2 มิ.ย. 2020 เวลา 12:42
“การเหยียด”ฝังรากลึกในสังคมไทยมาอย่างเนิ่นนาน และคนไทยบางคนมักเหยียดไปหมดแต่ไม่ค่อยรู้ตัวว่านั่นคือ "การเหยียด"
ในสมัยอยุธยา สำเนียงของคนท้องถิ่นแถวบางกอก (สำเนียงคนเมืองกรุงเทพปัจจุบัน) นั้นก็ถูกเหยียดว่า "บ้านนอก"
แรงงานชาวจีนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
เพราะสำเนียงของคนบางกอกในสมัยนั้น กลับถูกผู้คนในพระนครศรีอยุธยาที่ใช้สำเนียงหลัก หรือ สำเนียงหลวง (ซึ่งคนปัจจุบันมองว่า “เหน่อ”) เรียกว่า “บ้านนอก” และ “เยื้อง”
โดยผู้คนที่อาศัยอยู่ในราชธานีกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้น สำเนียงการพูดจะมีลักษณะที่เหน่อคล้ายกับสุพรรณบุรีและหลวงพระบาง ซึ่ง สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้อธิบายไว้ในหนังสือ “กรุงเทพฯ มาจากไหน”
และมันก็สลับไปตามยุค ยุคนี้คนบางคนจึงเหยียดคนพูดเหน่อว่าบ้านนอก แต่หารู้ไม่ ที่คุณกำลังเหยียดอยู่นั่นเคยเป็นสำเนียงหลวง
ในสมัยอยุธยา หญิงชาวกรุงมักจะไม่สุงสิงกับชาวตะวันตก และเหยียดหญิงเชื้อสายมอญที่อพยพมาว่ามีกริริยาที่ไม่ดี กล่าวคือ หญิงชาวกรุงศรีอยุธยามีความเชื่อในขนบธรรมเนียมโดยเฉพาะการรักนวลสงวนตัวโดยเฉพาะชาติตะวันตก ถูกมองว่ามีพฤติกรรมแปลกจนน่ารังเกียจ เช่น การแก้ผ้าอาบน้ำ
การกอดจูบในที่สาธารณะ
การสวมเสื้อผ้าที่เปิดอกเคยถูกมองว่าล้าหลัง
หนุ่มชาวตะวันตกที่เข้ามาในยุคนั้น พยายามจีบหญิงชาวกรุงแล้วแต่ก็มักไม่สำเร็จ จึงพากันล้มเลิกความตั้งใจ พากันไปจีบหญิงชาวมอญซึ่งคุยง่ายดูเป็นมิตรกว่า เป็นอันว่าหญิงชาวมอญในกรุงศรีหลายครอบครัวจึงมีพ่อบ้านเป็นชาวตะวันตกกันหลายครัวเรือน
และมันก็สลับไปตามยุค ยุคนี้ความนิยมกับหนุ่มตะวันตกมีมากขึ้นแบบก้าวกระโดด หรือแม้แต่การแก้ผ้าอาบแดด หรือการจูบกันในที่สาธารณะก็ถูกมองว่าเป็นเรื่องของสิทธิเสรีภาพ
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ชาวสยามเหยียดคนจีนที่อพยพมาตั้งรกรากเสื่อผืนหมอนใบ ถูกโฟกัสในด้านลบ ว่าสกปรก ไร้มารยาท เป็นจับกัง เป็นเบ้ เป็นเสี่ยวเอ้อ แม้กระทั่งเหมารวมพฤติกรรมชั่วของคนจีนบางกลุ่ม เปรียบเหมือนคนที่ไม่ดี ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า "ตั่วเฮีย"ที่แปลว่าพี่ชายคนโต แต่ถูกคนบางกลุ่มมาใช้เพี้ยนเป็นคำด่า "ตัวเหี้ย" ไปในที่สุด
ชาวจีนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง
แรงงานชาวจีน ภาพเก่า
รวมทั้งคำที่คิดค้นขึ้นกัน เช่น เจ๊กตื่นไฟ เจ๊กต่างๆ นาๆ คำด่าว่าเหล่านี้ล้วนพึ่งเกิดมาเมื่อไม่นานนี่เอง ประมาณร้อยกว่าปี เพี้ยนมาจากคำว่า "อาเจ็ก" ของชาวจีนแต๊จิ๋ว และก็พัฒนาเป็นคำว่า "เจ๊ก" เป็นการเหยียดเหมารวมคนจีนไปในที่สุด ซึ่งคนจีนก็ยังงงว่า "เจ๊ก" ที่คนสยามใช้ด่ามันแปลว่าอะไร แต่ก็ไม่ได้สนใจกลับตั้งหน้าตั้งตาทำงานค้าขายจนร่ำรวย
แรงงานทาสคนไทยยุครัตนโกสินทร์ตอนกลาง
และมันก็สลับไปตามยุค ปัจจุบันจีนผงาดโลก ความสามารถทางการค้าได้ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ส่งผลให้คนจีนเชื้อสายไทยมักร่ำรวยและเก่งกาจทางด้านการค้า การเหยียดคนจีนในไทยจึงซาลง เพราะคนเริ่มโฟกัสไปที่จุดเด่นจุดดีของเชื้อชาติ จนเป็นที่มาของคำว่า "ขยันให้เหมือนคนจีน จะได้ร่ำรวย"
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ชาวอินเดีย ชาวปากีสถานและชาวอาหรับ เดินทางมาทำการค้าขายมากขึ้น มองเห็นโอกาสจึงตัดสินใจตั้งรกราก ขายผ้า ขายเครื่องเทศ ซึ่งก็ไม่พ้นถูกเหยียดอีกว่า คนแขกมีกลิ่นตัวแรง และก็โดนเหมารวมจนมั่วซั่วว่า พวกแขกต้องโพกหัวบ้าง ต้องทานโรตีบ้าง ต้องตัวดำบ้าง ตาเข้มผมหยิกบ้าง แม้กระทั่งถูกมองว่า วิธีทางการค้าหรือพฤติกรรมของคนแขกนั้นมีกลโกงหรือชอบเอาเปรียบ จนกระทั่งมีคำเหยียดเกิดขึ้น “เจองูกับแขกให้เลือกตีแขกก่อน”
ชาวอินเดีย
และมันก็สลับไปตามยุค ยุคนี้ชาวอินเดียที่ได้อพยพมาในยุคนั้น ต่างร่ำรวยจากการประหยัดอดออม สะสมทรัพย์และฉลาดในการใช้เงิน คนไทยหลายคนจึงนิยมกู้เงินจากพวกเขาแทน
ยังมีการเหยียดอีกมากมาย อย่างไรก็ตามบางครั้งเราก็เหยียดคนอื่นแบบไม่ได้ตั้งใจหรือเหยียดเพื่อสร้างความตลกโปกฮา มันอาจจะเกิดจากการซึมซับจากสิ่งแวดล้อม จากครอบครัว เพื่อนฝูง หรือสื่อต่างๆ ที่พยายามส่งมาให้เราเสพจนแทบไม่รู้ตัว
สังคมไทยในช่วงยุคกลางรัตนโกสินทร์
ตอนนี้ประเด็นที่น่ากลัวได้เกิดขึ้นแล้วที่อเมริกา มันคือตัวอย่างที่ผมอยากจะสื่อให้ท่านผู้อ่านระมัดระวังกับพฤติกรรมการเหยียดในลักษณะต่างๆ ที่บางครั้งเราไม่ทันรู้ตัวหรืออาจมองข้าม มันอาจจะนำมาสู่เหตุการณ์เฉกเช่นเดียวกันได้
สังคมไทยยุคช่วงกลางรัตนโกสินทร์
ถึงแม้สังคมจะมีความเหลื่อมล้ำหลายด้านแค่ไหน แต่หากเรามองคุณค่าของคนคนหนึ่งจากการกระทำและเคารพซึ่งกันและกัน รวมทั้งเข้าใจกับความหลากหลายทุกด้านของสังคม การเหยียดเพศ การเหยียดเชื้อชาติ การเหยียดรูปร่าง การเหยียดฐานะทางสังคม หรือแม้กระทั่งเหยียดกันทางด้านความรู้ ก็จะค่อยๆลดลง ผมเชื่อว่าสังคมจะน่าอยู่ขึ้นอย่างแน่นอน
ฝนตกขับขี่ปลอดภัย รักษาสุขภาพด้วยนะครับ
❤️กดไลค์ กดแชร์ ติดตามเป็นกำลังใจ❤️
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
อ้างอิง:
โฆษณา