25 พ.ค. 2020 เวลา 12:20 • ปรัชญา
Existentialism (อัตถิภาวะนิยม)
นักปรัชญาที่สำคัญในสายอัตถิภาวนิยม (existentialism)
มีหลักการสำคัญของปรัชญาสำนักนี้
ประการแรกคือ มุ่งให้ความสนใจเรื่องสภาพการมีอยู่ของมนุษย์ (Human Existence) มนุษย์แต่ละคนเป็นผู้เลือกและสร้างตัวเองให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ ไม่มีอะไรมามีอำนาจเหนือความเป็นตัวของตัวเองของแต่ละบุคคล
ประการที่สอง คือปฏิเสธความรู้ทางและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยมองว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ลดความสำคัญเรื่องการมีอยู่ของมนุษย์ ไปมุ่งสนใจแต่วัตถุ ธรรมชาติและสิ่งรอบตัว ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้สังคมมนุษย์สลับซับซ้อนมากขึ้น และความสลับซับซ้อนนี้มันดึงให้มนุษย์ออกจากตัวเอง สูญเสียความเป็นตัวเอง
ดังนั้น มนุษย์จึงควรกลับมาหาตัวเอง คือให้ตระหนักถึงเสรีภาพ อันเป็นธาตุแท้ของมนุษย์ แนวคิดของนักจริยศาสตร์กลุ่มนี้เป็นทัศนะแบบสมัยปัจจุบัน คือ มนุษย์มีเสรีภาพที่สมบูรณ์ มีอิสระ เป็นผู้เลือกทำด้วยตัวเอง มนุษย์เป็นผู้สร้างความดี และการสร้างนี้มิได้มีแผนอะไรที่ต้องคล้อยตาม มนุษย์เป็นอิสระ และควรทำในสิ่งที่อยากทำ ไม่มีเกณฑ์ตายตัวใดๆ ที่จะมาตัดสินว่า อย่างไรผิด ถูก ดีหรือไม่ดี
สาระสำคัญของแนวคิดนี้มีอยู่ว่า มนุษย์ คือ เสรีภาพ สภาพความเป็นมนุษย์และเสรีภาพเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ กฎเกณฑ์ หรือข้อห้ามต่างๆใน สังคมโดยตัวของมันเองไม่มีอำนาจอะไรที่มากีดกันเสรีภาพของมนุษย์
1
มนุษย์มีสิทธิที่จะเลือกรับหรือปฏิเสธก็ได้ มนุษย์เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของตนเองชีวิตของแต่ละคนจึงไม่มีพระเจ้าผู้กำหนด มนุษย์จึงต้องรับผิดชอบต่อตนเองและมีความรับผิดชอบต่อสังคม ความเชื่อพื้นฐานของลัทธิปรัชญาอัตถิภาวนิยมนี้ให้ความสำคัญกับเสรีภาพของมนุษย์โดยถือว่ามนุษย์เป็นผู้มีสิทธิ์ที่จะเลือกตัดสินใจ พร้อมกันนั้นก็ต้องรับผิดชอบในเสรีภาพที่เลือก จึงจะถือว่าเป็นบุคคลที่มีค่าเนื่องจากสิ่งที่ผ่านมาแล้ว คือ อดีตไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นสิ่งที่เลือกในปัจจุบันย่อมไม่มีค่าในอนาคต
1
นักปรัชญาที่สำคัญในสายอัตถิภาวนิยม (existentialism) เป็นที่รู้จักกันดีเช่น คีร์เคกอร์ด (Hickekard) ฌอง ปอล ซาร์ท (Jean Paul Sartre) อาลแบร์ กามูว์ (Albert Camus) ฟริดริค นิตเช่ นิตเช่ (Friedrich Nietzsche) และ ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกี (Dostoyevsky, Fedor) เป็นต้น
-วิรุฬหก-

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา