าหนี้ได้ จึงถูกเจ้าหนี้ฟ้องล้มละลาย โดยการจะถูกฟ้องล้มละลายนั้นมีสาเหตุมาจาก
* เป็นบุคคลธรรมดา – ที่มีหนี้สินเกิน 1 ล้านบาท
* เป็นนิติบุคคล – ที่มีหนี้เกิน 2 ล้านบาท
* เป็นผู้ที่เข้าข่ายว่า “มีหนี้สินล้นพ้นตัว”
1
หรือ “ไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้ได้” !!!
ภาพจาก http://www.supremecourt.or.th/อ่านบทความ/ระบบกฎหมายล้มละลายของไทย
" ด้วยข้อสันนิษฐานว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 8 แห่ง
พ.ร.บ.ล้มละลาย "
- ข้อสันนิษฐานว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ทำให้เจ้าหนี้ฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายได้ตามมาตรา 9 (1)
- แต่ถึงอย่างไรก็ตามหากเจ้าหนี้สามารถนำสืบได้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินแล้ว
- ก็เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 9 (1) ได้แล้ว ไม่จำต้องนำสืบถึงข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 แต่อย่างใด
- แต่ถึงอย่างไรก็ตามแม้เจ้าหนี้สามารถนำสืบได้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว ไม่ว่าจะนำสืบตามความจริงหรือตามข้อสันนิษฐาน
- ศาลก็ยังมาสามารถมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ได้...
- โดยศาลจำต้องไปพิจารณาตามมาตรา 9 และมาตรา 14 อีกทีหนึ่ง
- จึงจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ได้ ครับ
ภาพจาก : kapook.com
💥 การเป็นบุคคลล้มละลาย มีผลอย่างไรบ้าง?
- การเป็นบุคคลล้มละลายจะมีผลทำให้เราไม่สามารถทำนิติกรรม นิติกรรมสัญญา ใดๆ ทั้งสิ้นได้
- รวมถึงธุรกรรมการเงินต่างๆ  เช่น เปิดบัญชีธนาคาร เป็นต้น และยังส่งผลทำให้เราไม่สามารถดำรงตำแหน่งในบริษัทหรือห้างร้านต่างๆได้อีกด้วย
- ซึ่งในส่วนของการดำรงตำแหน่งนี้ หากมีความจำเป็นก็จะต้องได้รับ
อนุญาติจากศาลเสียก่อน จึงจะสามารถดำรงตำแหน่งได้
1
💥 การเป็นบุคคลล้มละลายมีผลต่อการเดินทางไปต่างประเทศหรือไม่?
- การเป็นบุคคลล้มละลายมีผลต่อการเดินทางไปต่างประเทศ เพราะจะทำให้เราไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้
- หากมีความจำเป็นต้องเดินทางไปจริงๆ ก็ต้องขออนุญาตจากพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สินก่อน โดยเราจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจะไปที่ไหน เป็นระยะเวลาเท่าไหร่ จะมีรายได้เท่าไหร่ และนำส่งรายได้ประมาณ 30% เพื่อชำระหนี้
- ทั้งนี้การจะอนุญาตให้ออกนอกประเทศหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
✅ ซึ่งหากเราได้รับอนุญาตให้ออกนอกประเทศ เราที่เป็นบุคคลล้มละลายจะต้องทำบัญชีรายรับรายจ่าย ส่งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ทุกๆ 6 เดือน พร้อมทั้งส่งรายได้ตามที่เจ้าพนักงานจะอายัดเข้ากองทรัพย์สินด้วย
- และบุคคลล้มละลายจะต้องแจ้งชื่อผู้ที่เจ้าพนักงานฯ จะสามารถติดต่อได้ในระหว่างที่บุคคลล้มละลายไปทำงานที่ต่างประเทศ ทั้งนี้บุคคลล้มละลายจะต้องปฏิบัติตามที่ได้ตกลงกับเจ้าพนักงานฯ ไว้อย่างเคร่งครัด
💥 ระยะเวลาเท่าใดจึงจะพ้นสภาพการเป็นบุคคลล้มละลาย?
1
* การถูกสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายนั้น จะมีระยะเวลา 3 ปี เมื่อครบกำหนดก็จะถูกปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ยกเว้นกรณีที่ไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหนี้ ก็อาจจะมีการขยายเวลาเป็น 5 หรือ 10 ปีก็ได้
1
* เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปี ก็ให้บุคคลล้มละลายติดต่อกับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์สินเพื่อขอปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย
* หลังจากปลดจากการเป็นบุคคลล้มลายแล้ว ก็จะสามารถทำงานและทำธุรกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ
💥 หลังถูกปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย หนี้จะหมดไปด้วยหรือไม่?
1
- สำหรับบุคคลล้มละลายที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเข้าให้การและเข้าพบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น เมื่อครบกำหนดเวลาก็จะถูกปลดจากการล้มละลายทันที
- ซึ่งคำสั่งปลดจากการล้มละลายนี้ จะส่งผลให้บุคลลล้มละลายนั้นหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งปวงด้วย  ยกเว้นแต่หนี้สินที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรหรือหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการทุจริต ฉ้อโกงของบุคคลล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 81/1
📚 ขอบคุณข้อมูลจาก Cr. krisdika.go.th , Sanook , wiki กฎหมายล้มละลาย , Kapook , กรมบังคับคดี , กระทรวงยุติธรรม)
วาดโดย : คุณติสตี่
**** ถึงแม้ว่าการเป็นบุคคลล้มละลายนั้นจะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนก็ตาม แต่หากเรามีวินัยการเงินที่ดีและมีการวางแผนการใช้จ่ายเงินของเราให้ดี รวมถึงมีวินัยในการชำระคืนหนี้ที่เรายืมมาให้ครบถ้วน
และไม่สร้างหนี้สินให้ล้นพ้นตัว กู้ยืมมาเฉพาะที่เราใช้คืนไหวเท่านั้น  เพียงเท่านี้เราก็ห่างไกลจากการเป็นบุคคลล้มละลายได้แล้วล่ะครับ
หวังว่าข้อมูลที่เรานำมาเสนอในวันนี้นั้นจะเป็นประโยชน์กับพวกเราทุกคนนะครับ และหากใครอยากหาข้อมูลเรื่องของการถูกฟ้องล้มละลายเพิ่มเติม ก็ขอแนะนำให้ปรึกษาทนายความเพื่อขอรับคำปรึกษา รวมถึงแนวทางการแก้ไข ***
💕 หากบทความนี้เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ ขอให้กดไลค์ กดแชร์ ><!
เป็นกำลังใจให้ผู้จัดทำต่อไปครับ ^^
/// กฎหมายจอมโจร by kuroba /// 🤭

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา