1 มิ.ย. 2020 เวลา 06:37 • ประวัติศาสตร์
เรือสำเภา ร.3 vs เรือรบฝรั่งเศส
เมื่อ"เจ้าสัว"ขึ้นครองราชย์ ชาติสยามก็มั่งคั่งขึ้นมากจากการค้าโดยสำเภาเรือ
เรือสำเภาจำลองที่รัชกาลที่ 3 ทรงสร้างไว้ให้ลูกหลานได้รู้จัก
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระปรีชาชาญในการแต่งเรือสำ เภาของพระองค์เอง ออกไปค้าขายกับเมืองจีนตามเมืองท่าต่าง ๆ มาตั้งแต่ครั้งดำรงพระยศเป็น พระเจ้าลูกเธอ ฯ
จนสมเด็จพระบรมชนก ร.2 เรียกว่า เจ้าสัว เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ จึงขวนขวายขยายการค้าขายทางเรือสำเภา เพิ่มขึ้นอีก แต่ละลำมีขนาดใหญ่
 สามารถบรรทุกสินค้าได้ตั้งแต่ ๕,๐๐๐ หาบ จนถึง ๑๕,๐๐๐ หาบ
ทำให้มีเงินเก็บท้องพระคลังสูงมาก ส่วนเงินเก็บจากการค้าสำเภาส่วนตัวตั้งแต่พระเยาว์ พระองค์ก็ยังทรงเก็บใส่ถุงแดงไว้จำนวนมาก วางไว้ข้างที่บรรทม
เงินถุงแดงของรัชกาลที่ 3
ปี พศ. 2394 ก่อนทรงเสด็จสวรรคต พระองค์ยังคงฉายอัจฉริยภาพและวิสัยทัศน์อันยาวไกล ตรัสไว้ว่า “ ศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี ..”
และกำชับรับสั่งว่า เงินถุงแดง ที่เก็บไว้นั้น “เอาไว้ไถ่บ้านไถ่เมือง”
จวบจน 40 ปีต่อมา เกิดวิกฤติกาล รศ. 112 ฝรั่งเศส มีเจตนาหาข้ออ้างยึดรุกรานดินแดนไทย เพื่อผลประโยชน์เบ็ดเสร็จในดินแดนอินโดจีน
จึงส่งเรือปืนแองกงสตอง (Inconstant) และเรือโกแมต (Comete) เข้ามาปากอ่าวไทย แล่นรุกฝ่าเข้ามาตามลำน้ำเจ้าพระยา จอดที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศส และยื่นคำขาด หากไม่ทำตามเงื่อนไขที่เรียกร้อง จะสั่งให้ระดมยิงเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง
เรือรบฝรั่งเศส ขณะแล่นผ่านพระสมุทรเจดีย์ และแล่นฝ่าด่านป้อมพระจุลฯ และป้อมผีเสื้อสมุทร บริเวณปากอ่าวไทย ที่มาภาพ : www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_871
2 เรือรบฝรั่งเศส จอดหน้าสถานฑูตฝรั่งเศส รอฟังคำสั่งรัฐบาล. ที่มาภาพ https://twitter.com/thaipbs/status/1070180415653048320
ไทยหรือสยามในขณะนั้น จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ฝรั่งเศส เป็น 3 ล้านฟรังก์
รัชกาลที่ 5 จึงได้นำเงินจากในถุงแดง ที่มีเงินจำนวนถึงสามหมื่นชั่งมารวบรวมกัน ชดเชยให้จ่ายให้กับฝรั่งเศส
เงินจากการค้าเรือสำเภาของร.3 จึงช่วยไถ่บ้านไถ่เมือง ปกป้องเอกราช รอดพ้นจากการระดมยิงกรุงของเรือรบฝรั่งเศส ไว้ได้
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
อย่างหาที่สุดไม่ได้
............................กวีธารา.................................
อ้างอิงข้อมูลจาก สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถานเล่ม ๒. กรุงเทพฯ, ๒๕๔๕, -ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกุมภาพันธ์ 2547
กวีธารา เป็นร้านค้าแนวอนุรักษ์ ขายแลผลิตเอง โปสการ์ด ถุงผ้าภาพช้าง เรือ และตุ๊กตา ภาพลิขสิทธิ์ ร้านตั้งอยู่ตลาดน้ำลัดมะยมโซน 7
โฆษณา