14 พ.ค. 2020 เวลา 15:04 • การศึกษา
CHAPTER 14
ข้าราชการติดคุก - ล้มละลายทุจริต
( มีสิทธิได้รับเงินบำนาญ เพราะความดีในอดีต )
ภาพจาก Suphatthra olovedog / Shutterstock
ทุกคนคงสัยสัยว่าความดีอะไร ? ความดีอย่างไร ? 😷
ในเมื่อกระทำความผิดเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน สามารถนำไปลบล้างได้หรอ ?
👤 สำหรับคนที่รับราชการนั้นจะได้สิทธิประโยชน์จากการเป็นข้าราชการหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ เงินบำเหน็จบำนาญ ซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494
- 💰เงินบำเหน็จ คือเงินที่เราได้รับครั้งเดียวตอนเกษียณอายุ
- 💵 เงินบำนาญ คือเงินที่เราได้รับคงที่ทุกๆเดือนหลังเกษียณอายุ
ซึ่งกรมบัญชีกลาง ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิบำเหน็จบำนาญ
กรณีติดคุกหรือล้มละลาย ...
กรณีถูกศาลสั่งจำคุกหรือล้มละลาย ว่าจะยังคงได้รับบำนาญต่อไปหรือไม่ นั้น...กรมบัญชีกลางขอชี้แจงว่า ผู้รับบำนาญที่ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในหรือหลังวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551
จะยังคงได้รับบำนาญต่อไปได้ ด้วยเหตุผล ดังนี้...
💥 เดิม พระราชบัญญัติบําเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 52 บัญญัติไว้ว่า ผู้รับบำนาญที่กระทำความผิดถึงต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาโทษจำคุก
เว้นแต่ความผิดในลักษณะลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท และผู้รับบำนาญที่เป็นบุคคลล้มละลายทุจริต จะหมดสิทธิรับบำนาญตั้งแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด
รูปจาก : กรมบัญชีกลาง
- แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 กระทรวงการคลังได้ตราพระราชบัญญัติ
บําเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2551 และให้ยกเลิกมาตรา 52 โดยมีเหตุผลสำคัญ 3 ประการ ได้แก่...
💥 1. บำนาญ เป็นเงินที่ตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ความชอบดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผู้รับบำนาญได้สั่งสมมาตลอดชีวิตการรับราชการ
แม้ผู้รับบำนาญจะได้กระทำผิดกฎหมายจนต้องได้รับโทษถึงจำคุกหรือเป็นบุคคลล้มละลายทุจริตในภายหลัง
ก็ไม่ได้กระทบต่อความดีความชอบที่ผู้รับบำนาญได้กระทำไว้ในอดีต การนำเอาความผิดที่ได้กระทำในวันนี้ ไปลบล้างความชอบที่ได้กระทำลงไปแล้วจึงไม่ถูกต้อง...
ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการรับบำเหน็จ ซึ่งเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาเช่นกัน เมื่อผู้รับบำเหน็จได้รับโทษจำคุกหรือเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต ก็มิได้มีการเรียกเงินบำเหน็จที่ได้รับไปแล้วคืนแต่ประการใด... 🤭
💥 2. ผู้รับบำนาญ มีเงินบำนาญที่ได้รับจากรัฐบาลทุกเดือนเป็นรายได้เพียงประการเดียว การที่ผู้รับบำนาญถูกงดบำนาญเพราะเหตุถูกจำคุก
ภายหลังเมื่อผู้รับบำนาญพ้นโทษก็จะกลายเป็นบุคคลผู้ไม่มีรายได้ ซึ่งรัฐบาลก็ต้องจัดสรรงบประมาณในการสงเคราะห์ดูแลเช่นเดิม
💥 3. ผู้รับบำนาญที่เสียสิทธิในการได้รับบำนาญเมื่อถึงแก่ความตาย ทายาทจะไม่มีสิทธิในการขอรับบำเหน็จตกทอด ทั้งที่ทายาทมิได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย... 😳
( ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมบัญชีกลาง ผ่านเพจ สถานีข่าวกระทรวงการคลัง : Ministry of Finance News Station โดยนางสาววิลาวรรณ พยาน้อย รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง )
/// หากบทความนี้เป็นประโยชน์แก่สารธารณะ
ช่วยกดไลค์ 🤭 กดแชร์เป็นกำลังใจ 💕
ให้ผู้จัดทำด้วยนะครับ^^ ///
วาดโดย : คุณติสตี่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา