10 มิ.ย. 2020 เวลา 13:11 • ปรัชญา
Soft Skill
แจ๊ค มา ผู้ก่อตั้ง Alibaba กล่าวว่า
“เราไม่สามารถสอนลูกหลานเราให้มีความสามารถแข่งกับหุ่นยนต์ได้
3
ดังนั้นเราจงควรจะสอนสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์
ซึ่งหุ่นยนต์ไม่มีวันพัฒนาให้เท่าทันมนุษย์
Hard Skilsl คือทักษะที่เราใช้ในการทำงานซึ่งเราสามารถเรียนรู้ได้เรื่อยๆ ผ่านการเรียนในห้องเรียนหรือการเรียนด้วยตัวเอง
2
Soft skills ส่วนใหญ่ก็เป็นทักษะที่เราตระหนักเป็นอย่างดีว่า
เป็นสิ่งที่ทำให้คนมีคุณค่ามากกว่า หรือ ช่วยเติมเต็มสิ่งที่ AI ยังทำไม่ได้ [ในวันนี้]
“คน” เป็นศูนย์กลางของความคิดมากขึ้นทุกที
ปัจจัยแห่งความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่ software หรือ hardware
1
แต่อยู่ที่ wetware ซึ่งก็คือ กระบวนความคิด (human brain cell and thought process)
ซึ่งส่งผลถึงความสามารถในการปรับตัวของคนให้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้สูงสุด
ดังนั้นทักษะสำคัญจึงไม่ใช่การใช้เทคโนโลยี และเป็นทักษะการรับฟัง ความเห็นอกเห็นใจ
และการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและมีขั้นตอน
หากเราพิจารณา Key word ของโลกยุคดิจิตอลจะพบว่าทุกอย่างมีพื้นฐานที่ Human skill หรือ Soft skills โดยทั้งสิ้น
และในโลกที่ทุกคนต่างเข้าถึงและมีข้อมูล
ทักษะในการโน้มน้าวคือสิ่งที่จะสร้างความแตกต่างว่าข้อมูลของใครที่จะได้รับการยอมรับ
แต่ในยุคดิจิทัลที่กระแสการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างมีผลทำให้เส้นแบ่งระหว่าง Hard และ Soft skills ค่อยๆ เลือนลงไปจนแยกไม่ค่อยออกนั้น
1
Hard skills จะทำให้เราทำงานได้
แต่ Soft skills จะทำให้เราทำงานดี และเติบโต
3
สิ่งที่น่ากลัวก็คือ การทำงานได้ ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าเราจะอยู่รอด (job secured)
เพราะหากในอนาคต มีสิ่งที่ทำงานได้ แทนเรา ไม่ว่าจะเป็น หุ่นยนต์, ปัญญาประดิษฐ์ หรือแม้แต่ การใช้เอาท์ซอร์ท และฟรีแลนเซอร์ ทดแทน
ความสำคัญและคุณค่าของเราที่องค์กรเคยต้องการก็จะเปลี่ยนแปลงไป
1
การพัฒนา soft skills ให้คมและเฉียบอย่างต่อเนื่องจึงเป็นการรักษาคุณสมบัติที่ทดแทนได้ยาก
มีงานวิจัยและผลการสำรวจที่สนับสนุนความสำคัญของ Soft skill มากมาย เช่น
##หนังสือ Emotional Intelligence at Work ซึ่งเขียนโดย Daniel Goleman
ชี้ว่า ถ้า IQ เป็นตัวชี้วัดสำคัญของทักษะทางเทคนิคแล้ว
EQ ถือเป็น critical success factor ที่สำคัญ (90%) ที่จะทำให้คนเติบโตก้าวหน้าในระดับที่สูงขึ้นได้
4
และในหนังสือเดียวกันนี้ยังพบข้อสรุปจากการศึกษาบริษัทชั้นนำกว่า 200 แห่ง
พบว่า EQ (ซึ่งสั่งการจากสมองซีกขวา)
มีความสำคัญในการระบุว่าใครเป็นผู้มีผลงานดี (Good performer)
คิดเป็นสองเท่าของ IQ
1
ในขณะที่ EQ มีความสำคัญมากกว่า IQ สี่เท่า
ในการระบุว่าใครมีความเหมาะสมและจะประสบความสำเร็จในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง
##การศึกษาเรื่อง Skill Shift Automation and the Future of the Workforce โดย McKinsey Global Institute
ชี้ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า
นอกจาก ทักษะทางดิจิทัลพื้นฐานและการใช้โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ชั้นสูงที่คนต้องพัฒนาให้ชำนาญแล้ว
1
คนจะใช้เวลาในการทำงานที่อาศัย soft skill มากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน โดย soft skill เหล่านี้
มีมากมายมาก แบ่งเป็นหัวข้อย่อยๆเพื่อให้เห็นภาพดังนี้
**การสื่อสาร
-Communication รวม Presentation หรือการนำเสนอ
-ทักษะการสื่อสารขั้นสูง(advanced communication)
-ทักษะการต่อรอง (Negotiation skills)
-การโน้มน้าว (Persuasion)
2
**ทีม
-ภาวะผู้นำ และ การบริหารทีม (leadership and managing others)
-การสอนและชี้แนะผู้อื่น (training and teaching other)
-การสร้างความร่วมมือ (Collaboration)
-การบริหารคน (People Management)
-ทักษะการติดต่อระหว่างบุคคล (Interpersonol skill)
-มารยาททางสังคม (Social grace)
-ธรรมเนียมทางธุรกิจ (Business etiquette)
**ความคิด
-การคิดแบบผู้ประกอบการ (entrepreneurship and initiative taking)
-การปรับตัวและเรียนรู้ (adaptability and continuous learning)
-ความคิดสร้างสรร (Creativity)
-ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability)
-คุณสมบัติด้านพฤติกรรม (Behavioural traits) คือ ทัศนะคติ, แรงจูงใจ, การบริหารเวลา (Time management)
-ความคิดแบบยืดหยุ่น (Flexibility)
-คิดบวก (Positive Attitude)
-ความฉลาดด้านอารมณ์ (Emotional Intelligence)
-Business  Acumen ไหวพริบหรือความเฉียบแหลมในเชิงธุรกิจ
2
ขยายความในหัวข้อสำคัญกันค่ะ
1.Communication Skill
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นทักษะที่ต้องใช้ตลอดเวลา จำเป็นต้องติดต่อกับผู้อื่น
เช่น ลูกค้า ซัพพลายเออร์ ผู้ร่วมงาน หัวหน้า ลูกน้อง
ปัจจัยสำคัญก็คือทักษะการฟัง ซึ่งเป็นทักษะที่จะทำให้เข้าใจสิ่งที่ผู้พูดต้องการอย่างแท้จริง
โดยความสามารถในการฟังเพื่อเข้าใจในสิ่งที่คู่สนทนาพูด (คนส่วนใหญ่ไม่ฟัง)
จากการรีบด่วนสรุป ไม่ตั้งใจฟังจนจบ ไม่เข้าใจวิธีการรับฟังให้ลึกซึ้ง ถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้พูด จึงเป็นสาเหตุหนึ่งให้เกิดความล้มเหลวในการติดต่อสื่อสาร
กรณีงานล้นมือ เราทำอย่างไร
A: เราเคยได้ทำ task list ให้คนอื่นดูไหม ว่าตอนนี้เรามีอะไรอยู่ในมือ
4
มีเท่าไหร่จดมันออกมาให้หมด แล้วกางให้คนในทีมดูว่าตอนนี้เราถืออะไรอยู่เท่าไหร่
3
แล้วถ้าอยู่ๆ มีงานเร่งขึ้นมา เราก็จะได้ใช้ข้อมูลอันนี้แหละ ไปบอกกับทีมว่า
ที่เร่งๆ เนี่ย สำคัญกว่าที่มีอยู่ตอนนี้มั้ย จะแทรกงานเร่งก่อนงานไหนดี แล้วรับได้มั้ยถ้างานที่เหลือมันจะขยับช้าลงไปอีก x วัน
ข้อดีสุดๆ เลยคือ ตอนนี้ทุกคนจะมองเห็นภาพรวมของกันและกัน
1
อาจจะโชคดีคนในทีมเคยทำงานประเภทใกล้เคียงกันมา เราก็ขอคำปรึกษา หรืออาจสลับ task กันกับคนอื่นได้
B: เราเป็น type โอดครวญหรือ type อธิบาย?
มันจะมีเส้นแบ่งหนาๆ ระหว่าง บ่น-โอดครวญ กับ อธิบาย ในการโวยวายกับทีม
แทนที่จะโอดครวญเรื่องของตัวเอง ลองอธิบายสถานการณ์ปัจจุบันแล้วประเมินให้อีกฝ่ายฟังว่าจะส่งผลเสียยังไงต่อบริษัท ต่อทีม ต่อลูกค้า ฯลฯ ถ้าเรื่องนั้นๆ เข้ามาแทรก”
1
การโอดครวญ คือเราเห็นผลประโยชน์ของตัวเองเป็นที่ตั้ง แต่ไม่เคยมองในมุมที่เป็นผลประโยชน์ของคนอื่นเลย
(ใช้เทคนิค Task list ด้านบนคุยกับทีมดู)
ทริคคือ
...“เลิก” พูดว่าตัวเองจะเสียผลประโยชน์อะไร แต่ให้ลองพูดในมุมมองว่าอีกฝ่ายจะเสียผลประโยชน์อะไร
2
...อธิบายให้เคลียว่าสิ่งที่แทรกเข้ามาจะไปกระทบภาพรวมของงานยังไง
1
...ถ้าเป็นไปได้ ช่วยเสนอทางออก (ข้อนี้สำคัญนะ เป็นตัววัดภาพลักษณ์ของเราเลย)
คือการที่เรามีทักษะในการสื่อสารให้ชัดเจน นอกจากจะช่วยทั้งป้องกัน “งานล้น” ให้กับเราแล้ว
1
ยังช่วยป้องกัน “งานล่ม” ให้กับทีมด้วย คือคนในทีมจะได้เห็นภาพรวมด้วยว่าอะไรเหลือ อะไรลัดคิวได้ อะไรที่ “ทีหลังก็ได้”
1
ทักษะในการปฏิเสธ
เรามองว่าหน้าที่สำคัญอีกอย่างนึงของเราในการทำงาน ไม่ใช่แค่ทำให้งานเสร็จอย่างเดียว แต่ต้องช่วยทีม ช่วยบริษัท “ป้องกัน” งานที่จะไม่เสร็จ ไม่ให้เกิดขึ้นด้วย
การปฏิเสธไม่ใช่เรื่องร้าย เราเคยกลัวการปฏิเสธคนอื่นเพราะกลัวถูกประเมินว่าไม่มีคุณภาพ
แต่เอาเข้าจริง การตกปากรับคำอะไรอะไรที่มัน “เกินกว่ารับไหว” มา ทำให้บางทีงานที่เราทำส่งกลับไปก็ไม่ได้คุณภาพตามไปด้วย (เหมือนเร่งๆทำก็ไม่เต็มที่)
2
แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะให้อยู่แต่ใน safe zone ที่เราทำไหวนะคะ
บางทีเราก็ต้อง challenge ตัวเองบ้าง
แต่แค่ประเมินให้ดีๆ ว่าอันไหนคือการ challenge อันไหนคือการทำร้ายตัวเองและทีม
แล้วใช้ “ทักษะในการเจรจา สื่อสารให้ชัดเจน” ในการอธิบายสถานการณ์ และปฏิเสธสิ่งนั้นๆ ออกไป
1
ทักษะในการอ่านเบื้องลึกของเบื้องลึก
“ลูกค้ามาซื้อสว่าน ไม่ใช่เพราะเขาอยากได้สว่าน แต่เพราะเขาอยากได้รู”
3
ทำงานก็เหมือนกัน อยากให้ลองฝึกในการมองให้ทะลุ requirement ที่ได้รับมา มองให้ออกว่า pain, objective ของคนที่ร้องขอคืออะไร
1
การที่เรายิ่งรู้เบื้องลึกของเบื้องลึก ยิ่งเราเข้าใจ ยิ่งเราอ่านใจว่าคนที่ขอให้ทำ task แบบเนี้ย จริงๆ เขาอยากได้อันนี้ หรือเขากำลังติดปัญหาอย่างอื่นอยู่กันแน่
ทริคคือ
.....ถาม”.. (สิ่งที่เราเข้าใจอาจเป็รฃนคนละแบบกับที่เค้าต้องการก็ได้)
...เชื่อมโยง”.. พอได้คำตอบแล้วอย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าคำตอบนั้นคือ final answer
แต่ให้ลองเชื่อมโยงดูกับ request อื่นๆ ก่อน ว่ามัน make sense มั้ย
หรือมันกำลังนำเราไปสู่คำตอบอื่นๆ หรือปล่าว
win-win
ทักษะในการมองภาพมุมกว้าง
Solving problem มันก็เหมือนเล่นลูกบิดรูบิค อย่าเอาแต่โฟกัสในการแก้ปัญหาด้านเดียว
ทุกอย่างมันมี consequence ของมันอยู่
ผลลัพธ์ของเหตุการณ์ที่จบไปเหตุการณ์นึง จะส่งผลอะไรบางอย่างต่อเหตุการณ์ที่กำลังจะมาถึงในอนาคตเสมอ
คือบางทีเรามัวแต่โฟกัสกับการทำอะไรซักอย่างนึงแล้วลืมคิดถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดกับคนอื่นๆ
1
ถ้าเรามองภาพรวมความเชื่อมโยงของทีม, ของบริษัท, ของลูกค้า, ของ requirement ออกยังจะช่วยให้เรามีไอเดีย มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะสร้างอะไรเจ๋งๆ ออกมาได้อีกด้วย
ทริคคือ
...ฝึกมองภาพรวมให้ออกว่าผลลัพธ์ของการกระทำของเราอย่างนึงเนี่ย จะส่งผลต่อทีมไหน ต่อใคร ต่ออะไรบ้าง ลิสท์มันออกมา
...เช็คให้แน่ใจว่าทุกฝ่ายได้รับสารจากเรา, “ผู้ก่อเหตุ” เรียบร้อยดี
...ถ้าไม่แน่ใจว่าใครที่จะมีเอี่ยวจากผลลัพธ์ของเราบ้างก็ “ถาม” เลย
ทักษะในการเข้าใจผู้อื่น
Put yourself in someone’s shoes
1
ให้ลองคิด ให้ลองมอง ในมุมมองของอีกฝั่งดูบ้าง จะได้เห็นมุมมองที่ต่างออกไป
วิธีการพัฒนาทักษะนี้คงเป็น “สังเกตคนเยอะๆ” แล้วลอง “ตั้งคำถามถึงสาเหตุที่เขาทำอะไรแบบนั้น” เยอะๆ ลองคิดหลายๆ มุม
ทักษะในการ Be Active & Take Responsibility
A: Take Responsibility
ใครจะวางใจมอบหมายงานใหญ่ๆ ให้เราได้ ถ้าเราไม่สามารถแก้ปัญหา จัดการอุปสรรคต่างๆ ด้วยตัวเองได้
เราต้องเรียนรู้ที่จะจัดการอุปสรรคต่างๆ ด้วยตัวเองด้วย
B: Be Active
อย่ารอให้ปัญหาเข้ามา แต่คาดคะเนว่าปัญหามันจะมาแน่ๆ แล้วพุ่งเข้าหาปัญหาเพื่อป้องกัน
2.Creative thinking
3
ความคิดสร้างสรรค์ เป็นทักษะที่สร้างแนวคิดใหม่ๆ พัฒนาวิธีการใหม่ๆที่ช่วยให้การทำงานดีขึ้น
ทางเลือกใหม่ในการแก้ปัญหาได้ดีกว่าเดิม
วิธีการที่จะช่วยพัฒนาทักษะนี้คือ
เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
อ่านข่าว อ่านหนังสือ
อบรมสัมมนาความรู้ใหม่ๆ
เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ
พูดคุยกับผู้คนต่างๆเพิ่มเกิดไอเดียใหม่ๆ เหล่านี้จะช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของคุณได้
1
3. Teamwork and Collaboration
การทำงานให้เกิดความสำเร็จต้องอาศัยการร่วมมือกันระหว่างหลายๆฝ่าย
ทักษะการทำงานเป็นทีมและความร่วมมือกันจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง
ความสำคัญของการทำงานเป็นทีม
* การทำงานร่วมกันเป็นการท้าท้ายให้คนในทีมเกิดความคิดใหม่ๆมากกว่าคิดคนเดียว ดังคำกล่าวที่ว่าหลายหัวดีกว่าหัวเดียว
* ทำให้คนในทีมมองเห็นภาพใหญ่ของปัญหาหรือเป้าหมายที่ต้องการ เนื่องจากแต่ละคนในทีมอาจมีพื้นฐานความรู้ความสามารถแตกต่างกัน การทำงานเป็นทีมจะช่วยทำให้เกิดการแบ่งปันสิ่งที่ต่างคนต่างไม่รู้ เป็นการสอดประสานทำให้มองเห็นภาพใหญ่ของเป้าหมายที่จะมุ่งไป
* ก่อให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆระหว่างกัน เนื่องจากเป็นการสร้างวัฒนธรรมในการช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาไปด้วยกัน
ประโยชน์ของการทำงานเป็นทีม
* เป็นการรวมพลังของความคิดและสามารถเข้าด้วยกัน เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกในทีมแบ่งปันมุมมองและหาทางออกที่ดีที่สุดในแต่ละปัญหาที่ช่วยกันแก้ไข สิ่งนี้ช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายมากขึ้นโดยใช้เวลาน้อยลงกว่าเดิม
* ก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะของคนในทีม เมื่อทำงานร่วมกัน แชร์แบ่งปันไอเดียร่วมกัน เขาจะเรียนรู้วิธีการใหม่ๆที่ผู้อื่นใช้แก้ปัญหา และเป็นไอเดียในการประยุกต์ใช้กับตัวเองในอนาคต เป็นการเปิดมุมมองใหม่ๆในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละคน
* แก้ปัญหาได้รวดเร็วขึ้น การทำงานร่วมกันช่วยทำให้แก้ปัญหาที่ซับซ้อน ปัญหาใหญ่ที่ใช้เวลานาน ยากจะแก้ไขโดยลำพัง โดยเกิดการแบ่งปันมุมมอง เกิดทางเลือกหลายๆทางซึ่ง
* ทำให้เกิดทางออกที่แก้ปัญหาได้สำเร็จรวดเร็วขึ้น
4. Time management
ใช้เรื่อง งาน A B C D มาจัดการงานเรื่องเร่งด่วนไม่เร่งด่วน
ใช้เรื่อง การลำดับความสำคัญอะไรควรทำก่อนทำหลัง โดยดูว่าสิ่งไหนทำแล้วให้ผลกระทบต่อเรามากที่สุด
5. Flexibility or Adaptability
ปรับตัวได้ดี
* หมั่นสังเกตสิ่งต่างๆที่เปลี่ยนแปลงรอบตัว เช่น แนวโน้มตลาด การเปลี่ยนแปลงของคู่แข่ง ความพึงพอใจของลูกค้า เทคโนโลยีใหม่ๆที่ส่งผลกระทบกับงานที่ทำ
* เต็มใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่เพื่อปรับตัวเองให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เหล่านี้ก็จะช่วยให้คุณพัฒนาทักษะในการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ได้
6.Leadership
ทักษะภาวะผู้นำ การเป็นผู้นำที่ดีต้องสามารถสื่อสารกับผู้ตามให้มองเห็นเป้าหมายเดียวกันและนำพาไปสู่เป้าหมายได้
มีความรับผิดชอบสูง สามารถเป็นทั้งผู้สอนและพี่เลี้ยง สร้างแรงจูงใจให้ทุกคนเกิดความร่วมมือกัน
ทำงานเป็นทีม มีวิสัยทัศน์กว้างไกล รักการเรียนรู้ เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความยุติธรรมไม่เอนเอียงไปทางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
สร้างความไว้วางใจให้กับผู้ตามเกิดความเชื่อถือ กล้าทำให้สิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม รับความกดดันได้ดี มีสติ ควบคุมอารมณ์ได้ดี มีความสามารถบริหารคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. Positive Attitude
การมองโลกในแง่บวกหรือทัศนคติในแง่บวก เรื่องมากระทบ แค่ 10% ทัศนคติต่อเรื่องนั้นๆ 90%
ทัศนคติของคนเป็นเหมือนพลังขับเคลื่อนชีวิตของคนๆนั้น คนที่มีทัศนคติในแง่บวกกับเรื่องชีวิตหรือการทำงานก็จะนำพาไปสู่ทิศทางในแง่บวก
แม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางอุปสรรค ปัญหาในชีวิตที่ต้องเจอ การรักษาทัศนคติในแง่บวกจะช่วยเพิ่มพลังให้กับตัวเราและคนรอบข้าง
เทคนิคดีๆที่ช่วยพัฒนาทัศนคติในแง่บวก
มองหาข้อดีในเรื่องที่คิดว่าไม่ดี เหรียญมีสองด้านเสมอ
* ฝึกฝนที่จะใช้คำพูดเชิงบวก ฝึกพูดกับตัวเองในแง่บวกทุกวันจะช่วยเปลี่ยนทัศนคติของคุณได้
* จดบันทึกเรื่องราวดีๆในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายเล็กๆที่ทำได้สำเร็จแต่ละวัน ย่อมสร้างพลังบวกให้กับตัวเอง
* หาเพื่อนที่มีทัศนคติเชิงบวก เมื่อคุณแวดล้อมด้วยเพื่อนที่มีทัศนคติเชิงบวก คุณก็จะได้ยินได้ฟังแต่เรื่องที่มีทัศนคติเชิงบวก คำพูดเชิงบวกจะฝังเข้าไปในจิตใต้สำนึกเป็นการเติมพลังให้กับชีวิตคุณ
* มองวันใหม่เป็นโอกาสใหม่ๆที่คุณจะทำสิ่งต่างๆให้ดีขึ้น การเริ่มต้นวันใหม่หมายถึงโอกาสที่จะได้ทำสิ่งใหม่ๆที่มีคุณค่าให้กับตัวเอง เรียนรู้และพัฒนาให้ดีขึ้น
8.Emotional Intelligence (EQ)
ความสามารถในการรับรู้อารมณ์และความรู้สึก
คุณเป็นคนมี EQ สูง ต้องมีสิ่งนี้
1. บอกสภาวะทางอารมณ์ของตัวเองได้
มีคนเพียง 36% เท่านั้น ที่จะสามารถบอกได้ว่า ขณะนี้ตัวเองรู้สึกอย่างไร
เช่น ตอนนี้รู้สึกแย่ หงุดหงิด รำคาญ ขุ่นเคือง โกรธ กังวล กระวนกระวาย ว้าวุ่น ฟุ้งซ่าน ยิ่งสามารถอธิบายได้ละเอียดมากเท่าไหร่ แสดงว่าเขารู้จักตัวเองดีมากเท่านั้น
2. สนใจผู้คนและไม่ด่วนตัดสินผู้อื่น
เป็นคนมีจิตใจกว้างขวาง เข้าถึงง่าย
จะไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางในการคิดหรือตัดสินใจ แต่จะมองรอบๆตัวว่าจะทำให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายได้มากที่สุดอย่างไร
ปฎิบัติกับทุกคนด้วยความเคารพ สุภาพ ให้เกียรติผู้อื่น เชื่อว่าคนทุกคนเท่าเทียมกัน
3. ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง
เขาคือคนที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนแผนได้ตลอด
4. รู้จุดอ่อน จุดแข็งของตัวเอง
ไม่ใช่ว่าโกรธไม่เป็น แต่ด้วยความที่เขารู้จักตัวเองดี จึงมีความมั่นใจในและเคารพในตัวเอง
ดังนั้นแม้ว่าจะมีใครมาแหย่ให้โกรธ พูดจาดูถูก หรือล้อเลียน เขาจะไม่ถือเป็นอารมณ์
เพราะลึกๆแล้วเขารู้ว่า นั่นเป็นเพราะอีกฝ่ายอิจฉา และรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอต่างหาก
1
เพราะเป็นคนรักและเคารพในตัวเอง จึงไม่พยายามทำให้คนอื่นชอบ แต่จะเป็นตัวของตัวเองที่สุด
ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงจะไม่ใช้อีโก้ในการตัดสินใจ
เนื่องจากพวกเขาไม่จำเป็นต้องชื่นชมคนอื่นเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดี นอกจากนี้พวกเขาก็ไม่ต้องการเป็นจุดสนใจหรือได้หน้าจากความสำเร็จของคนอื่น
พวกเขาแค่ลงมือทำโดยไม่จำเป็นต้องบอกว่า “เฮ้ ดูฉันสิ!”
5. รู้ว่าเมื่อไหร่ควรปฎิเสธ
รู้ความต้องการของตัวเอง และควบคุมตัวเองได้ เขารู้ว่ายิ่งอดทนมากไป ยิ่งจะสร้างความเครียด
ดังนั้นเขาจึงเลือกที่จะพูดว่า “ไม่” อย่างสุภาพ โดยที่ไม่รู้สึกแย่หรือกังวลภายหลัง
6. ยอมรับความผิดพลาด
ไม่กลัวที่จะผิดพลาด เห็นความล้มเหลวเป็นโอกาสในการเติบโต
เมื่อเกิดความผิดพลาด เขาจะมองหาบทเรียนที่ได้รับ และนำไปปรับปรุงสำหรับครั้งต่อไป
เขาไม่ลืมความผิดนั้น แล้วก็ไม่ “จมอยู่กับความผิด” มันจะเป็นเพียงความทรงจำที่เตือนใจไม่ให้ทำผิดซ้ำ
และความผิดที่ดูลำบากหนักหนาในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่จะทำให้เค้าลุกขึ้นได้ง่ายและเร็วขึ้นในครั้งต่อไป
7. ไม่แสวงหาความสมบูรณ์แบบ
แทนที่จะมองว่าตัวเองห่างจากความสมบูรณ์แบบมากแค่ไหน
เขาจะมองว่าตัวเองทำอะไรสำเร็จมาแล้วบ้าง และจะทำอะไรต่อไป
1
8. รู้ว่าเมื่อไหร่ควรหยุด
คือการมอบ “ช่วงเวลาเงียบ” ให้กายและใจได้หยุดพักอย่างแท้จริง
1
การที่ได้มีเวลาทบทวน ใคร่ครวญกับตัวเอง ทำให้เขากลับมาทำงานได้อย่างสดชื่น มีชีวิตชีวา และเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง
9. สร้างทางเดินของตัวเอง
ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงจะไม่ไขว่คว้าหาความสุขและความพึงพอใจจากความคิดเห็นของคนอื่น
พวกเขามีอิสระที่จะทำตามเข็มทิศภายในของตัวเอง พวกเขารู้ว่าตัวเองเป็นใครและจะไม่เสแสร้งว่าเป็นคนอื่น
ทิศทางของพวกเขามาจากภายใน..จากหลักการและคุณค่าของตัวเอง พวกเขาจะทำในสิ่งที่เชื่อว่าถูกต้อง..ไม่เอนไหวไปตามความรู้สึกของคนอื่น ไม่อ่อนไหวง่าย
ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงจะรู้สึกดีกับตัวเองและไม่ไปเที่ยวมองหาการกระทำที่ไร้สาระ
หากมีใครตำหนิความคิดของพวกเขาพวกเขาก็ไม่ถือว่าเป็นการโจมตีส่วนตัวและไม่จำเป็นต้องด่วนสรุปหรือรู้สึกว่าถูกดูหมิ่นและเริ่มวางแผนแก้แค้น
1
พวกเขาจะประเมินความคิดด้านลบในเชิงสร้างสรรค์ ยอมรับมัน ลงมือปฏิบัติ และทิ้งส่วนที่เหลือไปโดยไม่รู้สึกขุ่นข้องหมองใจ
3
10. มีน้ำใจ
ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงจะมีน้ำใจกับคนรู้จักเสมอ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่พวกเขารู้และทรัพยากรที่พวกเขามี
พวกเขาต้องการให้คุณประสบความสำเร็จเนื่องจากพวกเขาทำงานกันเป็นทีมและไม่กังวลว่าความสำเร็จของคุณจะทำให้พวกเขาดูไม่ดี
พวกเขาเชื่อว่าความสำเร็จของคุณก็คือความสำเร็จของพวกเขา
11. ไม่วัตถุนิยม
ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงจะไม่ต้องการวัตถุเพื่อปรนเปรอความรู้สึก
แต่ก็ไม่ได้คิดว่าการซื้อของรุ่นใหม่ล่าสุดเพื่ออวดฐานะของตัวเองเป็นสิ่งที่ผิด
ความสุขของพวกเขามาจากภายในและจากความพอใจที่เรียบง่าย เช่น เพื่อนๆ ครอบครัว และเป้าหมายที่จะทำให้ชีวิตมีความสมบูรณ์
12. มีความน่าเชื่อถือและรักษาสัญญา
ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงจะดึงดูดเข้าหากันเอง
จะรู้ว่าใครเชื่อใจได้ และ รักษาสัญญาในสิ่งที่พูด
10.Critical Thinking
1
การคิดเชิงวิพากษ์ คือทักษะการคิดเพื่อตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องเห็นคล้อยตามข้อมูลที่นำเสนอ สามารถโต้แย้งข้ออ้างนั้นเพื่อนำไปสู่การแสวงหาคำตอบที่เหมาะสมกว่าเดิมได้
ประโยชน์ของการคิดเชิงวิพากษ์
* ช่วยให้เกิดการสังเกต ไม่รีบด่วนสรุปต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รู้จักตั้งคำถามต่อสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยเหตุผล ไม่ถูกหลอกง่ายๆ
* ช่วยให้ตัดสินเหตุการณ์ต่างๆด้วยข้อเท็จจริง ไม่ใช่อารมณ์ความรู้สึก หรือความเชื่อที่มีต่อๆกันมา
1
* ช่วยให้คิดถี่ถ้วน รอบคอบ
* ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิดในสิ่งใหม่ๆที่แตกต่างจากเดิม
จะเห็นได้ว่า soft skill มีผลต่อทั้งการทำงาน และการจัดการความสุขความเครียดในใจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
นี่เป็นตัวอย่างสั้นๆเท่านั้น ยังมีทักษะอื่นๆอีกที่เราควรมาพัฒนาไปด้วยกันค่ะ
1
เพิ่มการพัฒนาตัวเองวันละนิด
เหมือนเติมวันละ 1 องศา
1 วัน อาจจะไม่มีอะไร
10 วันไม่มีความต่าง
แต่ 100 วันล่ะ 1000 วันล่ะ
จะเปลี่ยนแปลงไปโดยแทบไม่เห็นร่องรอยเดิม
มาร่วมกันหา1องศา เพื่อเติมเต็มวงล้อชีวิตให้สมบูรณ์ไปกับพิ้งกี้และบลูบลูกันใหม่นะคะ
2
หากชอบบทความนี้ กดFollow กดLike กดShare เป็นกำลังใจให้พิ้งกี้และบลูบลูด้วยค่า
ติดตามที่ Blockdit
ติดตามที่ Youtube
ติดตามที่ Facebook
แบบทดสอบ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา