26 พ.ค. 2020 เวลา 03:00 • ปรัชญา
การเห็นแก่ผู้อื่นคือการเห็นแก่ตัว
ทัศนะของ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes)
มนุษย์เป็นสัตว์ฉลาด เขารู้ดีว่าที่เขาทำอะไรๆนั้นก็เพื่อตัวเองและก็รู้ว่าคนอื่นก็เป็นเหมือนเขา เขารู้ว่าทุกคนรวมทั้งตัวเขาเองแสวงหาทุกสิ่งสำหรับตัวเอง
1
เมื่อเป็นเช่นนี้ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นเพราะทุกๆคนจะทำตามที่ตนต้องการ และความระส่ำระสายก็จะเกิดขึ้น ความสับสนไม่เป็นระเบียบนี้อาจมีผลกระทบถึงประโยชน์สวัสดิภาพของตนก็ได้ ดังนั้น ทุกคนก็จะไม่เป็นสุขไม่แน่ใจว่าเมื่อใดความต้องการของผู้อื่นจะมากระทบหรือทำลายประโยชน์สุขของตน
ดังนั้น เพื่อความสุขของตนมนุษย์จึงมารวมกันแล้วตั้งกฎข้อบังคับเพื่อจำกัดสิทธิของแต่ละคน เช่น ห้ามมิให้ขโมยของผู้อื่น ห้ามทำร้ายผู้อื่น ห้ามมิให้กีดขวามงทางสัญจรสาธารณะ ฯลฯ เป็นต้น
กล่าวคือ เราต้องยอมเสียสละสิทธิบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่ตัวเราเอง เราต้องเห็นแก่ตัวน้อยลงเพื่อที่จะให้ประโยชน์ สุขของตัวเราเองเป็นไปได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และที่เราเสียสิทธิบางอย่างไปนี้มิใช่เพราะเห็นแก่ผู้อื่นแต่เพราะเห็นแก่ตัวเอง
เมื่อใดก็ตามที่คนมอบสิทธิอันหนึ่งอันใดอันหนึ่ง เขาย่อมหวังที่จะได้รับสิทธิเป็นการตอบแทนพอๆกัน หรือมิฉะนั้นก็หวังอะไรบางอย่างซึ่งดีสำหรับตน เพราะการกระทำอย่างนั้นเป็นการกระทำที่จงใจ และการกระทำที่จงใจของคนทุกคนย่อมมีวัตถุประสงค์ที่จะก่อให้เกิดผลดีแก่ตัวเอง
ดังนั้น กิจกรรมทุกอย่างที่มนุษย์ทำเป็นการดูแลผลประโยชน์ของตนให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้นั้น ทำไมเราจึงไม่ขโมย ก็เพราะกลัวถูกจับ ทำไมจึงต้องมีกฎหมายห้ามขโมย เพราะมิฉะนั้นทุกคนรวมทั้งตัวเองจะเดือดร้อน ทำไมจึงต้องพูดความจริงเพราะพูดเท็จบ่อยๆก็จะไม่มีใครเชื่อแล้วประโยชน์ตัวเองก็จะเสียไป
มีตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจทัศนะของ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) ได้ดี
โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes)
เช่นในสภาพจราจรที่สี่แยกเมื่อไฟจราจรเสีย คนขับแต่ละคนไม่ว่าจะมาจากทิศทางไหนต่างก็ไม่ยอมให้ใครไปก่อนทั้งนั้น ทุกคนต้องการไปให้เร็วที่สุด ผลที่เกิดขึ้นก็คือรถแต่ละคันขวางกัน ไม่มีใครได้ไปเลยจนกว่าจะมีตำรวจมาจัดการให้ทางนี้ไปก่อนแล้วสลับให้อีทางหนึ่งไป นี่แสดงว่าถ้าทุกคนเอาแต่ประโยชน์ของตน ทุกคนก็จะเสียประโยชน์
เครดิตภาพ: https://dparktraffic.com/traffic
ในสังคมมนุษย์ก็เช่นกันถ้าเราไม่ยอมเสียอะไรบ้างแล้วเราก็อาจจะเสียทุกสิ่ง แต่ถ้าเรายอมสละบ้างประโยชน์สุขของตัวก็จะได้รับการดูแลให้ปลอดภัย
1
สำหรับฮอบส์ทุกสิ่งที่มนุษย์ทำนั้นเป็นการลงทุน
ผลกำไรที่เขาหวังนั้นอาจเกิดขึ้นในระยะเวลาใกล้หรือในระยะยาว แต่ไม่มีใครทำอะไรโดยไม่คิดถึงตัวเอง การทำความดี เช่น พูดคำสุภาพ ไม่ทำร้ายชาวบ้าน ไม่รังแกผู้อื่น เหล่านี้มิใช่เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ดีน่าทำ
ไม่มีอะไรดีในตัวเอง สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคนแต่ละคนคือความสุขของเขาเองซึ่งก็ไม่เหมือนของผู้อื่น ที่คนทำความดีเพราะการทำเช่นนั้นมันทำให้เขาได้รับประโยชน์ของเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ดังนั้นสำหรับออบส์ ถ้าถามว่าทำไมเราจะต้องเห็นแก่ผู้อื่น คำตอบคือ การเห็นแก่ผู้อื่นคือการเห็นแก่ตนทางอ้อมนั่นเอง
1
เครดิตภาพ: https://www.ilikesticker.com
การที่เราทำบางอย่างเพื่อผู้อื่นนั้นอันที่จริงก็คือการทำให้แก่ตนเองทางอ้อม
คุณธรรมมิได้มีค่าในตัวมันเอง เป็นเพียงเครื่องมือให้เราแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองได้อย่างรอบคอบเท่านั้น ถ้าเราไม่ฉลาดก็คือเราไม่ยอมคำนึงถึงผู้อื่นเลย ตัวเราเองก็จะเสียผลประโยชน์
-วิรุฬหก-
โฆษณา