11 มิ.ย. 2020 เวลา 07:35
ประวัติศาสตร์รำลึก,
#สงครามFrancoPrussian,
#เรื่องเล่าก่อนเข้าเรื่องสั้นวันอาทิตย์, #ความแข็งแกร่งของปรัสเซียในยุโรป,
สวัสดีครับ เพื่อนๆ
สงคราม ฟรังโก-ปรัสเซีย และผลแห่งความสูญเสีย ที่ตามมาหลังจากสงครามนั้น
เป็นที่พบปะและบ่มเพาะความคิดชั้นดี ในการเปลี่ยนแปลงของผู้ที่จะนำความยุ่งยากมาสู่สยามและประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้
สุขสันต์วันพฤหัสนะครับ :)
#ความแข็งแกร่งของปรัสเซียในยุโรป,
-หลังจาก “ปรัสเซีย” เอาชนะจักรวรรดิออสเตรียในสงครามเจ็ดสัปดาห์ เมื่อ พ.ศ. 2409 ทำให้อำนาจของปรัสเซียเพิ่มสูงมาก,
-และยิ่งเมื่อปรัสเซียกุมชัยชนะเหนือราชวงศ์โบนาปาต จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศสในสงคราม
ฟรังโก-ปรัสเซีย (Franco-Prussian War) ในปี พ.ศ. 2413-2414,ปรัสเซียยิ่งเข้มแข็งและได้รับการยอมรับในยุโรป,
สงคราม Franco-Prussian (Wikipidia)
-โดยวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2414 รัฐบาลฝรั่งเศสและเยอรมนีได้ทำสนธิสัญญาแฟรงก์เฟิร์ต (Treaty of Frankfurt) โดยฝรั่งเศสต้องยกแคว้นอัลซาซ-ลอร์แรน และเมซให้เยอรมนี พร้อมทั้งต้องจ่ายค่าปฏิกรรม สงคราม จำนวน 5,000 ล้านฟรังก์ และต้องให้ทหารเยอรมันยึดครองตอนเหนือของฝรั่งเศสไปจนกว่าจะจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามครบ, ทำให้ปรัสเซียเหมาะจะมาเป็นอีกตัวแปรหนึ่งในการคานอำนาจของฝรั่งเศส,

#ปรัสเซียความสัมพันธ์อันจับต้องได้,
-สยามมีจุดมุ่งหมายทางการเมืองที่จะใช้ปรัสเซียคานอำนาจของฝรั่งเศสในขณะที่รัฐปรัสเซียเองก็มีจุดประสงค์ที่จะแสวงหาตลาดการค้ามากกว่าที่จะแผ่อิทธิพลทางการเมือง,
-ดังนั้น จึงมีการว่าจ้างชาวเยอรมันให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ดังกล่าวนี้ เป็นการช่วยส่งเสริมอิทธิพลทางการเมือง และการค้าของเยอรมนีในประเทศสยาม และที่สำคัญก็คือ ก่อให้เกิดปฏิกิริยาจากหลายวงการ โดยเฉพาะจากอังกฤษซึ่งถือว่าการว่าจ้าง แฮร์ เบทเก (Herr Karl Bethge) ชาวเยอรมันเป็นเจ้ากรมรถไฟคนแรก แสดงให้เห็นว่ากรมรถไฟตกอยู่ใต้อิทธิพลของเยอรมนีโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ อังกฤษยังเชื่อว่า เจ้ากรมรถไฟย่อมมีอิทธิพล มากในการตัดสินใจซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างทางรถไฟ หนังสือพิมพ์ไทมส์ (Times) จากลอนดอนก็รายงานว่าในการสร้างทางรถไฟครั้งนี้ กรมรถไฟจะต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ผลิตในเยอรมนีมากกว่าจะใช้ของอังกฤษแน่ๆ นอกจากนี้ รัฐบาลอังกฤษยังพิจารณาว่าการว่าจ้างชาวเยอรมันให้ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พวกเยอรมันย่อมได้ชิ้นปลามันของประโยชน์อันเกิดจากวิศวกรชาวอังกฤษซึ่งทำการสำรวจเส้นทางรถไฟมาก่อน,
-จึงคงจะไม่เกินเลยไป หากกล่าวว่า การเสด็จเยือนสยามของเจ้าชายปรัสเซียในปีพุทธศักราช 2443 ยิ่งช่วยทำให้สถานะ “รัฐกันชน” และภาพลักษณ์ของสยามดูดียิ่งขึ้นบนเวทีโลก,
ภาพเจ้าชายเฮนริค ปรัสเซีย ในปี พ.ศ.2443
#เกรดเพิ่มเติม
-ภาพงานพระราชพิธีสายธนบุรี-เพชรบุรี เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2446,บุคคลที่ 2 นับจากทางซ้ายคือ
เฮอร์มันน์ เกิร์ต (อธิบดีกรมรถไฟหลวงแห่งสยาม),ภาพนี้เป็น collection จากสตูดิโอ ของโรเบิร์ต เลนซ์ แอนด์โก,
#ปรัสเซียไม่ใช่รัสเซีย,
-แต่ เป็นรัฐที่รุ่งเรืองที่สุดในบรรดารัฐทั้งหลายของชนชาติเยอรมัน ในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (ปี 1814–15) ซึ่งจัดระเบียบทวีปยุโรปเสียใหม่ภายหลังถูกทำให้ปั่นป่วนจากสงครามนโปเลียน ปรัสเซียได้รับดินแดนส่วนใหญ่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเยอรมนีในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงรัฐร่ำรวยถ่านหินอย่างรัฐรูร์ (Ruhr) อิทธิพลทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของปรัสเซียได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ปรัสเซีบกลายเป็นหัวใจของสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือในปี 1867 และของจักรวรรดิเยอรมันในปี 1871 ปรัสเซียในยุคจักรวรรดิเยอรมนี้มีอาณาเขตไพศาลมากกว่ารัฐเยอรมันที่เหลือรวมกัน
1
-ปรัสเซียมีเมืองหลวงเดิมอยู่ที่เคอนิชส์แบร์คก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปยังเบอร์ลินในปี 1701,
แต่ปรัสเซีย จะมีผลอย่างไรต่อการล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสในภูมิภาคนี้..โปรดติดตามนะครับ...
สวัสดี และขอจบเพียงเท่านี้,
ขอบคุณครับ
ร้อยเรียงข้อมูล (T.Mon)
11/6/2020
ภาพและข้อมูลสนับสนุนส่วนหนึ่ง:ฉายาลักษณ์สยาม, Fueter, Eduard (1922). World history, 1815–1920.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา