2 มิ.ย. 2020 เวลา 14:34 • ธุรกิจ
สรุปโครงการในแผนร่วมทุน ระหว่างรัฐ-เอกชน (PPP) ในช่วง 2563-2570
1
พอดีวันนี้ไปขุดข้อมูลเก่าในมือถือ มาให้เพื่อนๆ อ่านซะหน่อย โหลดมานานแล้วแต่ไม่ได้มาสรุปซักที
เพื่อนๆ คงคุ้นเคยกับคำว่าการร่วมทุนระหว่างภาครัฐ-เอกชน (PPP) อยู่แล้ว แต่หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ว่ารัฐบาลเค้ามีหน่วยงานชื่อ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ซึ่งเป็นผู้พิจารณา เลือกวิธีการร่วมทุน และอนุมัติโครงการ ยื่นต่อ ครม. เพื่ออนุมัติอีกที
ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้จัดทำแผนในระยะ 8 ปีข้างหน้า เพื่อจัดเตรียมโครงการตามความเร่งด่วน ในการวางแผนประมูลโครงการ
โดยในแผน 8 ปีที่ว่านี้ จะมีงบประมาณลงทุนรวม 1.09 ล้านล้านบาท ซึ่งจะแบ่งความรับผิดชอบตามความเหมาะสมของโครงการ
ตามข่าวนี้
- ในรายละเอียดโครงการจะแบ่งความเร่งด่วนของโครงการเป็น 3 ระดับ คือ
1. High Priority (เร่งด่วนมาก)
2. Normal (เร่งด่วนทั่วไป)
3. Initiative (ไม่เร่งด่วน และกำลังศึกษา)
ซึ่งแต่ละโครงการจะมีวงเงินการการลงทุน ซึ่งแบ่งเป็นส่วนของรัฐ และเอกชนต่างกันไป
- อีกส่วนหนึ่งสีสำคัญคือรูปแบบการลงทุน แบ่งเป็น 2 แบบหลักๆ คือ
1.BOT (Built-Operate-Transfer)
เอกชนสร้างและมีสิทธิ์ในโครงสร้างตั้งแต่วันแรกจนหมดสัมปทาน เมื่อหมดสัมปทานจึงโอนทรัพย์สินให้แก่รัฐ ซึ่งเอกชนสามารถทำอะไรกับโครงสร้างก็ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
ตัวอย่าง BTS ส่วนสัมปทาน
2.BTO (Built-Transfer-Operate)
เอกชนสร้างโครงสร้างและอุปกรณ์ต่างๆ ตามสัญญา แล้วยกให้รัฐบาลเป็นเจ้าของ และรัฐก็ให้สิทธิ์ในการบริหารและซ่อมบำรุงโครงการ แต่การปรับปรุงแก้ไขต่างๆ ต้องขออนุญาตจากทางรัฐทุกอย่าง
ตัวอย่าง MRT สายสีน้ำเงิน
- อันนี้ยังไม่พูดเรื่อง รูปแบบการลงทุน (ยาวมาก เดี๋ยววันหลังต้องตั้งหลักอธิบายอีกที) แบ่งเป็นอีก 3 อย่างคือ
1. PPP Net Cost แบบ BTS ส่วนสัมปทาน
2. PPP Gross Cost แบบ MRT สายสีม่วง
3. PPP Modify Gross Cost
มาดูรายละเอียดโครงการ ซึ่งผมคัดมาแต่โครงการเร่งด่วนด้านที่ถนน และราง ซึ่งยังมีส่วนของ ทางอากาศ และท่าเรืออีก
- ด้านระบบถนน
1. ทางด่วนอุโมงค์ภูเก็ต สายกะทู้-ป่าตอง
ผู้รับผิดชอบ : การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
รูปแบบการลงทุน BTO
2. โครงการรับจ้างเก็บค่าผ่านทาง และซ่อมบำรุงทาง (O&M) ของมอเตอร์เวย์ 2 สาย คือ M6 บางปะอิน-โคราช และ M81 บางใหญ่-กาญจนบุรี
 
ผู้รับผิดชอบ : กรมทางหลวง
รูปแบบการลงทุน BTO
3. โครงการพัฒนาและบริหารจุดบริการทางหลวงบนมอเตอร์เวย์ 3 เส้น คือ M6 บางปะอิน-โคราช, M81 บางใหญ่-กาญจนบุรี และ M7 กรุงเทพ-ชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด
ผู้รับผิดชอบ : กรมทางหลวง
รูปแบบการลงทุน BTO
4. ศูนย์เปลี่ยนถ่ายและขนส่งสินค้า 2 ทื่คือ เชียงราย และนครพนม
ผู้รับผิดชอบ : กรมการขนส่งทางบก
รูปแบบการลงทุน BTO
ระยะกลาง
ระยะยาว
- ด้านระบบราง
1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี
ผู้รับผิดชอบ : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม)
รูปแบบการลงทุน BTO
2. โครงการรถไฟฟ้าสายม่วง เตาปูน-ราษฏรบูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)
ผู้รับผิดชอบ : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม)
รูปแบบการลงทุน BTO
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย หลักสอง-พุทธมณฑล สาย4
ผู้รับผิดชอบ : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม)
รูปแบบการลงทุน BTO
4. โครงการรถไฟฟ้าเมืองหาดใหญ่
ผู้รับผิดชอบ : อบจ.สงขลา
รูปแบบการลงทุน BOT
ระยะยาว
ถ้าใครสนใจลองไปดูในรายละเอียดตามลิ้งค์เลยครับ
โฆษณา