30 พ.ค. 2020 เวลา 05:49 • ธุรกิจ
กลุ่มอสังหาริมทรัพย์
จะฟื้นตัวหรือไม่ ในครึ่งปีหลัง 2563
เมื่อพูดถึงหุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์แล้วก็คงจะมีเพื่อนๆสมาชิกหลายท่านส่ายหน้าให้กับหุ้นกลุ่มนี้กันหลายคน เพราะใครๆก็เหนื่อยกับแนวโน้มของธุรกิจอสังหาฯกับสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้
ก็เพราะว่านิสัยของหุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยปกติแล้วจะชอบ “ซึม” ก่อนเศรษฐกิจและฟื้นตัวได้ “ช้า” กว่าเศรษฐกิจ ซึ่งเราก็จะเห็นได้ตั้งแต่ในปีพ.ศ. 2561 ที่ราคาหุ้นและภาพรวมๆของบริษัทอสังหาฯต่างๆนั้นเริ่มที่จะดูไม่สดใส
แน่นอนว่าปัญหาสงครามการค้าระหว่างจีน - สหรัฐอเมริกาได้ส่งผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจไปเกือบจะทุกที่ทั่วโลกและประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น อีกทั้งปัจจัยกดดันในประเทศที่สำคัญๆอย่าง มาตรการควบคุมสินเชื่อ (LTV), ความเข้มงวดในเรื่องสินเชื่อของแบงก์ รวมไปถึงหนี้ครัวเรือนของชาวไทยที่สูงมากๆในยุคนี้
เห็นกันแล้วรึยังครับว่า กลุ่มอสังหาฯโดนกันไปหนักมากเลยทีเดียว และเมื่อ Covid-19 แพร่ระบาดเข้ามาอีกนั้นส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทจัดทะเบียนของกลุ่มนี้พากันลดลงไปยกแผง
อีกทั้ง Supply (อุปทาน) ของที่อยู่อาศัยในปีนี้ก็ยังถือว่าเยอะที่สุดเป็นประวัติการณ์ เยอะกว่าช่วงเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งเสียอีก ทำให้นักลงทุนหลายๆท่านเริ่มเกิดคำถามว่าเรื่องราวในอดีตมันจะเกิดซ้ำรอยได้ไหม ? สอดคล้องกับดัชนีคยามเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ต่ำสุดในรอบ 17 ปีจากผลกระทบของ Covid-19
พอวิกฤติมาถึงและมีข่าวร้ายๆถาโถมเข้ามามากมายซะขนาดนี้ เป็นธรรมดาที่เป้ากำไรในปีนี้ของทั้งกลุ่มจะโดนปรับลดการประมาณการณ์กันจากที่ราวๆ 9,000 ล้านบาทลงไปเหลือ 5,000 ล้านบาท ซึ่งก็ไม่แปลกเพราะว่าถ้าเราไปดูยอดPresales ก็จะพบว่าหดตัวลงมาถึง 23% และการเปิดตัวโครงการใหม่ (New lunch) ที่ลดลงไปกว่า 14% หากเทียบกับปีก่อน
และด้วยเรื่องราวลบๆที่ยาวเหยียดเช่นนี้ก็ส่งผลให้ “ราคาหุ้น” ของกลุ่มอสังหาฯเริ่มปรับตัวกันลงมาตั้งแต่ในช่วงครึ่งหลังของปีก่อน (พ.ศ. 2562) ส่งผลให้ราคาของกลุ่มอสังหาลงไปซื้อ-ขายกันต่ำบุ๊ค หรือมีระดับ P/BV ที่ต่ำกว่า 1 เท่า(ราวๆ 0.90 - 0.95) กันในปัจจุบัน ซึ่งถ้ามองในแง่ของราคาแล้วจะเรียกว่าถูกได้เลยแหละครับ แต่หุ้นอสังหาจะไหวหรือเปล่ากับสถานะการณ์แบบนี้ ?
นั่นคงจะเป็นคำถามที่อยู่ในใจของใครหลายๆคนอย่างแน่นอน เพราะใครๆก็ชอบของถูก แต่ถ้าหากถูกแล้วไม่รุ่งก็คงจะไม่มีใครอยากได้...
แต่ภาพรวมที่ดู “ย่ำแย่” อย่างที่เราเห็นกันอยู่ พอเราได้ลองไปเจาะไส้ในของธุรกิจกลุ่มอสังหาในไตรมาส 1 ปี 2563 นี้ก็จะถือว่า วิกฤติรอบนี้มีจุดสังเกตุที่น่าสนใจอยู่หลายจุดเลยทีเดียวกับหุ้นกลุ่มนี้
อย่างแรกเลยคือจำนวน Supply ของที่อยู่อาศัยในตอนนี้นั้น ถ้าดูสัดส่วนแล้วเราจะพบว่าตัวขับเคลื่อนหลักๆเลยคือจำนวนของ “คอนโด” ที่เริ่มเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2556 เป็นต้นมา เช่นเดียวกันกับจำนวนของ “ทาวน์เฮ้าส์” ที่เร่งตัวขึ้นมาเช่นกันแต่ยังไม่มากเท่าคอนโด
แต่ในส่วนของจำนวนที่พักอาศัยในแนวราบหรือที่อยู่อาศัยจำพวก “บ้านเดี่ยว” นั้นก็ยังคงรักษาระดับได้เท่าๆเดิมมาตลอด อีกทั้งเราเชื่อว่าในวิกฤติ Covid-19 ครั้งนี้ไม่ใช่ทุกคนที่จะ “ลำบาก” ซึ่งก็น่าจะพอมี Real demand จากผู้ที่อยากซื้อบ้านและคอนโดกันอยู่ในระดับที่โอเค แต่คงจะต้องรอให้สถานะการณ์ทุกๆอย่างมันเริ่มทรงตัวได้กันไปก่อน
นอกจากนี้มาตรการ LTV ที่ถูกปล่อยออกมาในปีที่แล้วเพื่อช่วยลดการ “เก็งกำไร” โดยมีรายละเอียดอยู่ว่าถ้าหากต้องการที่จะกู้เงินเพื่อมาซื้อที่พักอาศัยแห่งที่ 2 หรือที่พักอาศัยที่มีราคาสูงกว่า 10 ล้านบาทขึ้นไปแล้วนั้น ผู้ขอสินเชื่อจะต้องทำการ “วางเงินดาวน์” อย่างน้อย 20% ตรงนี้ทำให้แรงเก็งกำไรในตลาดลดลงไปเยอะอยู่เหมือนกัน
แต่สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือถ้าหากวางเรามองในมุมผู้กู้แล้ว คงไม่มีใครอยากที่จะทิ้งเงินดาวน์กว่า 20% ไปฟรีๆ และถึงจะทิ้งไปจริงทางบริษัทก็ยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนที่ลดลงไป 20% ซึ่งทางบริษัทก็จะสามารถนำไปลดราคาเพื่อจัดโปรโมชั่นได้เลยทันทีในขณะที่กำไรยังเท่าเดิม
พูดถึงภาพรวมและข่าวดีข่าวร้ายของหุ้นในกลุ่มนี้กันไปแล้ว ทีนี้เรามาดูหุ้นตัวเด่นๆที่น่าจับตามองกันในกลุ่มบ้างดีกว่า
SPALI
หุ้นของบมจ. ศุภาลัย ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งบ้านและที่ดินจัดสรรรวมไปถึงคอนโดทั้งในกทม. และต่างจังหวัดนอกจากนี้ยังมีธุรกิจรีสอร์ทและโรงแรมในต่างจัดหวัดอีกด้วย
จุดเด่นของ SPALI คืองบการเงินที่แข็งแกร่งสุดในกลุ่มอสังหาฯด้วยหนี้สินที่ต่ำสุดจากบรรดาคู่แข่ง
LH
บมจ. แลนด์แอนด์เฮ้าส์ เป็นบริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยพร้อมที่ดินทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม รวมไปถึงคอนโดมิเนียม โครงการส่วนใหญ่ของ LH จะอยู่ที่กทม. และตามจังหวัดใหญ่ๆเช่น เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่นและภูเก็ต
จุดแข็งของ LH คือสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายรวมไปถึงการลงทุนในธุรกิจอื่นๆอย่าง LHBANK และ HMPRO จึงทำให้บริษัทมีการกระจายความเสี่ยงที่ดี นอกจากนี้ตัวแบรนด์ “แลนด์แอนด์เฮ้าส์” ก็ยังถือว่ามีความแข็งแกร่ง
2
AP
ตัวที่สามคือบมจ. เอพี (ไทยแลนด์) ผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีทั้งบ้านเดี่ยว, ทาวน์โฮม, คอนโด และโฮมออฟฟิศ ซึ่งโครงการเด่นๆของทางบริษัทก็จะมีเช่น “The Address” คอนโดย่านสยาม-ราชเทวี
ความโดดเด่นของ AP ก็คือการเติบโตของโครงการแนวราบอย่างบ้านเดี่ยวที่น่าสนใจ นอกจากนี้คอนโดของทางบริษัทก็ยังถือว่าได้รับโอนตามแผนที่วางไว้ค่อนข้างสม่ำเสมอจากการบริหารจัดการที่ดี
เรียกได้ว่าก็ยังพอมีหุ้นพื้นฐานดีๆให้ได้รอจังหวะสะสมกันได้บ้างสำหรับหุ้นในกลุ่ม “อสังหาริมทรัพย์” ที่ในตอนนี้เจอกับข่าวร้ายรอบด้านแต่ราคาก็ถือว่าต่ำมากเช่นกัน สำหรับใครก็กะจะเอาชัวร์ๆก็คงจะต้องไปรอดูกันต่อในไตรมาส 2 (Q2’63) ที่น่าจะเป็น “จุดต่ำสุด” และเจ็บสุดของหุ้นหลายๆกลุ่ม รวมไปถึงกลุ่มที่ไหลตามไปกับวงจรเศรษฐกิจอย่างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
แถมอีกอย่างก็คือความสามารถของบริษัทอสังหาริมทรัพย์สมัยนี้กับสมัยที่เกิดวิกฤติ “ต้มยำกุ้ง” นั้นก็ต่างกันมากเพราะเดี๋ยวนี้ทางบริษัทต่างๆก็ได้ใช้ Reseach หรือการเก็บสถิติเพื่อวิเคราะห์สถานะการณ์และขีดจำกัดของตัวเองอยู่เสมอ ต่างกับในยุคต้มยำกุ้งที่ตัวช่วยยังน้อยและสถานะทางการเงินที่อ่อนแอกว่ามาก
หุ้นอสังหาริมทรัพย์จะสามารถรักษาสภาพคล่องในสภาวะวิกฤติ Covid-19 เพื่อเอาตัวรอดไปได้จนสถานะการณ์คลี่คลายได้หรือไม่ ???
การฟื้นตัวในครึ่งปีหลังจะเป็นไปได้ตามแผน หรือโควิดจะหวนกลับมาซ้ำกันให้ช้ำใจ ?? คำตอบนี้ก็คงจะไม่มีใครเดาได้ถูก 100%
และเรื่องนี้ก็คงจะต้องมาติดตามกันต่อไป
กับหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ในครึ่งปีหลัง 2563
สวัสดีครับ...
ติดตามบทความดีๆของพวกเราได้ทาง WEBSITE
หรือ FACEBOOK เพจ หุ้นพอร์ทระเบิด
- - - -
ผู้สนับสนุน
สนใจเปิดพอร์ท หุ้น TFEX SBL BLOCKTRADE กับโบรคเกอร์ KTBST
ค่าธรรมเนียมเรทพิเศษ
พร้อมรับสิทธิพิเศษมากมาย
- ทีมงานมืออาชีพคอยให้บริการ
- โปรแกรม EFIN//ASPEN
- โปรแกรม SUPPORT อื่นๆเช่น MT4//MODEL TRADE//KTBST SMART และอื่นอีกมากมาย
กรอกรายละเอียดได้เลย 👇
โฆษณา