27 พ.ค. 2020 เวลา 02:35 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
แฟรงเกนสไตน์ นวนิยาย สู่การสร้างจริงโดยใช้สุนัข
แฟรงเกนสไตน์ เป็นนวนิยายยอดนิยมเรื่องหนึ่ง เขียนโดย แมรี เชลลีย์ จัดพิมพ์ครั้งแรก ณ กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1818
แฟรงเกนสไตน์ เป็นนวนิยายที่แต่งโดย แมรี เชลลีย์ โดยตีพิมพ์ครั้งแรกในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1818 ณ กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ โดยเรื่องย่อ ๆ ของแฟรงเกนสไตน์คือการที่นักวิทยาศาสตร์สติเฟื่องผู้หนึ่ง ผู้มีนามว่า วิคเตอร์ แฟรงเกนสไตน์ ที่ได้ศึกษาเรื่องกายวิภาคของมนุษย์ในประเทศเยอรมันนี
เขามีความสนในเรื่องการใช้ไฟฟ้ากับร่างกายของมนุษย์ และเริ่มการทดลองภายในปราสาทที่เขาอาศัยอยู่ โดยการนำชิ้นส่วนร่างจากศพหลาย ๆ ศพมาเย็บต่อเข้าด้วยกัน โดยเขาได้เลือกชิ้นส่วนร่างกายของมนุษย์ที่มีความกำยำแข็งเรง เพื่อนำมาสร้างอสูรกายในอุดมคติของตนเอง เมื่อได้ร่างกายที่ครบสมบูรณ์แล้ว เขาจึงทำการช็อตร่างนั้นด้วยไฟฟ้า ผลจากการกระทำของเขา ซากศพที่เขาสร้างขึ้นมานั้นกลับมาชีวิตขึ้นมาอีกขึ้นครั้ง เป็นอสูรกายร่างกายกำยำใหญ่โต แต่แล้ว วิคเตอร์กลับหวาดกลัวในสิ่งที่ต้นได้สร้างขึ้นมา จนเขาอยากจะหนีออกจากปราสาทที่เขาอาศัยอยู่
ไม่รู้เพราะความเหงาหรือว่าเพราะสิ่งใด เจ้าอสูรกายจึงขอร้องให้วิคเตอร์สร้างอสูรกายแบบมันขึ้นมาอีก 1 ตน แต่วิคเตอร์ไม่ยอมทำตาม มันจึงเริ่มฆ่าคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวิคเตอร์เพื่อให้วิคเตอร์รับรู้ความรู้สึกของความโดดเดี่ยวบ้าง แต่จนแล้วจนรอด วิดเตอร์ก็ไม่ยอมที่จะสร้างสิ่งมีชีวิตแบบเดียวกับมันขึ้นมาอีก จนถึงวันที่วิคเตอร์เสียชีวิตลง
1
นั้นคือเรื่องราวคราว ๆ ของนวนิยายสุดโด่งดังอย่างแฟงเกนสไตน์
จากนิยาย สู่การทดลองในโลกความจริง
ในช่วงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงที่โลกเต็มไปด้วยซากศพอยู่มากมาย กลุ่มนักวิยาศาสตร์หลาย ๆ กลุ่ม ได้นำแนวคิดของวิคเตอร์มาทดลองทำกันจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักวิทยาศาสาต์ของกองทัพนาซี และ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ของกองทัพโซเวียต หนึ่งในผู้ที่โดดเด่นที่สุดในการทดลองสร้างสิ่งมีชีวิตแบบแฟรงเกนสไตน์ในยุคนั้น คงหนีไม่พ้น Vladimir Demikhov นักวิทยาศาสตร์สัญชาติรัสเชีย หนึ่งในอดีตทีมแพทย์ทหารของกองทัพโซเวียต ผู้เชียวชาญพิเศษเรื่องการผ่าตัดสมอง และการปลูกถ่ายอวัยวะ
ในปี 1950 เขาได้แสดงผลงานวิจัยของเขาอันน่าตะลึง และชวนขนหัวลุกสู่สาธารณะชน มันคือการสร้างสุนัขสองหัว โดยหัวของสุนัขตัวเล็กจะถูกเย็บต่อเข้ากับส่วนคอของสุนัขเชพเพิร์ดขนาดใหญ่ ถือว่าเป็นการทดลองอันแสนจะโหดร้าย พวกมันจะมีช่วงลำคอที่แยกจากกัน แต่อวัยวะภาพในนอกเหนือจากนั้น จะใช้ร่วมกันหมด ถึงอย่างไรก็ตามสุนัขสองหัวนี้ก็ได้ตายลง เพราะร่างกายรับไม่ไหวจากปัญหาเนื้อเยื่อเข้ากันไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลงานของเขาจะดูโหดร้ายสักเพียงใด แต่ว่าผลงานของเขาได้กลายเป็นแรงบันดาลใจ และเป็นฐานความรู้ในการปลูกถ่ายอวัยวะในเวลาต่อมา
อ่านมาถึงตรงนี้ คุณก็จะมองเห็นปุ่มไลด์ อยู่ใกล้ๆ กับมุมซ้ายของจอด้านล่างแล้วนะครับ หากถูกใจ อย่าลืมกดไลค์ กดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้เราทำบทความดี ๆ กันต่อไปด้วยนะครับ
โฆษณา