4 มิ.ย. 2020 เวลา 17:28 • ไลฟ์สไตล์
ทบทวน
อานาปานสติสูตร
มีสติระลึกรู้ลมหายใจ เข้า ออก
มีสติระลึกรู้ลมหายใจ สั้น ยาว
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม ทั้งปวง
เราจักระงับกายสังขาร
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
เราจักระงับจิตสังขาร
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต
เราจักเปลื้องจิต
เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง
เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด
เราจักเป็น ผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส
เจริญสติปัฏฐาน
มีความเพียร
รู้สึกตัว
มีสติ
กำจัดอภิชฌา ความโลภ
และโทมนัส ความเศร้า ความทุกข์
ในโลกเสียได้อยู่
เห็นกายในกาย
กำหนดรู้กองลมทั้งปวง
เราจักระงับกายสังขาร
เห็นเวทนาในเวทนา
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
เราจักระงับจิตสังขาร
เห็นจิตในจิต
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต
เราจักทำจิตให้ร่าเริง
เราจักตั้งจิตมั่น
เราจักเปลื้องจิต
เราไม่กล่าว อานาปานสติแก่ผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล
เห็นธรรมในธรรม
เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง
เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด
เราจักเป็น ผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส
เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วย ปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
บำเพ็ญโพชฌงค์ ๗
สติเป็นอันเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ
ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
เป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
ค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณา ธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน
ย่อม เจริญวิริยสัมโพชฌงค์
ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ผู้ปรารภ ความเพียรแล้ว
ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
ย่อมเจริญปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์
จิตของผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
เป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้ เป็นอย่างดี
ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย
เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้
สตรรม
5 มิ.ย. 63
โฆษณา