12 มิ.ย. 2020 เวลา 04:19
ประวัติศาสตร์รำลึก,
#การสำรวจอย่างทะลุปรุโปร่งก่อนรุกฆาตของฝรั่งเศส, #เรื่องเล่าก่อนเข้าเรื่องสั้นวันอาทิตย์,
สวัสดีครับ เพื่อนๆ
วันนี้ขอส่ง คลิปเพลงมาร์ชจันทร์เจ้าขา ให้เพื่อนๆ คึกคัก สดใส ตลอดวันนะครับ และเรื่องราวปูพื้น เพื่อเพิ่มอรรถรสในการอ่านเรื่องสั้น ย้อนยุคในวันอาทิตย์นี้ด้วยครับ
สุขสันต์วันศุกร์กันนะครับ :)
#การสำรวจอย่างทะลุปรุโปร่งในแต่ละรุ่นของฝรั่งเศส,
เป็นที่ทราบกันในหมู่ผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ และยอมรับว่า
“อ็องรี มูโอต์” (Henri Mouhot) เป็นนักธรรมชาติวิทยา ผู้เดินทางมาสำรวจถิ่นอุษาคเนย์ อย่างจริงจัง รุ่นที่หนึ่ง ระหว่างปี ค.ศ.1858-1860 (พ.ศ.2401-2403) ซึ่งตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 4
-ต่อมารุ่นที่สอง คือ
นายทหารเรือหนุ่ม ฟรานซิส การ์นิเยร์ ปี ค.ศ.1863 ซึ่งมีอายุเพียง 24 ปี และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายอำเภอเมืองโชลอน (Cholon)
-ช่วงที่ประจำการอยู่ในเวียดนาม ฟรานซิสทำงานอย่างแข็งขัน และเป็นตัวตั้งตัวตีในการเขียนโครงการเสนอรัฐบาลฝรั่งเศส และของบประมาณการสำรวจเส้นทางตลอดสองฝั่งแม่น้ำโขง อย่างละเอียด จากเวียดนาม กัมพูชา ลาว ไทย พม่า สู่ประเทศจีน..
-จนต่อมาอีก 3 ปีถัดมา ในปี ค.ศ.1866 เขาจึงเป็นหนึ่งในคณะสำรวจเส้นทางแม่น้ำโขง ภายใต้การนำของผู้บัญชาการคณะสำรวจนายพลดูดาร์ต เดอ ลาเกร (Doudart de Lagre) โดยมี ฟรานซิส การ์นิเยร์เป็นรองหัวหน้าคณะ..
-พวกเขาถือว่าเป็นชาวยุโรปคณะแรกที่เดินทางเข้าสู่มณฑลยูนนานด้วยเส้นทางภาคใต้ของจีน
พวกเขาใช้เวลาสามปี (1866-1868) อย่างยากลำบาก เพื่อร่วมผลักดันภารกิจหลักในการทำแผนที่ปักปันเขตแดน “อินโดจีนฝรั่งเศส” ให้สำเร็จ
-พวกเขาลัดเลาะพรมแดนกัมพูชา ล้านช้าง ล้านนา ของสยาม เพื่อขึ้นไปถึงมณฑลยูนนานของจีน และมีความเห็นปรากฏในหนังสือบันทึกว่า..
“คงเป็นการยากที่ฝรั่งเศสจะสามารถนำกองทัพเรือจากแม่น้ำโขงขึ้นไปยึดจีนตอนใต้ได้โดยง่าย อย่าว่าแต่จะให้ชนะทางการเมืองเลย แม้แต่แค่คิดจะทำการค้ากับคนในภูมิภาคนี้
ด้วยเส้นทางแม่น้ำโขงทะลุตลอดทั้งสาย ก็ยังยากลำบาก แต่ละช่วงเต็มไปด้วยเกาะแก่งภยันตราย หฤโหดสุดพรรณนา สัตว์ประหลาดร้าย ไข้ป่าชุกชุม นักสำรวจอ่อนล้าราโรยพบแต่โรคภัยไข้เจ็บ”
ผลพวงจากการลงพื้นที่สำรวจของการ์นิเยร์และคณะคือ เมื่อพวกเขากลับคืนประเทศฝรั่งเศสในปีรุ่งขึ้น การ์นิเยร์และเพื่อนนักสำรวจอีกคนชื่อ หลุยส์ เดอลาพอร์ต (Louis Delaporte)
ได้เรียบเรียงประสบการณ์การผจญภัยตลอดสองฟากฝั่งแม่น้ำโขงอันยากลำบาก ตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณะ
รวมถึงภาพลายเส้นอันทรงคุณค่า ..ต่อมาหนังสือเล่มนี้ได้รับการแปลจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษโดย วอลเทอร์ อี.เจ.ทิปส์ (Walter E. J. Tips) ภายใต้หนังสือชื่อ The Mekong Exploration Commission Report (1866-1868) หนังสือเล่มนี้ จึงเป็น เหมือนไฟแห่งแรงบันดาลใจ ให้ออกุสต์ ปาวี ได้ต่อคบไฟนั้น เข้ามาฝังตัวในสยามและดินแดนแถบนี้..จนมาสู่การรุกรานสยาม ในเวลาต่อมา..
โปรดติดตาม ออกุสต์ ปาวี ในเรื่องสั้นในวันอาทิตย์นี้ นะครับ..
สวัสดี และขอจบเพียงเท่านี้
ขอบคุณครับ
ร้อยเรียงข้อมูล (T.Mon)
12/6/2020
ภาพและข้อมูลสนับสนุนส่วนหนึ่ง: มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 27 ธันวาคม 2562 - 2 มกราคม 2563, เพ็ญสุภา สุขคตะ, La Cochinchine française en 1864, Paris, 1864

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา