18 พ.ค. 2020 เวลา 11:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
[ Chapter 13 ] Technic เทพๆ ในการใช้ Pareto เลือกหัวข้อในการปรับปรุง
จากหลายๆ Chapter ที่มีการอธิบายในส่วนของเครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการปรับปรุงต่างๆ หลายๆตัวหนึ่งในนั้นได้มีการพูดถึงเครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Pareto graph วันนี้เราจะมาอธิบายรายละเอียดการทำงานของเจ้าตัว Pareto graph กันว่ามันมีกระบวนการขั้นตอนในการใช้งานอย่างไร เริ่มเลย
โดย Pareto Graph หรือ Pareto diagram เป็นเครื่องมือ 1 ใน 7 เครื่องมือของ QC 7 tools ⚒️ สามารถศึกษารายละเอียดข้อมูลเรื่อง QC 7 tools เบื้องต้นได้ตาม Link ด้านล่าง
[ Chapter 8 ] Part 2 บันได 7 ขั้นสู่ความสำเร็จของกิจกรรม AM : https://www.blockdit.com/articles/5eb8d1398cf6960ca191cfcc
Pareto diagram หรือผังพาเรโต เป็นเครื่องที่มีไว้ใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ Failure Rework Defect Claim และอื่นๆ อีกมากมายโดยจะต้องมีตัวเลขทางสถิติที่เป็นตัวเลขชัดเจน โดยแยกตามสาเหตุ หรือแยกตามสภาพการณ์
กระบวนการก็ที่จะทำ Pareto ได้คือ จะต้องเก็บข้อมูลที่เป็นเป้าหมาย ถ้าจะเอาแบบง่าย ๆ ไม่ซับซ้อนก็คือ
“ แกน Y ที่เป็น Primary เป็นตัวแทนของค่าข้อมูล (X) ส่วน แกน Y ที่เป็น Secondary เป็นตัวแทน % ของค่าผลรวมข้อมูล (X bar)” และก็บวกลบคูณหารคิดเปอร์เซ็นต์เอาไปทำกราฟ ได้เลย นี่ง่ายสุดละ ยิงใครทำใน Excel ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ แต่ไหนๆ ก็จะเรียนรู้มันแล้ว ก็ต้องรู้ตั้งแต่การคำนวณข้อมูลทางสถิติที่เก็บมา และเอามาทำกราฟ อันนี้สิถึงจะเรียกว่ารู้จริง เวลาเพื่อนถามจะได้เอาไว้คุยบั๊บมันได้ 🤣
ถ้าใครยังนึกไม่ออกลองย้อนกลับไปในวิชาคณิตศาสตร์ประมาณมัธยมต้นเรื่องการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ( Measures of central tendency) ก็จะมีเรื่อง
1 มัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean)
2 มัธยฐาน (Median)
3 ฐานนิยม
ผมคงไม่อธิบายละเอียดลงไปขนาดนั้น แต่จะอธิบายเชิงบรรยายว่าการทำ หรือการนำข้อมูลทางสถิติมาใช้งานที่ถูกต้องคืออะไรก็คงพอ
1. เมื่อเราได้ข้อมูลทางสถิติต่างๆ เช่น Defect จาก Check sheet เราจำเป็นต้องนำข้อมูลนั้นมาหาความถี่ของ Defect แต่และตัว และหาค่าข้อมูลทั้งหมดออกมาเป็นจำนวน N ให้ได้
ตัวอย่าง Check sheet บันทึกข้อมูล Defect
2. เมื่อเรารู้ว่า Defect แต่ละตัวมีความถี่เท่าใด ก็ให้ทำความถี่นั้นเป็นความถี่สะสม
ตัวอย่างตารางความถี่ และความถี่สะสมที่มีการนำข้อมูลมาจาก Check sheet
3. เมื่อเราได้ทั้งความถี่และความถี่สะสมแล้ว ให้นำความถี่และความถี่สะสมไปคิดเป็น% เมื่อเทียบความถี่แต่ละตัวกับค่า (N) เช่นตัวอย่างในตารางด้านล่าง
ตัวอย่างตารางความถี่ และ (%) สะสมสำหรับทำกราฟ พาเรโต
ต้องขอโทษทีนะครับตอนที่เขียนบทความ Notebook ไม่ได้อยู่กับตัว เขียนบทความทางมือถือตัวอย่างใน Internet ก็ไม่มีอันไหนสมบูรณ์ เลยต้องเขียนมือใส่กระดาษ เพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นภาพ
วิธีการคำนวณความถี่สะสมคือ นำความถี่ + ความถี่สะสมตามตัวอย่าง ไปเรื่อยๆ จนครบจำนวน
ตัวอย่างการนำเอาความถี่มาคำนวณหาความถี่สะสม
ในส่วนของ % ก็ทำเช่นเดียวกัน คือหา % ของความถี่แต่ละตัว พอได้จนครบก็นำมาหา % สะสม
4. หลังจากได้ตารางความถี่ที่สมบูรณ์พร้อม % สะสมแล้ว ให้นำข้อมูลแถว ความถี่ (f) และข้อมูลแถวเปอร์เซ็นต์สะสม (%) มาทำเป็นกราฟ พาเรโต 2 แกนคือ
แกน Y ด้านซ้ายจะเป็นแกนความถี่ (f) ให้ Set ค่าเป็น Primary ในกรณีทำใน Excel
ส่วนแกน Y ด้านขวา จะเป็นแกน (%) สะสม ให้ Set ค่าเป็น Secondary
เมื่อทำเสร็จก็จะได้กราฟดังต่อไปนี้
รูปที่ 6 ตัวอย่าง Pareto chart
รูปที่ 7 ตัวอย่างพาเรโต กราฟ
จะเห็นว่าเมื่อได้กราฟมาแล้วเราจะเห็นมุมมองในการเลือกหัวข้อไปแก้ไขได้ง่ายมากขึ้น จากรูปที่ 7 เราจะเห็นว่ามีแท่งกราฟ Defect แกน (x) ประมาณ 11 หัวข้อ เราจะแก้ไขทีเดียวทั้ง 11 หัวข้อคงไม่ได้
ดังนั้นพาเรโต จึงมีทฤษฐี 1 ทฤษฎี คือ 80:20 หมายถึง เราจะไม่เลือกแก้ไขปัญหาทั้งหมด เพราะอาจมีข้อจำกัด เรื่องคน ทรัพย์พยากร หรือเวลา ให้แก้ไขทั้งหมดอาจจะไม่คุ้มกับเงินทุน เวลา หรือสิ่งที่ลงทุนไป ดังนั้น เจ้า 80:20 จึงถูกกำหนดมาว่า ให้เราเลือกแก้ไขปัญหาใหญ่ ๆ หัวข้อที่มีความถี่สูงๆ ซัก 2-3 ข้อ หรือ ซัก 20% ของ ปัญหาที่มี แต่จากการแก้ไขนั้นสามารถลดต้นทุน หรือลดภาพรวมปัญหา ได้ถึง 80% ดังรูปด้านล่าง
จากรูปจะเห็นว่า เราเลือกแก้ไขปัญหาแค่ 4 ข้อ ก็สามารถที่จะลดปัญหาไปได้ถึงประมาณ 80% แต่ถ้าเราเลือกแก้ไขผิดโดยไปแก้ไขปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ด้านขวามือของกราฟ ต่อให้เราแก้ไขไปถึง 6-7 ข้อ ภาพรวมปัญหาก็หายไปแค่ 20 กว่า % เท่านั้นเอง แต่ถ้าไม่ติดเรื่องอะไร การแก้ไขปัญหาทุกข้อให้เป็น 0 ก็ถือว่าดีที่สุดครับ
ผมจะสรุปแล้วนะครับ จะเห็นว่ากราฟพาเรโตถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อช่วยให้เราตัดสินใจในการทำงาน ในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ถ้าเกิดไม่มี Pareto การแก้ไขปัญหา อาจไม่มีหลักหรือแบบแผนที่ดี อาจทำให้เราเสียเวลามากมายในการแก้ไขปัญหา แต่ผลลัพธ์ภาพรวมไม่ได้ลดลงเลย...
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้หลายๆ ท่านเข้าใจแนวทางการคิดวิเคราะห์ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมมากขึ้นไม่มากก็น้อย
ถ้าเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ช่วยกดติดตามและแชร์บทความนี้ออกไปให้ด้วยนะครับ...ขอบคุณครับและเจอกันใหม่ Chapter หน้า
#นักอุตสาหกรรม #TheSyndicate
บทความ TPM ที่เกี่ยวข้อง
1. [ Chapter 9 ]IE Method เพื่อการ Kaizen อย่างมีประสิทธิภาพ https://www.blockdit.com/articles/5ebac94e619e280c97b6bb22
2. [ Chapter 11 ] เปิดความลับ : การค้นหาความสูญเสียด้วย Loss-Cost Matrix (Part 1) : https://www.blockdit.com/articles/5ebe4120164846088f9a9c7a
3. [ Chapter 11 ] เปิดความลับ : การค้นหาความสูญเสียด้วย Loss-Cost Matrix (Part 2) : https://www.blockdit.com/articles/5ebfe2701fb4790cc80ee0e2
4. [ Chapter 4 ] Basic concept สำหรับเสา Focused Improvement (FI Pillar) https://www.blockdit.com/articles/5eb0ce51344f963b0d2a7af2
5. [ Chapter 11 ] เปิดความลับ : การค้นหาความสูญเสียด้วย Loss-Cost Matrix (Part 3) :https://www.blockdit.com/articles/5ec00a5e84824e0cce014518
6. [ Chapter 12 ] เปิดเทคนิคการกระจาย Loss ด้วย Loss Cost Tree Diagram : https://www.blockdit.com/articles/5ec0c035bf08100c94fe0d60
โฆษณา