26 มิ.ย. 2020 เวลา 01:00 • การศึกษา
"ลาป่วย แต่ต้องเข้าออฟฟิศ ลาเท็จหรือไม่?"
...ท่านผู้อ่านเคยประสบกับสถานการณ์แบบนี้ไหมครับ
1.ลาป่วย จะนอนพัก แต่มีไลน์งานเด้งมาตลอดเวลา
2.ลาป่วย จะนอนพัก แต่ต้องเช็คอีเมล์ลูกค้าตลอด
3.ลาป่วย จะนอนพัก แต่ต้องคอยตอบลูกค้าตลอด
4.ลาป่วย จะนอนพัก แต่ต้องมาสอนงานคนแทน
5.ลาป่วย จะนอนพัก แต่ต้องเข้ามาเอาเอกสารจากออฟฟิศไปทำงานที่บ้าน
ฯลฯ
"แทบไม่ได้พักผ่อนจากอาการป่วยจริงๆ เท่าไร"
...สถานการณ์กล่าว ลูกจ้างทุกคนแม้กระทั่งผมเองก็เจอ จนบางครั้งก็กระทบต่อการใช้ชีวิตบ้าง แต่หากไม่มากเกินไปก็ต้องช่วยกันไปครับ เพราะเมื่อวิเคราะห์ผลเสียแล้ว อาจทำให้เราเสียงานนั้นเลยก็ได้ เช่น เสียลูกค้ารายใหญ่ เป็นต้น
...ส่วนตัวผมเคยประสบกับเหตุการณ์นี้ ตอนยังเป็นลูกน้องเขา ผมได้แจ้งขอลางาน เนื่องจากป่วยจนไม่ไหว แต่นอนพักได้ไม่นานนัก หัวหน้างานก็โทรมาเชิงตำหนิและให้ผมสอนวิธีทำบัตรพนักงานให้ (ซึ่งตัวเขาเองทำไม่เป็น เพราะสั่งเป็นอย่างเดียว) ซึ่งขณะนั้นผมก็นอนซมอยู่ แต่ด้วยความรำคาญ ผมถามไปว่า "ค่อยทำพรุ่งนี้ไม่ได้หรือ? มันไม่ได้สำคัญขนาดนั้น เราทำส่งทุกวันอยู่แล้ว"
...ซึ่งก็แบบเดิม คือ หัวหน้ารายนี้อ้างว่า "เขาสั่งมาแบบนี้" ผมก็คิดในใจว่า ถ้าจะคิดไม่เป็นขนาดนี้ น่าจะไปหัดทำเองเสียบ้าง แต่ด้วยความสงสารผมก็ต้องลุกจากที่นอนมาสอนเขาทำทางโทรศัพท์ สุดท้ายผมเสียเวลาทำงานไร้สาระในวันลาป่วยเกือบทั้งวัน ผมถือว่าเรื่องนี้ไม่เคารพสิทธิกันครับ
"ป่วยไม่เป็นป่วย ยังต้องทำงานอีก ทั้งมาเจอหัวหน้าแย่ๆแบบนี้ ยิ่งป่วยการเข้าไปอีกครับ"
...หากจำเป็นมันก็ต้องลุกขึ้นมาจัดการกับงานให้จบ บางครั้งเราก็ต้องเข้าไปออฟฟิศเอาเอกสารมาทำ ทั้งๆที่ป่วยแทบล้ม แต่กลับเป็นแผนการบีบคนให้ลาออกนายจ้าง โดยหาเรื่องจับผิดครับ
...ยกตัวอย่างคดีหนึ่ง ลูกจ้างทำงานตำแหน่งที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม ค่าจ้างเดือนละ 100,000 บาท ต่อมาวันที่ 5 มกราคม 2555 นาย ฮ. กรรมการของนายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้าง โดยอ้างเหตุว่าลูกจ้างลาป่วยเท็จ และนำอาวุธเข้าไปในโรงแรมของนายจ้าง อันเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
...ศาลพิพากษาว่า นายจ้างประกอบกิจการโรงแรม มีนาย ส.และนาย ฮ. เป็นกรรมการของนายจ้าง คนหนึ่งคนใดสามารถลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญกระทำการแทนนายจ้างได้ (คนเดียวก็ใช้ได้) ก่อนหน้าลูกจ้างได้ส่งอีเมล์ไปถึงหัวหน้างาน เพื่อขอลาป่วย โดยแจ้งว่า"หากอาการดีขึ้นจะกลับเข้าไปทำงาน"
...แสดงว่าลูกจ้างอาจกลับเข้าไปทำงานในวันที่ลาได้หากอาการดีขึ้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุว่าป่วยด้วยเหตุใด แม้ลูกจ้างจะได้กลับเข้าไปที่ทำการของโรงแรมก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้ป่วย ลูกจ้างจึงไม่ได้ขอลาป่วยเท็จ
...ทั้งขณะเกิดเหตุ ยังมีปัญหาโตแย้งเรื่องอำนาจจัดการบริษัทของนาย ส.และนาย ฮ. ย่อมทำให้ลูกจ้างเกิดความสับสนว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งของกรรมการคนใด จะถือว่าลูกจ้างละเลยหรือปฏิปักษ์ต่อนาย ฮ. (คนที่เลิกจ้าง) ไม่ได้
1
...การที่ลูกจ้างนำ ค้อน ขวาน สิ่ว เข้าไปในสำนักงานก็มีเจตนานำไปใช้เป็นเครื่องมือช่าง มิใช่อาวุธ การที่นาย ฮ. มีหนังสือเลิกจ้างลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญของนายจ้าง จึงมีผลเป็นการเลิกจ้างแล้ว โดยลูกจ้างไม่ได้ทำผิด เป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรม นายจ้างต้องจ่าย ค่าชดเชย ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย...
2
...จากฎีกานี้ ส่วนตัวผมคิดว่า พฤติการณ์เป็นการบีบ อาจจะไม่พอใจในการทำงานหรือส่วนตัว ค่อนข้างเป็นประโยชน์ให้ลูกจ้างนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตน จะดีมากครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6512/2560
"...ผู้เขียนเขียนบทความนี้ ให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันการโดนเอาเปรียบจากสังคมแห่งแรงงาน..."
"...หากอยากให้กำลังใจผู้เขียน ช่วยกดติดตาม กดไลค์ หรือแชร์แก่ผู้อื่นเป็นวิทยาทาน ฯลฯ เพื่อจะได้สร้างสรรค์งานเขียนเช่นนี้ต่อไปครับ..."
โฆษณา