Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรุงเทพธุรกิจ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
19 พ.ค. 2020 เวลา 10:40 • ธุรกิจ
‘ล้มละลาย’ กับ ‘ฟื้นฟูกิจการ’ ต่างกันอย่างไร
ทำความเข้าใจความแตกต่างของ “การฟื้นฟูกิจการ” กับ “การล้มละลาย” พร้อมไขข้อข้องใจกรณี “การบินไทย” ขอฟื้นฟูกิจการ
บทความโดย ทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจออนไลน์
‘ล้มละลาย’ กับ ‘ฟื้นฟูกิจการ’ ต่างกันอย่างไร
หลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 19 พ.ค. มีการพิจารณามติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่เห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เข้าสู่กระบวนฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย เป็นที่เรียบร้อย
"กรุงเทพธุรกิจ" พาไปทำความรู้จักความแตกต่างของ “การฟื้นฟูกิจการ” กับ “การล้มละลาย” ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง การยื่นขอฟื้นฟูกิจการของ “การบินไทย” ในครั้งนี้ หมายถึง “การล้มละลาย” หรือการล่มสลายของสายการบินแห่งชาติของไทยหรือไม่!?
ก่อนอื่น ต้องเข้าใจก่อนว่า "การฟื้นฟูกิจการ" ไม่ใช่ "การล้มละลาย" หรือการที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เพียงแต่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการ ถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย จึงอาจทำให้เข้าใจผิดไปได้ว่าการยื่นขอฟื้นฟูกิจการคือการยื่นขอล้มละลาย
การล้มละลาย คืออะไร ?
"การล้มละลาย" คือ การที่กิจการหรือลูกหนี้ มีหนี้สินล้นพ้นตัว (หนี้บุคคลธรรมดาไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท หนี้นิติบุคคลไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท)
เมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องคดี ศาลจะทำการพิจารณาสืบพยานหลักฐานว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงตามคำฟ้องหรือไม่ หากว่าจริง ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้
"คำสั่งพิทักษ์เด็ดขาด" คือ การที่ศาลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ควบคุมกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ กล่าวคือ ลูกหนี้ไม่สิทธิกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตนได้เลย ยกเว้นแต่ทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้แล้ว จะเข้าสู่คดีล้มละลาย ทั้งนี้ ศาลจะยังไม่มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายในทันที แต่จะส่งหมายแจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ เพื่อให้ดำเนินการจัดการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้และดำเนินการแบ่งทรัพย์สินที่รวบรวมได้เพื่อจัดสรรให้กับบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายของลูกหนี้
ส่วนกรณีที่ลูกหนี้มีหนี้สินมากจนไม่เพียงพอจะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องติดตามทรัพย์อื่นมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ส่วนที่เหลือต่อไป
ทำความรู้จัก "การฟื้นฟูกิจการ"
ตามกฎหมายการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้/ลูกหนี้ ปี 2541 ระบุว่าผู้ที่มีสิทธิ์ในขอฟื้นฟูกิจการได้นั้นจะต้องเข้าเงื่อนไข ดังนี้
- ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
- ลูกหนี้เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดบริษัทมหาชนหรือนิติบุคคลอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
- จำนวนหนี้ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
- ลูกหนี้มีช่องทางในการฟื้นฟูกิจการและมีเหตุอันสมควร (ต้องไม่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด)
- ยื่นคำขอโดยสุจริต
โดย หากผลของคำสั่งศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ลูกหนี้จะได้รับสภาวะพักการชำระหนี้ (automatic stay) ในกรณีศาลเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการผู้บริหารแผนจะดำเนินการตามแผนระยะเวลาตามแผน 5 ปีขอขยายได้ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี
bangkokbiznews.com
‘ล้มละลาย’ กับ ‘ฟื้นฟูกิจการ’ ต่างกันอย่างไร
ทำความเข้าใจความแตกต่างของ “การฟื้นฟูกิจการ” กับ “การล้มละลาย” พร้อมไขข้อข้องใจกรณี “การบินไทย” ขอฟื้นฟูกิจการ
109 บันทึก
161
13
146
109
161
13
146
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย