9 มิ.ย. 2020 เวลา 10:02 • ความคิดเห็น
ธนาคารโลกเตือนให้เตรียมรับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรงที่สุดในรอบ 80 ปี
-- ปัญหาเศรษฐกิจ --
ธนาคารโลกรายงาน การเติบโตทาง เศรษฐกิจโลก จะหดตัว 5.2 เปอร์เซ็นต์ปีนี้ แม้ว่าประเทศต่างๆ จะมีนโยบายออกมาพยุง ปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งเรื่องงบประมาณและการเงิน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจของประเทศใหญ่อย่างสหรัฐฯ หรือสหภาพยุโรป คาดว่าจะหดตัวได้ถึง 7 เปอร์เซ็นต์
ไตรมาสแรกปีนี้ โลกตะวันตกจะเห็นดัชนีที่ตกต่ำหนักที่สุด นอกจากนี้ คาดว่าจีนจะมีอัตราการเติบโตเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ จากปีที่แล้วที่ 6.1 เปอร์เซ็นต์
“วิกฤตโควิด-19 ได้เผยให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องจัดการผลกระทบทางสาธารณสุขและเศรษฐกิจที่จะตามมา การต้องปกป้องกลุ่มเปราะบาง และเตรียมนโยบายในการฟื้นฟูระยะยาว”
-- บาดแผลร้าวลึก --
ปัญหาเศรษฐกิจ ตกต่ำ จะทำให้เกิดแผลเป็นร้าวลึก ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการลงทุนที่จะลดลง การค้าโลกและห่วงโซ่อุปทานที่ยังถดถอย และยังไม่นับที่หลายล้านคนทั่วโลกต้องตกงาน ประเทศส่วนใหญ่ในโลกจะประสบปัญหา เศรษฐกิจตกต่ำ และรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลส่วนใหญ่ของโลกจะลดลงมากที่สุดในรอบ 80 ปี
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ปัญหาเศรษฐกิจโลก จะยิ่งหนักขึ้น หากใช้เวลาในการควบคุมการระบาดของโควิด-19 นานกว่าที่คาด หรือถ้าความตึงเครียดทางการเงินทำให้หลายบริษัทต้องล้มละลาย
รายงานธนาคารโลกระบุว่า การระบาดระลอกสอง จะเป็นปัจจัยที่คุกคามปัญหาเศรษฐกิจมากที่สุด โดยเฉพาะกับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งก็รวมประเทศไทยอยู่ด้วย เพราะทั้งความกดดันที่มีต่อระบบการแพทย์ ความสามารถในการฟื้นฟูที่จะยังทำได้ไม่เต็มที่ ประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สินค้าอุปโภคบริโภค หรือตลาดการเงิน
แต่ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันที่ตกต่ำก็จะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงแรกได้ระดับหนึ่ง
-- ความเป็นไปได้ที่ ปัญหาเศรษฐกิจโลก จะยิ่งหนักกว่าที่คาด --
ธนาคารโลกอธิบายว่า การคาดการณ์ครั้งนี้ อยู่บนพื้นฐานว่าสถานการณ์ระบาดเริ่มดีขึ้น และมาตรการล็อกดาวน์และการปิดเศรษฐกิจเริ่มคลายตัวช่วงกลางปี และภายในไม่อีกกี่เดือนต่อมาสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา และเศรษฐกิจจะดีขึ้นมาได้ในปี 2021
แต่การคาดการณ์นี้ เกิดจากการมองโลกในแง่บวก หากว่าการระบาดยังคงหนักอยู่ต่อไป รัฐบาลต่างๆ ยังขยายมาตรการล็อกดาวน์ หรือกลับมาใช้มาตรการอีก หากเศรษฐกิจชะงักไปนานกว่านี้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็จะยิ่งลงลึกไปอีก
หากดูที่ว่าวิกฤตครั้งนี้เข้าครอบงำเศรษฐกิจโลกได้รวดเร็วแค่ไหน ก็จะทำให้พอเดาได้ว่าเศรษฐกิจจะตกต่ำลงมากแค่ไหน การคาดการณ์ดัชนีการเติบโตที่ดิ่งลง แสดงให้เห็นความเป็นไปได้ที่อาจมีการปรับลดตัวเลขคาดการณ์ลงไปอีกในไม่กี่เดือนข้างหน้า
นอกจากนี้ ธนาคารโลกแสดงความกังวลต่อแง่ที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจะส่งผลกระทบทางด้านมนุษยธรรม และตรงไปที่ภาคธุรกิจที่เป็นสัดส่วนถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และเป็นแหล่งงานของประชากร 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ และประเทศกำลังพัฒนา
ธนาคารโลกระบุว่า รัฐบาลต่างๆ ต้องออกนโยบายที่มีมาตรการใหม่ๆ ที่จะช่วยเหลือด้านรายได้แก่คนทำงาน และด้านเครดิตแก่ภาคธุรกิจ
-- ความเสียหายระยะยาว --
ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ และประเทศกำลังพัฒนากำลังประสบกับภาวะการเติบโตที่อ่อนแอลงตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤต และโควิด-19 ทำให้ความท้าทายที่ประเทศเหล่านี้ต้องเผชิญยิ่งยากและซับซ้อนขึ้นอีก
นโยบายทั้งระยะสั้นและระยะยาวจะส่งผลกับระบบสาธารณสุข และต้องพุ่งเป้าไปที่มาตรการกระตุ้นที่จะช่วยจุดประกายการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นความช่วยเหลือให้ภาคเอกชน หรือการให้เงินสดโดยตรงกับประชาชน ธนาคารโลกแนะว่า ประเทศต่างๆ ควรต้องคำนึงถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ที่จะสนับสนุน ครัวเรือน ธุรกิจต่างๆ และภาคบริการที่จำเป็น
สุดท้ายแล้ว ผู้เชี่ยวชาญธนาคารโลกระบุว่า ความร่วมมือกันระดับโลก ในด้านมาตรการที่จะลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และในด้านมาตรการทางเศรษฐกิจ จะสามารถช่วยบรรเทาความเสียหาย จะทำให้การฟื้นฟูโลก ทั้งด้านเศรษฐกิจและสาธารณสุข สามารถเกิดขึ้นได้ดีขึ้น
โฆษณา