25 พ.ค. 2020 เวลา 01:00 • การศึกษา
"การคำนวณวันพักร้อนให้ถูกต้อง (ตามกฎหมายแรงงาน)"
...บทความนี้ ผมอยากให้ศึกษาวิธีการคำนวณวันพักร้อนตามกฎหมายแรงงาน เพื่อนำไปปรับกับองค์กรของท่านไม่ให้เสียสิทธินะครับ โดยอธิบายเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายครับ
บางองค์กรยังคำนวณพักร้อนไม่ถูกต้อง ผมกล้าพูดได้ว่า "จำนวนมาก" และจำนวนดังกล่าว ท่านผู้อ่านเชื่อไหมครับว่ายังมีนายจ้างที่ยังไม่รู้ และยังดันทุรังทำไม่ถูกต้องต่อไปอีกด้วย โดยอาศัยความเคยชิน
...ตามที่ได้กล่าวไว้ในบทความก่อนหน้าว่า "พักร้อนต้องลาให้ถูกต้องตามระเบียบ ไม่เช่นนั้นจะลาไม่ได้" หากคำนวณไม่ถูกจะทำให้การคืนเงินให้แก่ลูกจ้างนั้นไม่ตรง และอาจโดนฟ้องร้องกันภายหลังครับ
..."วันพักร้อน (วันหยุดพักผ่อนประจำ)" กฎหมายให้สิทธิลูกจ้างที่ทำงานให้นายจ้างติดต่อกันตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป มีสิทธิหยุดพักร้อนได้ ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน (โดยอ้างอิงกับปีปฏิทิน 1 ม.ค. - 31 ธ.ค. ของทุกปี) ถ้านายจ้างให้เยอะกว่านี้ ย่อมได้ครับ เช่น บางองค์กรให้ 10 วันต่อปี (พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 30)
โดยนายจ้างมีหน้าที่โดยตรงที่จะกำหนดให้หยุด หรือตกลงกันทั้งสองฝ่าย
"แต่จะกำหนดให้น้อยกว่า 6 วันต่อปี ไม่ได้"
"ต้องกำหนดจากวันทำงานปกติ จะนำไปผสม ปะปนกับวันหยุดประเภทอื่นไม่ได้"
...พักร้อน มักจะมีปัญหาในปีแรก ที่ลูกจ้างเข้าทำงาน เนื่องจากจะไม่ได้ทำงานครบ 1 ปีเต็ม ในปีปฏิทินนั้น เช่น ลูกจ้างเริ่มงาน 1 มิถุนายน 2561 ฯลฯ อายุงานปี 2561 จึง แค่ 7 เดือนเท่านั้น
1
...ตัวอย่างเช่น ลูกจ้างเริ่มงาน 1 มิ.ย.61 จะทำงานครบ 1 ปี ในวันที่ 31 พ.ค.62 เมื่อครบ 1 ปี ลูกจ้างจะได้สิทธิหยุดพักร้อน 6 วันทำงานเลย (ได้ไว้ก่อน)
...และตั้งแต่ 1 มิ.ย.62 จนถึง 31 ธ.ค.62 ลูกจ้างได้สิทธิหยุดพักร้อนเพิ่มอีก 6 วัน (ไม่ต้องหารสัดส่วน)
"รวมปี 2562 ลูกจ้างจะได้สิทธิหยุดพักร้อน 12 วัน"
...และตั้งแต่ 1 ม.ค.63 จนถึง 31 ธ.ค.63 จะได้สิทธิหยุดพักร้อนอีก 6 วันสืบเรื่อยๆในแต่ละปี
"นายจ้างไม่สามารถออกระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ ประกาศใดๆมายกเว้น เปลี่ยนแปลงวิธีการข้างต้นได้"
เนื่องจากกฎหมายกำหนดแค่ในปีแรกเท่านั้น ที่ต้องทำงานให้ครบปี แต่ปีที่2 ไม่ต้องทำงานให้ครบอีกปีก็ได้
...หากนายจ้างไม่จัดให้ลูกจ้างหยุดพักร้อนให้ครบ ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดอัตรา 1 เท่าของค่าจ้างปกติ เสมือนว่านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด (พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 64)
...ที่ผมได้พบมา ในปีแรก องค์กรทั่วไปจะให้หยุดพักร้อนเมื่ออายุงานครบ 1 ปี เพียง 6 วันเท่านั้น แล้วตัดสิทธิใช้สิ้นปี จากนั้นพอเริ่มปีใหม่ก็ให้อัตราใหม่ ซึ่งไม่สอดคล้องกับกฎหมาย และลูกจ้างจะเห็นได้ว่า สิทธิพักร้อนท่านหายไปถึงครึ่งหนึ่ง...
"ลองสำรวจองค์กรท่าน เมื่อใดที่ถูกเอาเปรียบเกินสมควร ให้นำมาฟ้องเรียกคืนให้หมดพร้อมดอกเบี้ยครับ"
"...ผู้เขียนเขียนบทความนี้ ให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันการโดนเอาเปรียบจากสังคมแห่งแรงงาน..."
"...หากอยากให้กำลังใจผู้เขียน ช่วยกดติดตาม กดไลค์ หรือแชร์แก่ผู้อื่นเป็นวิทยาทาน ฯลฯ เพื่อจะได้สร้างสรรค์งานเขียนเช่นนี้ต่อไปครับ..."
โฆษณา