9 มิ.ย. 2020 เวลา 10:19 • การศึกษา
10 วิธีที่จะทำให้บทสนทนาดียิ่งขึ้น
ทักษะแห่งศตวรรษที่21
เคยไหมที่ต้องทนฟังทนคุยกับคนที่เราไม่อยากคุยด้วยสักเท่าไร แต่หลีกเลี่ยงไม่ได้?
เคยไหมคุยกันอยู่ดีดี เริ่มมีบทสนทนาที่ไม่เข้าท่า ความคิดเห็นเริ่มไม่ตรงกัน แล้วไปต่อไม่ถูก?
เคยไหม คุยกันอยู่ดีดี เขาก็วก กลับมาถามคำถามเดิมทั้ง ๆ ทีพึ่งตอบ แล้วเราควรตอบกลับเขาว่ายังไง?
ทั้งคนที่เราอยากคุยด้วย และไม่อยากคุยด้วยก็ตาม
ในการสนทนา แบบเดิม ๆ คือ
เตรียมเรื่องที่จะสนทนามาอย่างดี
การแสดงออกด้วยคำพูด" อืม, อะห๊ะ "
การแสดงออกท่ากาย คือ สบตา,พยักหน้า,สัมผัสทางกาย เพื่อทำให้เขารู้ว่า "เราตั้งใจ' ฟังเขานะ
ความจริงคือใช้ ได้ไม่ถึงผล 100%
ความจริงแล้ว เมื่อเราสนใจ อยากเจอ ตั้งใจที่อยากคุยกับเขาอยู่แล้วตั้งแต่ต้น พฤติกรรมพวกนี้ก็เกิดขึ้นอัตโนมัติของมันอยู่แล้ว
อะไรจะสำคัญไปกว่า
การประคองบทสนทนาให้สอดคล้อง และ
มีความมั่นใจไปพร้อม ๆ กัน
การสนทนาที่ดี คือ การฟัง และ การพูด
เรามาอ่านไปพร้อม ๆ กัน
ขอแค่ 1 ใน 10 วิธีที่คุณสามารถฝึกฝนให้ดีขึ้น
มันจะกลายเป็นทักษะที่ติดคุณและทำให้คุณเป็นคนคุยสนุกและเป็นผู้ฟังที่ดีในบทสนทนานั้น
มาเริ่มกันเลย
10 วิธี ที่จะทำให้ บทสนทนาดียิ่งขึ้น
1.อย่าทำหลายอย่างไปพร้อม ๆ กัน😵😵
ไม่ว่าในมือคุณ ถือแก้วน้ำ ถือโทรศัทพ์ หรือกำลังนั่งเล่นเกมส์ เมื่อมีคนมาคุยด้วย หรือมีคนทักมาในข้อความ ให้คุณอยู่กับปัจจุบัน อยู่ ณ .ขณะนั้น ต้องคิดถึงเรื่องในอดีต หรือมื้อเย็นนี้จะกินอะไรดี
สรุป..
- ให้อยู่กับปัจจุบัน ขณะนั้น ต้องไม่คิดเรื่องอื่น
- ถ้าคุณ ไม่อยากคุย ก็ไม่ต้องคุย
แต่ห้ามคุยแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆแบบขอไปที
2.อย่าวิจารณ์ 🤔🤔🤔
ถ้าคุณอยากแสดงความคิดเห็น โดยที่ไม่ต้องการ การตอบกลับ การโต้แย้ง ท้วงติงหรือ การพัฒนาใด ๆ ไปเขียน บล็อค
ถ้าพวกเขาเป็นพวกอนุรักษ์นิยม
จะเกลียด โอบามา แสตมป์แลกอาหาร
และการทำแท้ง
ถ้าพวกเขาเป็นพวกเสรีนิยม
จะเกลียด ธนาคารยักษ์ใหญ่ บริษัทน้ำมัน
และดิก เชนีย์
สรุป...** ถ้าคุณไม่ชอบการสนทนานี้ **
- ให้คิดว่า "คุณกำลังเรียนรู้อะไรสักอย่าง"
- " การฟังที่แท้จริง จำเป็นต้องเก็บไว้ในใจ
ยอมเสียสละความคิดของตัวเองไป "
หรืออีกนัยคือ ให้คิดว่า
" ทุกคนเป็นผู้เชี่ยวชาญในบางสิ่ง"
3.ใช้คำถามปลายเปิด 😄😄😄
คำถามที่นักข่าวชอบใช้กันบ่อยคือ
ใคร, ทำอะไร, เมื่อไหร่, ที่ไหน ,ทำไม, อย่างไร
เช่น
- เป็นอย่างไรบ้าง?
- รู้สึกยังไงบ้าง ?
การถามปลายเปิดจะทำให้เราได้รับคำตอบที่กว้างขวาง และเขาจะเล่าให้เราฟังถึงสิ่งเขาคิดในตอนนี้ออกมาได้เยอะที่สุด
คำถามปลายปิดจะทำให้ได้คำตอบที่ ใช่,ไม่ใช่
เช่น เธอกลัวใช่ไหม คำตอบที่ได้ก็ประมาณ
"ใช่กลัว" หรือ "ไม่กลัวนะ"
4.ไหลไปตามน้ำ🙄🙄🙄
ให้ความคิดต่างๆมันไหลเข้ามาในหัวคุณ และคุณต้องปล่อยมันไหลผ่านออกไปเช่นกัน
ไม่ใช่ว่า เพื่อนกำลังบ่นเรื่องลูกของเขาให้เราฟังเราก็ตั้งใจฟังดีแต่จู่ ๆ ก็ "เอ๊ะ เรากินข้าวหรือยัง ?" "เอ๊ะ เราไม่ได้ลืมอะไรไปใช่ไหม?" ปล่อยความคิดพวกนี้เข้ามาแล้วผ่านไป ดึงสติกลับมาตั้งใจฟังเรื่องเพื่อนต่อ
5.เมื่อไม่รู้ ก็บอกว่า "ไม่รู้" 😔😔😔
ไม่ต้องอาย ไม่ต้องกลัวเสียฟร์อม
เพราะการบอกว่า"ไม่รู้" มันชัดเจนและดูดีกว่า
ถ้าหากเราสนใจเราก็สามารถบอกเขาได้ว่า
"เราขอไปศึกษา หรือ อ่านข่าวเพิ่มก่อนนะ"
อย่างสถานีวิทยุฯแห่งชาติNPR
เขาจะตื่นตัว เมื่อเขารู้ว่ากำลังบันทึกเสียง เขาจึงระวังตัวกันมากในการอ้างตัวว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ และสิ่งที่เขาอ้างไว้
** ตัวเองต้องรู้ลึก และรู้จริงเท่านั้น **
"ให้ทำแบบนี้จะดีกว่า"นะ
อีกนัย..." คำพูด ไม่ควรเป็นเพียง ลมปาก"
อ้างอิงจาก
10 ways to have a better conversation | Celeste Headlee
8 มี.ค. 2016
เซเลสท์ เฮดลี (Celeste Headlee):
รูปภาพ จาก pixabay.com

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา