15 มิ.ย. 2020 เวลา 00:58 • ข่าว
เรียกค่าทดแทนจากการหมั้น
#การเรียกค่าทดแทนในกรณีผิดสัญญาหมั้น
#คำพิพากษาฎีกาที่ 2165/2538
#โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็น น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับจำเลยที่ 2 โดยเป็นบุตรของจำเลยที่ 3 ที่ 4 จำเลยทั้ง สี่ร่วมกันมาขอหมั้นโจทก์ต่อบิดามารดา และ นายเทอดศักดิ์ ปฏิภาณวัฒน์ พี่ชายโจทก์ เพื่อให้ทำการสมรส กับ จำเลยที่ 1 โดยมอบ เงินให้แก่บิดามารดาโจทก์เป็นสินสอด ให้ ทรัพย์สินรวมเป็นเงิน 107,960 บาท แก่โจทก์เป็นของหมั้น เพื่อเป็นประกันว่าจะสมรสและ จดทะเบียน ส่วนโจทก์ได้มอบแหวนเพชร 1 วง ราคา 25,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ตามประเพณีการรับหมั้น และใช้จ่ายเนื่องใน การเตรียมการสมรสโดยซื้อชุดแต่งงาน จำนวน 4 ชุด เป็น เงิน 28,200 บาท ผ้ารับไหว้ จำนวน 30 ชุดเป็น เงิน 5,307.25 บาท นอกจากนี้โจทก์ได้ลาออกจากการประกอบ อาชีพที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ปฏิภาณ เป็นเหตุ ให้ขาดรายได้เกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมา หาได้ แต่เมื่อหลังจากทำพิธีแต่งงานตาม ประเพณีในวันนั้นแล้ว จำเลยทั้งสี่ ผิดสัญญา หมั้น โดยจำเลยที่ 1 ไม่จดทะเบียนสมรสกับ โจทก์ ทั้งได้ร่วมกันขับไล่โจทก์ออกจาก บ้านที่พักอาศัยเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายต่อกาย หรือชื่อเสียงและในการไปอยู่กินเป็นสามี ภริยากับจำเลยที่ 1 โจทก์ได้นำของหมั้น ตลอดจนสินส่วนตัวติดตัวไปที่บ้านของ จำเลยทั้งสี่ด้วย แต่ระหว่างอยู่กินกับจำเลย ที่ 1 จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันหลอกลวงโจทก์ให้ ถอนเงินจากธนาคารและยึดทรัพย์สินกับ เงินดังกล่าวไว้ การที่จำเลยทั้งสี่ผิดสัญญาหมั้น จึงต้องร่วมกันใช้ค่าทดแทน และค่าใช้จ่าย ในการเตรียมการสมรส กับต้องคืนของหมั้นตลอดจนทรัพย์สินที่ยึดไว้ และแหวนเพชรที่ มอบให้ในวันรับหมั้น ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ ร่วมกันชำระเงิน 2,267,887 บาท กับดอกเบี้ย
#จำเลยทั้งสี่ให้การและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ฟ้องแย้ง ว่าจำเลยที่ 3ที่ 4 มอบอำนาจให้จำเลย ที่ 2 ดำเนินคดีแทน ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะอ่านไม่เข้าใจ จำเลยที่ 1 หมั้นโจทก์ โดยเกิดจากความยินยอมของจำเลยที่ 3 ที่ 4 เท่านั้นจำเลยที่ 2 มิได้เกี่ยวข้องด้วย โจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ภายหลังที่ทำพิธีแต่งงานตามประเพณีแล้ว โจทก์และจำเลยที่ 1 อยู่กินฉันทสามีภริยาโดยมิได้มีความจำนงที่จะจดทะเบียนสมรส ทั้งจำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่เคยขัดขวางอย่างใด จึง ไม่ผิดสัญญาหมั้น เหตุเกิดเนื่องจากจำเลยที่ 1 ประกอบอาชีพค้าขาย โดยมอบหมายให้ โจทก์เข้าบริหารกิจการแต่โจทก์ไม่มีความรู้ความสามารถดำเนินกิจการผิดพลาดก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นหลายครั้ง เมื่อจำเลยที่ 1 และ ที่ 2 แนะนำ ตักเตือน โจทก์ไม่พอใจ และโกรธ โจทก์จึงได้ออกจากบ้านไป โดยความสมัครใจจะเรียกให้รับผิดชดใช้ค่าทดแทนหาได้ไม่ ในการที่แยกไปดังกล่าวโจทก์ได้นำทรัพย์สินที่จำเลย ที่ 1 เป็นเจ้าของรวมติดตัวไปด้วย จำเลย ที่ 3 ที่ 4 ไม่เคยยึดถือครอบครองทรัพย์สินที่เป็นของหมั้นตลอดจนสินส่วนตัวและเงินของโจทก์ตามฟ้องไว้แต่อย่างใด ทั้งโจทก์ได้ขนย้ายไปหมดสิ้นแล้ว สำหรับค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสที่โจทก์เรียกร้องเป็นจำนวนสูงเกิน ความจำเป็น ส่วนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียง โจทก์มิได้เกิดจากการผิดสัญญาหมั้นและก่อนสมรสโจทก์มิได้ประกอบอาชีพ ใดๆ จำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนตามฟ้องต่อโจทก์ ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาให้โจทก์ชำระเงิน 106,500 บาท กับดอกเบี้ย แก่จำเลย ที่ 1
#ศาลชั้นต้น สั่งไม่รับฟ้องแย้ง
#ศาลชั้นต้น พิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลย ทั้งสี่ร่วมกันคืนของหมั้น เงินสด 700,000 บาท ทองรูปพรรณ หนัก 20 บาท และ เครื่องเพชร1 ชุด มีสร้อยข้อมือ แหวน และ ตุ้มหูแก่ โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเป็นเงิน 967,960 บาท กับ ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนถึงวันชำระเสร็จ
#โจทก์ และ จำเลยทั้งสี่ อุทธรณ์
ระหว่าง พิจารณาจำเลยที่ 4 ถึงแก่กรรม โจทก์ ขอให้เรียกนายชัยยศ แซ่เจี่ยนางสาว นี แซ่เจี่ย และนายลิ้มเกียก แซ่เจี่ย ทายาทโดยธรรมของจำเลยที่ 4 เข้า เป็นคู่ความแทน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 อนุญาต
#ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์
#โจทก์ ฎีกา
#ศาลฎีกา วินิจฉัยว่าคดีนี้โจทก์และจำเลยที่ 1 หมั้นกันโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อแต่งงานกันตามประเพณีแล้วปรากฏว่ายังไม่มีการจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย จนกระทั่งโจทก์กลับไปอยู่บ้านบิดามารดาของโจทก์ตามเดิมโจทก์เป็นหญิงสาวสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี การที่โจทก์หมั้นและแต่งงานตามประเพณีกับจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมต้องการอยู่กินฉันทสามีภริยากับจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อจะได้มีสิทธิและหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แม้จะไม่ปรากฏว่าได้พูดกันถึงเรื่องการจดทะเบียนสมรสก็ตาม ดังจะเห็นได้จากการที่โจทก์ชวนจำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนสมรสกันหลายครั้งหลังจากวันแต่งงาน การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ไล่โจทก์ออกจากบ้านหลังจากนั้นจำเลย ที่ 1 ก็มิได้กระทำการใดเพื่อให้โจทก์กลับมาอยู่กินฉันทสามีภริยา จำเลยที่ 1 จึงผิดสัญญาหมั้น
จำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดตามสัญญาหมั้น หรือไม่เพียงใดได้วินิจฉัยไว้ข้างต้นแล้วว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น จำเลยที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ไล่โจทก์ออกจากบ้าน ถือได้ว่าร่วมกับจำเลย ที่ 1 ทำผิดสัญญาหมั้น โจทก์เรียกค่าทดแทนหลายประการ ศาลฎีกาจะวินิจฉัยตามลำดับ ดังนี้
ค่าทดแทนความเสียหาย เนื่องในการเตรียม การสมรส โจทก์อ้างว่าได้จ่าย ดังนี้
1.1 ซื้อชุดแต่งงานเพื่อเข้าพิธีจำนวน 4 ชุดเป็นเงิน 28,000 บาท เห็นว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีฐานะดี ในการจัดงานเลี้ยงมีการ เชิญแขกประมาณ 600 คน และเลี้ยงโต๊ะจีนจึงเป็นการใช้จ่ายอันสมควรแล้ว
1.2 ซื้อผ้ารับไหว้ เพื่อให้ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายจำเลยตามประเพณีจำนวน 30 ชุด เป็นเงิน 5,307.25 บาท เห็นว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวมิใช่ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสอันจะเรียก ค่าทดแทนได้
#พิพากษากลับ
ภูดิท โทณผลิน
โทร.0847068581
LINE Official >> pudit-law >> https://lin.ee/8wqsERa
Youtube >> pudit law
โฆษณา