Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คิด อย่าง สถาปนิก
•
ติดตาม
27 พ.ค. 2020 เวลา 02:47 • ศิลปะ & ออกแบบ
ไม่อยากให้งบบานปลายในการสร้างบ้าน ทำยังไง ?
เคยได้ยินคำนี้ไหมครับ BOQ.(บีโอคิว)
ย่อมาจากคำว่า Bill of Quantities ซึ่งถ้าเป็นภาษาทางการก็คือ 'บัญชีแสดงปริมาณวัสดุและปริมาณแรงงาน'
เมื่อรวมกันแล้วก็คือ ราคาค่าก่อสร้างอาคารหลังนั้นๆ
Cr. Hausmuch
BOQ.จะเกิดขึ้นได้ 2 วิธี คือ
1.ว่าจ้างให้ผู้ออกแบบหรือผู้ประเมินราคา (Estimater) ทำให้ ซึ่งจะเรียกว่า 'ราคากลาง'
2.ให้ผู้รับเหมาที่จะก่อสร้างงานให้เรา จัดทำเสนอมา
Cr.Find local businesses
ลักษณะของ BOQ. ที่พูดถึง ไม่ใช่ตัวเลขค่าก่อสร้างกลมๆรวมๆมานะครับ
แต่จะต้องแจงเป็นหัวข้อละเอียดเลยว่า ใช้เหล็กเส้นไปเท่าไร ค่าเหล็กเท่าไร ใช้ปูนไปกี่คิว คิวละเท่าไร ค่าบานประตูไม้บานละเท่าไร บานเหล็กเท่าไร ท่อน้ำใช้กี่เมตร รวมค่าท่อค่าแรงแล้วเป็นเท่าไร ฯลฯ
1
คือเรียกว่า แกะออกมาเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมด ตั้งแต่ตะปูยันโถส้วม
ตารางราคาที่ได้มาตัวนี้จะเอามาใช้เป็นตัวอ้างอิงในการควบคุมราคาค่าก่อสร้างกับผู้รับเหมา เมื่อจะมีงานเพิ่มงานลด ก็จะมาอ้างอิงจากราคาใน BOQ.นี้เป็นหลัก
แต่ถ้าตอนเริ่มต้น มีผู้อยากจะรับเหมาหลายๆเจ้า วิธีที่ดีทีสุดก็คือ ให้มาแข่งราคากัน ซึ่งถ้าจะทำให้การใช้ BOQ. มีประสิทธิภาพที่สุด ควรทำแบบนี้ครับ
- เริ่มจาก ว่าจ้างให้ทำราคากลางก่อน เพื่อให้เรารู้ว่า ราคาค่าก่อสร้างควรจะเป็นเท่าไร (ถ้าให้สะดวกในการใช้งาน ควรจัดทำบนไฟล์ Excel )
- เราเก็บต้นฉบับไฟล์ที่เป็นราคากลางไว้ แล้วก๊อปปี้ไฟล์ต้นฉบับนั้นแต่ลบตัวเลขราคาค่าแรงค่าของทั้งหมดที่คิดมา มันก็จะเป็นตารางที่มีหัวข้องาน แต่ไม่มีตัวเลขค่าแรงค่าของ
ซึ่งตารางเปล่าตัวนี้เราจะเอาไปให้ผู้เสนอราคากรอกตัวเลขราคาส่งกลับมาให้เรา
ภาษาก่อสร้างเรียกตารางเปล่านี้ว่า
"แบลงค์ฟอร์ม" (Blank form)
งานในหัวข้อเดียวกัน เทียบให้ดูระหว่าง BOQ. กับ Blank form Cr. Khanaad design studio
- ต้องกำชับผู้เสนอราคาว่า ให้กรอกตัวเลขลงแบลงค์ฟอร์มที่เราให้ไปเท่านั้น เมื่อผู้เสนอราคาส่งตัวเลขกลับมา เราจะสามารถเทียบราคาค่าแรงค่าของแต่ละหัวข้อกับราคากลางที่เรามี รวมไปถึงเทียบกับผู้เสนอราคาเจ้าอื่นๆในแต่ละหัวข้อได้ด้วย
- และเมื่อเลือกผู้รับเหมาได้แล้ว เราจะเอาตารางราคาที่ผู้รับเหมาทำเสนอมาชุดนี้ประกอบในสัญญาก่อสร้างด้วย เมื่อทำการก่อสร้างจริง มีรายการเพิ่มลดก็ใช้ราคาในตารางนี้เป็นตัวอ้างอิง เช่น กระเบื้องพื้นที่ผู้รับเหมาเสนอมา ตารางเมตรละ 300 บาท มีทั้งหมด 100 ตารางเมตร เป็นเงิน 30,000 บาท
ถ้าเราสามารถหาซื้อได้ถูกกว่า เราขอซื้อเอง เหลือตารางเมตรละ 200 ดังนั้นงานกระเบื้องหัวข้อนี้ก็จะเป็นงานลด ผู้รับเหมาต้องคืนเงินให้เรา 10,000 บาทเป็นต้น
เราสามารถเทียบราคาในลักษณะแบบนี้ได้ทุกหัวข้อ ซึ่งจะช่วยให้เราควบคุมค่าก่อสร้างได้รัดกุมขึ้น
ผู้รับเหมาบางรายก็ไม่ชอบการกรอกตัวเลขลงแบลงค์ฟอร์มแบบนี้ โดยเฉพาะรายเล็กๆ เพราะการทำราคาต้องดูแบบอย่างละเอียดและถอดราคาค่าแรงค่าวัสดุออกมา ซึ่งบางครั้งเมื่อเสนอราคาไปก็อาจจะไม่ได้งานอีก
แบบนี้ไม่ใช่ BOQ.นะครับ เพราะไม่มีปริมาณงานชัดเจน มีแต่ราคาแยกมาให้ดู Cr. pantip
ดังนั้นจึงเห็นว่าผู้รับเหมาหลายรายเมื่อเจ้าของให้เสนอราคาผ่านแบลงค์ฟอร์ม ก็มักจะไม่เสนอราคาหรือเสนอมาแบบไม่สนแบลงค์ฟอร์ม
ซึ่งเรื่องนี้ก็อยู่ที่ผู้ว่าจ้างอย่างเราว่า ใจอ่อนหรือไม่ เชื่อใจผู้รับเหมารายนั้นได้เพียงใด
แต่ถ้าถามผม แนะนำให้มี BOQ. ไว้เถอะครับ มันช่วยแก้ปัญหาที่ขัดแย้งกันได้เยอะมาก ตั้งแต่การคำนวนต้นทุน การเพิ่มลดหรือเปลี่ยนชนิดวัสดุ รวมไปถึง BOQ.ตัวนี้ จะเป็นหลักฐานอย่างดีในการฟ้องร้องถ้ามีปัญหาหน้างาน
เมื่อทำงานโดยมีแบบไว้อ้างอิง
มีเอกสารที่จับต้องได้ โปร่งใส
ทุกฝ่ายก็สบายใจ ..😋😋
Cr. Construction best practices
***********************************
สำหรับเพื่อนๆ Blockdit ที่สนใจแนวอื่น ผมมีเขียนลงอีก 2 เพจคือ
๏ 'Bear's Books' = ข้อคิดดีๆที่ได้จากการอ่าน
๏ 'Bear's Blog' = ภาพถ่ายกับมุมมองของชีวิต ในรูปของ บทกลอน เรื่องสั้น หรือ ไฮกุ
ขอเชิญชวนให้เข้าไปแวะชมนะครับ
เผื่อจะมีบางข้อเขียนที่อาจถูกใจ
ฝากติดตาม หรือ แลกเปลี่ยนความคิดกันได้ครับ
หรือใครสนใจเฉพาะภาพถ่าย
ลองเข้าไปดูและกดติดตามได้ใน
ig : khanaad_photo นะครับ
แล้วพบกันนะครับ
18 บันทึก
22
18
18
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ผู้รับเหมาดีๆ ดูยังไงน้า
18
22
18
18
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย