16 พ.ค. 2020 เวลา 06:26 • ธุรกิจ
AOT ตัวแทงค์ฝั่งไทย
รับผลกระทบหนักแค่ไหนกับวิกฤติครั้งนี้
ช่วงนี้ก็ต้องเรียกว่าเป็นฤดูกาล “ประกาศงบ” ของบริษัทจดทะเบียนมากมายหลายตัวในไตรมาส 1 กันเลยก็ว่าได้
เนื่องจากผลประกอบการของไตรมาส 1 หรือของช่วง 3 เดือนแรกของทุกๆปีนั้นก็จะถูกทยอยประกาศออกมาในเดือนพฤษภาคมเช่นเดียวกันกับในปี 2563 นี้นั่นเองครับ
โดยที่งบของ AOT ในรอบนี้จะเรียกกันว่าเป็นงวด “ไตรมาส 2” แต่ก็ยังคงเป็นผลประกอบการจากช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม เหมือนกับบริษัทอื่นๆครับ
และด้วยวิกฤติโควิดในรอบนี้ล่ะ ส่งผลกระทบไปมากขนาดไหน ? ซึ่งการวัดผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างง่ายๆและตรงไปตรงมาก็คือการดู “กำไร” ของบริษัทจดทะเบียนในช่วงนี้ แต่ก็ต้องยอมรับเลยล่ะครับว่าตัวเลขที่ออกมาในไตรมาสนี้ยังถือว่าไม่ใช่จุดต่ำสุด
และเดี๋ยววันนี้เราจะไปพูดถึง AOT หุ้นที่ผู้เขียนเรียกว่าเป็น “ตัวแทงค์ฝั่งไทย” เนื่องจากว่าในวิกฤติรอบนี้เที่ยวการบินนั้นก็ถูกห้ามบินไปเกือบทั้งหมด ! เพราะฉะนั้นบริษัทที่ทำธุรกิจในอุตสาหกรรมการบินและบริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในไทยอย่างพวกเขาจึงถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบกันไปเต็มๆ
AOT เป็นหุ้นของบมจ. ท่าอากาศยานไทย ผู้ทำธุรกิจบริหารจัดการและดูแลสนามบินทั้ง 6 แห่งของไทย (สนามบินสุวรรณภูมิ, ดอนเมือง, ภูเก็ต, เชียงใหม่, หาดใหญ่ และสนามบินแม่ฟ้าหลวง) โดยถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2522 กับชื่อเดิม Airports Authority of Thailand (AAT) และได้มาเปลื่ยนใช้ชื่อในปัจจุบันมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 ไปพร้อมๆกับการแปรสภาพบริษัทเป็นมหาชน
แน่นอนว่ารายได้กว่า 55% ของ AOT นั้นมาจากธุรกิจการบินอย่างเช่นค่าบริการผู้โดยสาร ค่าบริการสนามบินและค่าเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนั้นเมื่อการ “ปิดประเทศ” เกิดขึ้น ผลกระทบก็ได้ตกมาอยู่กับหุ้นยักษ์ใหญ่ตัวนี้ทันที
แต่เดี๋ยวเราไปดูงบการเงินย้อนหลังของพวกเขากันก่อนและเราก็จะพบว่า AOT มีกำไรที่ค่อนข้างมั่นคงและมีการเติบโตมาเรื่อยๆ แต่ดูเหมือนว่าสภาพเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในปี 2562 ที่ผ่านของไทยนั้นไม่ค่อยจะเป็นใจสักเท่าไหร่
ปีพ.ศ. 2559 ที่ 19,571 ล้านบาท
ปีพ.ศ. 2560 ที่ 20,683 ล้านบาท
ปีพ.ศ. 2561 ที่ 25,170 ล้านบาท
ปีพ.ศ 2562 ที่ 25,026 ล้านบาท
และล่าสุดงบไตรมาส 2 ปี 2563 ของทาง AOT (มกรา-มีนา) ก็ได้ประกาศออกมาแล้ว ซึ่งผลก็ปรากฎว่าทางบริษัทนั้นมีรายได้อยู่ที่ 12,382 ล้านบาทและกำไร 3,647 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งถ้าเอาตัวเลขไปเทียบกับผลงานปีก่อนก็จะเห็นว่าทรุดลงมาถึง 29% และ 52% ทั้งรายได้รวมและกำไรสุทธิ
โดยสาเหตุหลักก็ของรายได้ที่หายไปนั้นก็จะมาจากค่าบริการผู้โดยสารขาออกที่หดตัวลงไปถึง 34.27% หรือกว่า 2,588 ล้านบาท และรายได้ที่ไม่เกี่ยวกับการบินก็ยังหายไปอีก 30% จากมาตรการช่วยเหลือเยี่ยวยาต่างๆที่ทาง AOT ได้มอบให้กับผู้เช่าและลูกค้า
ซึ่งก็สอดคล้องกับตัวเลขเที่ยวบินจากสนามบินทั้งหมด 6 แห่งของ AOT ที่มีการรายงานออกมาว่าเที่ยวบินของพวกเขาได้หายไปกว่า 9.94% ในไตรมาสนี้ เช่นเดียวกันกับจำนวนผู้โดยสารที่หายไปกว่า 63 ล้านคนหรือที่ราวๆ 14% โดยจะแบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 37 ล้านคนและผู้โดยสารในประเทศอีก 26 ล้านคน
เป็นยังไงกันบ้างครับกับผลกระทบของ Covid-19 กับหุ้นเจ้าของสนามบินที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในไทยอย่าง AOT ที่เมื่อตอนการท่องเที่ยวดีอะไรก็ดี แต่เมื่อการท่องเที่ยวเจ็บหุ้นตัวนี้ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่ง “ตัวแทงค์” ที่ต้องรับผลกระทบไปอย่างหนักหน่วงในรอบนี้
แต่ถึงอย่างไรแล้ว AOT ก็ยังคงเป็นหุ้นที่ถือว่ามีพื้นฐานแข็งแกร่งอีกหนึ่งตัว เพราะธุรกิจสนามบินนั้นก็ถือว่าค่อนข้างเป็นไปในลักษณะของการผูกขาดระยะยาว แต่ถึงแม้ว่าจะไม่ผูกขาดก็คงยากมากๆที่จะมีใครมาเปิดสนามบินแข่งกันเหมือนธุรกิจอื่นๆและที่สำคัญคือ AOT มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ “กระทรวงการคลัง” ที่ถืออยู่ในสัดส่วนกว่า 70% อีกด้วย
บริษัทจดทะเบียนที่มีมูลค่ามากที่สุดในไทยจะมีอาการเป็นอย่างไรในไตรมาสต่อไป ???
คำว่า “หนัก” นั้นจะหนักกว่า หรือหนักน้อยกว่าที่เราคิดไว้กับ “ตัวแทงค์ฝั่งไทย” และตัวแทงค์ของฝั่งอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในครั้งนี้ ??
เรื่องนี้ ก็ต้องมาติดตามและเอาใจช่วยกันต่อไป...
ติดตามบทความดีๆของพวกเราได้ทาง WEBSITE
หรือ FACEBOOK เพจ หุ้นพอร์ทระเบิด
- - - -
ผู้สนับสนุน
สนใจเปิดพอร์ท หุ้น TFEX SBL BLOCKTRADE กับโบรคเกอร์ KTBST
ค่าธรรมเนียมเรทพิเศษ
พร้อมรับสิทธิพิเศษมากมาย
- ทีมงานมืออาชีพคอยให้บริการ
- โปรแกรม EFIN//ASPEN
- โปรแกรม SUPPORT อื่นๆเช่น MT4//MODEL TRADE//KTBST SMART และอื่นอีกมากมาย
กรอกรายละเอียดได้เลย 👇
โฆษณา