29 พ.ค. 2020 เวลา 00:02 • ไลฟ์สไตล์
ซีรีส์ 18+
ตอน เปิดโปง ... น้องสาว 🔞
ภาพโดย คนไทยตัวเล็กเล็ก
ในบทความที่แล้ว ฉันได้คุยกะคุณเรื่องของน้องสาวคนแรก วันนี้เรามาว่ากันด้วยเรื่องน้องสาวอีกคนของเราค่ะ
📢 ฉันขอออกตัวอย่างเคยว่าบทความนี้ ไม่ใช่บทความทางการแพทย์ เป็นเพียงแค่บทความที่นำเนื้อหาจากบทความทางการแพทย์ มาเรียบเรียงตามความเข้าใจ เพื่อเป็นแนวทางให้ตระหนักเรื่องสุขภาพค่ะ
1
หากมะเร็งเต้านมเป็นศัตรูที่คร่าชีวิตคุณผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเป็นอันดับแรก มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) ก็จะเป็นคู่แข่งที่วิ่งไล่บี้กันมา แต่ยังไม่แซงเท่านั้นค่ะ
มะเร็งปากมดลูกน่ากลัวขนาดไหนกันหรือ
ติดตามบทความต่อไปนี้นะคะ แล้วคุณจะเข้าใจ
(ทำไมต้องยืมคำพูดน้องแบมบ่อย ๆ)
ขอบคุณภาพจากเวปไซด์ honestdocs.com
ดูจากรูปด้านบน ☝️
ปากมดลูกก็คือบริเวณที่เชื่อมต่อระหว่างช่องคลอดกับมดลูกนั่นเอง สังเกตุที่มีการวงเอาไว้ค่ะ
รู้จุดเกิดเหตุแล้ว มาดูสาเหตุการเกิดมะเร็งปากมดลูกกันต่อ
⏹ สาเหตุของการเป็นมะเร็งปากมดลูก
สาเหตุหลักในทางการแพทย์ มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ HPV (Human Papilloma Virus) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่พบบ่อยและติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งกับผู้ชายหรือผู้หญิงนะคะ
1
ตัวเชื้อไวรัส HPV นี้มีเป็นร้อยสายพันธุ์ แต่เฉพาะบางสายพันธุ์เช่น HPV 16 หรือ HPV 18 ที่จะเป็นต้นเหตุให้เกิดความผิดปกติของเซลส์บริเวณปากมดลูกจนกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก ถึงกว่า 70% เลยค่ะ
✅ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
สิ่งที่เหมือนกันกับมะเร็งเต้านม คือ เมื่อเริ่มเป็นระยะแรกจะไม่มีอาการ ฉะนั้นการหมั่นสังเกตุความผิดปกติของร่างกายเราจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อนำไปสู่การตรวจคัดกรองต่อไปนะคะ
จุดสังเกตุหรือสัญญานอะไรบ้างที่จะเป็นสิ่งบอกเหตุ
อาการที่น่าสงสัยเช่นมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ไม่ว่าจะเป็นหลังการมีเพศสัมพันธ์ หรือหลังหมดประจำเดือน การมีตกขาวมากผิดปกติ
ถ้ามีอาการดังกล่าวอย่าไว้ใจนะคะ ให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจคัดกรอง
1
แต่อย่าเพิ่งวิตกไปนะคะ ไม่ได้หมายความว่าอาการเหล่านี้เป็นตัวชี้ของมะเร็งปากมดลูกทุกกรณีไปค่ะ
การตรวจคัดกรองนี้ แพทย์จะทำการตรวจภายในที่เราเรียก pap smear โดยจะสะกิดเซลส์ตัวอย่างของเยื่อบุปากมดลูกออกมาจากช่องคลอด เพื่อตรวจผ่านกล้องหาความผิดปกติต่อไปค่ะ
ขอบคุณภาพจากเวปไซด์ medthai.com
🙈 🙈 🙈
ฉันเข้าใจความรู้สึกของคุณผู้หญิงที่จะต้องไปตรวจภายใน โดยเฉพาะการตรวจครั้งแรก ❗
(ก็ฉันเป็นผู้หญิงนะ ☺☺)
📌📌 ฉันขอแนะนำให้คุณอ่านกระตุ้นความกลัวให้มากค่ะ ความกลัวมันจะไปเอาชนะความอาย แล้วคุณจะยอมตกลงปลงใจไปตรวจภายใน ในที่สุดค่ะ 😬😬😬
1
เมี่อทราบสาเหตุหลักของมะเร็งปากมดลูกแล้ว มาดูกันต่อค่ะ
🚫 ปัจจัยเสี่ยง
☑ การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยคืออายุต่ำกว่า 17-18 ปี จะมีอัตราการกลายเซลส์ของเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกได้มากขึ้นและมีความไวต่อสารก่อมะเร็งและเชื้อไวรัส HPV
☑ การมีเพศสัมพันธ์กับหลายบุคคล หรือการชอบเปลี่ยนคู่นอน
☑ การคลอดบุตรมากกว่า 3 คนขึ้นไป จากสถิติพบว่ามีความเสี่ยงการเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้นถึง 2-3 เท่า
☑ การใช้ยาบางประเภทที่มีผลกับฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด ยาป้องกันการแท้งบุตร
☑ การมีน้ำหนักตัวเกินมาตราฐานอย่างมีนัยยะสำคัญ
☑ การมีปัญหาสุขภาพด้านภูมิคุ้มกัน ร่างกายไม่แข็งแรง
☑ การมีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์มาก่อน หรือเป็นแบบเรื้อรัง เช่นโรคหนองใน ซิฟิลิส เริม
☑ การพบความเสี่ยงทางกรรมพันธุ์ คือมีบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็ง
🔷️ การป้องกัน
ขึ้นชื่อว่ามะเร็ง ได้ยินก็หนาวแล้วนะคะ
แค่มาเล็งไม่ต้องมายิง ก็ปอดกระเส่าล๊าวว ...
เดี๋ยว ๆ ค่ะ สับสนระหว่าง “เร็ง” กับ “เล็ง” อย่าเครียดนะคะ 😁
🔹️ ปัจจุบันมีตัวช่วยแล้วนะคะ เพราะได้มีการพัฒนาวัคซีน เพื่อฉีดป้องกันมะเร็งปากมดลูก ชื่อตรงตัวเลยคือ HPV Vaccine จะเริ่มฉีดได้ตั้งแต่เด็กหญิงอายุ 12 หรือ 13 ปีขั้นไปเลยค่ะ อายุมากกว่านั้นก็ฉีดได้นะคะแต่ประสิทธิภาพอาจด้อยลงไป
🔹️ นอกจากการฉีดวัคซีนแล้วการป้องกันก็คือการตรวจคัดกรองนั่นเองค่ะ เพราะหากพบมะเร็งในระยะเริ่มต้น เราสามารถรักษาให้หายขาดได้ค่ะ
คุณผู้หญิงทั้งหลายควรเริ่มตรวจภายในเพื่อคัดกรองตั้งแต่อายุประมาณ 25 ปีนะคะ เป็นผู้หญิงแท้จริงแสนลำบากค่ะ เพราะต้องตรวจกันเรื่อยไปจนเลยวันเกษียณกันเลยทีเดียวค่ะ เพียงแต่ไม่ต้องตรวจทุกปี คุณหมอจะให้คำแนะนำในกรณีของแต่ละท่านได้ค่ะ
🔹️ อีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยป้องกันได้ด้วยก็คือ การใส่ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์นะคะ
📍📍โปรดระวังถุงรั่วและถุงร่นด้วยค่ะ
(โอ๊ย .. แม่หาว่าฉันทะลึ่งอีกแล้ว 🤣🤣)
🔶️ การรักษา
การรักษาหลัก ๆ ก็ขึ้นอยู่กับระยะที่ตรวจพบ ว่าเหมาะกับการรักษาด้วยวิธีใด
🔸️ การทำลายเนื้อเยื่อมะเร็งบริเวณปากมดลูก โดยใช้ความเย็นจี้ทำลาย (Cryosurgery) ใช้เลเซอร์ การใช้ห่วงไฟฟ้าตัดปากมดลูก (LEEP) หรือการผ่าตัดปากมดลูก (Conization)
🔸️ การผ่าตัด อาจทำการผ่าตัดมดลูกออกบางส่วนหรือทั้งหมด ที่เรียกเรียกว่า Hysterectomy
🔸️ การใช้รังสี (Radiotherapy)
🔸️ การใช้เคมีบำบัด (Chemotherapy)
การแพร่กระจายของมะเร็งปากมดลูก
ภาพแสดงมะเร็งปากมดลูกระยะต่าง ๆ จากเวปไซด์ medthai
เมื่อมีการแพร่กระจายนั่นหมายถึงมะเร็งเข้าสู่ระยะลุกลาม เนื้อร้ายนั้นกระจายออกจากบริเวณปากมดลูกสู่ช่องคลอดและอวัยวะใกล้เคียงในอุ้งเชิงกราน ไปสู่กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ ตับ กระดูกและเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง
ซึ่งเมื่อถึงระยะการแพร่กระจายดังกล่าวผู้ป่วยส่วนมากจะเริ่มมีอาการ
ท้องผูก
ปัสสาวะมีเลือดปน กลั้นปัสสาวะไม่ได้
ขาบวม ไตมีอาการบวมน้ำจากปัสสาวะคั่งค้าง
เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย
ขณะที่ฉันเรียบเรียงบทความนี้ ฉันรู้สึกถึงความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย มากกว่าตอนที่ฉันแค่คิดจะเขียนบทความนี้ค่ะ
🖤 🖤 🖤
รายละเอียดของมะเร็งปากมดลูกมีอีกมาก ที่ฉันอยากให้คุณอ่านผ่าน ๆ ตาไว้ เมื่อมีเวลานะคะ หากเกิดความผิดปกติใด ปุ่ม alert ในสมองคุณจะทำงานได้เองทันทีค่ะ
ฉันแปะลิงค์ที่มาของข้อมูลให้ด้านล่าง เป็นแหล่งข้อมูลที่อ่านเข้าใจได้ง่าย ๆ และมีประโยชน์ค่ะ
ฉันอยากรู้จังค่ะ ว่าจะมีคุณผู้ชายซักกี่คน เข้ามาอ่านบทความนี้ บทความที่ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับ “ของ” ของผู้หญิง 🍊
ถ้าคุณผู้ชายเป็นเหมือนฉัน เค้าจะรีบเปิดเข้ามาอ่าน เหมือนเวลาที่ฉันเห็นบทความ “อันนั้น” ฉันต้องแถเข้าไปดูก่อนเลย ฉันอยากรู้ค่ะ .... ก็ฉันไม่มี “อันนั้น” .. นี่นา 🍌🌽
รอยยิ้ม บรรเทาทุกสิ่ง บรรเทาความทุกข์ ความเศร้า ความโกรธ ...........
🙂🙂🙂🙂🙃
ขอให้คุณทุกคน “ยังยิ้มได้” แบบพลพลค่ะ
💕💕💕💕💕
สวัสดีนะคะ
คนไทยตัวเล็กเล็ก
29/05/2020

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา