2 มิ.ย. 2020 เวลา 14:10
“ไอ้หนุ่มตังเกร่อนเร่หาปลา...."
ล่องลอยนาวา ไปทำความรู้จักกับเรือตังเก เรือที่หาปลาให้เราทานอยู่ทุกวันกัน :)
เรือตังเก ดั้งเดิมตั้งแต่พศ. 2468 นั้น เป็นเรือที่คนจีนนำมาใช้ในไทย มีการทำงานเป็นทีม คือมีเรือใหญ่หนึ่งลำ และเรือโล้ลำเล็กอีก 2 ลำ
เมื่อพบฝูงปลา เรือใหญ่จะแล่นไปดักหน้าห่างพอสมควร แล้วปล่อยเรือโล้วางอวน (ซึ่งเรียกว่า อวนตังเก )คนละข้าง
ให้อวนล้อมรอบฝูงปลา แล้วส่งเชือกปลายอวนให้เรือใหญ่ เพื่อผูกยึดกับเรือ และดึงสายปิดก้นถุงอวน ก่อนกว้านยกอวนที่มีปลาขึ้นเรือ
รูปแบบการทำงานของเรือตังเกเมื่อ 100 ปีก่อน
ต่อมา เรือได้รับการพัฒนาเป็นเรือลำเดียว และใช้อวนล้อมจับที่เรียกว่า
“อวนดำ"หรือ "อวนฉลอม”แต่คนทั่วไปก็ยังคงคุ้นชิน เรียกเรือจับปลาประเภทนี้ว่า เรือตังเก เรื่อยมา
ปัจจุบันตัวเรือตังเก เป็นเก๋ง 2 ชั้น ชั้นบนสำหรับผู้ควบคุมเรือ
และมี"รังกา" เสากระโดงสูงบนยอดเสามักทำเป็นแป้นกลมมีรั้วเตี้ยล้อมรอบ
รูปลักษณะคล้ายรังของกา มีไว้สำหรับไต้ก๋งหรือกัปตันเรือ ขึ้นไปดูหาฝูงปลา
อวนจะถูกโรยลงน้ำด้านท้ายเรือ และกว้านขึ้นหลังจากจับปลาได้ด้านหัวเรือ
ลากอวนจับปลากลางทะเล นอนบนตังเกแรมเดือน
เมื่อออกทะเลไป เรือก็จะเดินเครื่องยนต์ตลอดเวลา เพราะต้องลากอวนที่ปล่อยลงสู่ใต้ผิวทะเล ไปเรื่อยๆ
โดยเมื่อความเร็วเรือเริ่มช้าลงมาก แสดงว่าปลาเต็มอวนแล้ว :)
แต่ถ้าลากไปนานแล้ว ความเร็วเรือยังคงที่อยู่ แสดงว่า ถุงอวนด้านปลายขาด
เมื่อออกทะเลไป จนเห็นแต่น้ำกับฟ้าเป็นเพื่อน ไม่เจอแผ่นดิน ในสมัยก่อนต้องอาศัยประสบการณ์ของไต้ก๋งเรือล้วนๆ
เพราะสมัยก่อน เรือตังเกไม่มีเรด้าร์ ไม่มีโซน่า มีแค่วิทยุสื่อสารทางทะเล ต้องอาศัยความชำนาญเรื่องน่านน้ำของไต้ก๋งล้วนๆ ถ้าทะเลเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มคืออะไร สภาพอากาศแบบใดอันตรายต่อการเดินเรือ แล้วการดูหาแหล่งปลาชุกชุม ดูอย่างไร
อย่างไรก็ดี ช่วงนี้ อย่าเพิ่งเลิกทานอาหารทะเลที่ปรุงสุกแล้วนะ เราคนไทยไม่ทิ้งกัน :)
นอกจากไต้ก๋งหรือกัปตันเรือแล้ว ในเรือตังเก ยังมีมีอาชีพยี่ชิ้ว จุมโพ่ อินเนีย และคนงานจับปลา หรือไอ้หนุ่มตังเก
( จับได้แล้ว! หนุ่มที่มาของหลายเพลงยอดฮิต:)
ทราบหรือไม่? อาชีพ คนงานตังเก ได้รับการโหวตเป็นอันดับต้นๆ เลยว่า
เป็นอาชีพที่หนักและลำบากที่สุด เมื่อ 30 ปีที่แล้ว แรงงานส่วนใหญ่ มาจากภาคอีสาน แต่ปัจจุบันมาจากประเทศเพื่อนบ้าน
ท่าฉลอมกับมหาชัย ที่นั่น เรามักเห็นของภาพเรือตังเกจอดเรียงรายกันดูสวยงาม มาพร้อมกับกลิ่นน้ำเค็ม
แต่คนเรือตังเก เขาก็อาจจะไม่ได้กลับจากหาปลา แค่แถวปากอ่าวไทย
เรือตังเก เทียบท่าที่เมืองปากน้ำ
เพราะท่าฉลอมกับมหาชัย อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของหนึ่งน้ำ*
เรือตังเก อาจจะล่องหาปลายาวตั้งแต่
จากแม่กลองล่องไปกระบี่ สามวันอีกทีไปอยู่ชุมพร กลับชล กลับจันทน์ และปากน้ำก่อน แวะจอดนครฯ ย้อนไปสงคลา สิบห้าวันละถึงได้เทียบท่า ออกจากนรากลับมามหาชัย:)
เรือตังเกเทียบท่าที่อ่าวไทย
ระยะเวลาหนึ่งน้ำ ของเรือแต่ละลำจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับขนาดบรรจุปลาในห้องเย็นในเรือ
ถ้าเรือขนาดเล็กออกทะเลประมาณ 1 อาทิตย์ ขนาดกลาง 2 อาทิตย์ ขนาดใหญ่เป็นเดือนขึ้นไป โดยจะมีเรือไปรับปลากลับมากลางรอบ
เรือตังเก ปากแม่น้ำแม่กลอง
ไอ้หนุ่มตังเกของเรา ก็ยังคงอยู่ในเรือ ลากอวนจับปลากลางทะเล นอนบนตังเกแรมเดือน ผิวคล้ำดำเปรื้อนคาวปลา ไปเรื่อย ๆ
หลายครั้ง คลื่นซัดจนน้ำกระเด็นเข้ามาเปียกในห้องนอน จนไม่สามารถนอนได้ ก็ต้องเอาเชือกผูกเอวไว้กับราวจับในเก๋งเรือ กันตัวกลิ้งไปมาเวลาโดนคลื่นลมแรง โหมกระหน่ำ
..คงจะประมาณอารมณ์เพลงนี้ได้กระมัง..
....แรก ๆ ก็กลัวหลายหลาย ต้องเมามายคลื่นโอละเห่ คิดถึงแม่ที่เคยไกวเปล
โอ้เปลน้อยคือเรือตังเก มีแม่ทะเลกล่อม
นอนแรง แรง…...
แนววว .แนว.แน่ว แนว แน่ว แนว ๆ ๆ ๆ
Instu/ Cm / Cm / Eb Bb / Cm :)
............กวีธารา...........
.*หนึ่งน้ำ คือหนึ่งรอบของการออกเรือหาปลา
กวีธารา เป็นร้านค้าแนวอนุรักษ์ขายถุงผ้า และโปสการ์ดภาพลิขสิทธิ์งานHandmade และรับทำถุงผ้า +screenโลโก้
ร้านตั้งอยู่ที่ตลาดน้ำลัดมะยมโซน7 ตลิ่งชัน กทม**ขณะนี้ ร้านปิดเพราะภาวะโควิด** แวะชม/ซื้อสินค้าได้ที่ https://shopee.co.th/kwtara หรือLine ID 3514653
รูปภาพเพ้นท์แม่ค้าแจวเรือตาหวานบนถุงผ้าและโปสการ์ด กวีธารา
กวีธารา ยังมีบทความอื่น ๆ ที่ทางเราตั้งใจเขียน รวบรวมไว้ และมีเนื้อหาน่าสนใจไม่แพ้กันเช่นกันนะคะ ติดตามได้ที่ https://www.blockdit.com/kaweetara
กวีธารา ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง:
-เพลงไอ้หนุ่มตังเก ร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร
-เพลงตังเก อัลบั้ม คนจนรุ่นใหม่ โดยพงษ์เทพ กระโดนชำนาญ
-เพลงท่าฉลอม ขับร้องโดย ครูชรินทร์ นันทนาคร
-เพลงน้ำตาตังเก ขับร้องโดยจตุพร เพชรสยาม
-บทความเรือประมง อาชีพหลักของชาวปากน้ำปราณ, 26 กค 2562, ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศน์ป่าชายเลนสิรินารถราชินี
-บทความจากพันธ์ทิพย์ โดย นกวัด เขียนเมื่อ 19 กย.2552
-เรือตังเก เรือดังในอดีต” 7 สิงหาคม 2560โดย กองบรรณาธิการ, siam business news
--บทความเรือตังเก เรือดังในอดีต โดยสุ SKDC, สมุทรสาครเพื่อพัฒนาเมือง รัฐวิสาหกิจเพื่อสังคม
โฆษณา