25 มิ.ย. 2020 เวลา 13:02 • ความคิดเห็น
โลกที่ถูกบิดเบือน
ปัจจุบันพุทธศักราช 2563 ทุก ๆ อย่างดำเนินไปสู่การเปลี่ยนแปลง จากอดีตสู่ปัจจุบันและอนาคต เราจะเห็นว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่กำลังถูกบิดเบือนให้ไกลจากความเป็นจริง สิ่งนั้นคือ "ข้อมูล" ใช่แล้วครับ ข้อมูลที่เรารับรู้ในปัจจุบันทุกท่านเชื่อหรือไม่ว่ามีข้อมูลที่เป็นเท็จมากกว่าข้อมูลที่เป็นจริง ?
เทคโนโลยีที่พัฒนานำพาเราให้เข้าถึงข้อมูลกันมากขึ้น มองดูเผิน ๆ มันควรเป็นเรื่องที่ดีไม่ใช่หรือ ? จริง ๆ มันก็ควรเป็นเช่นนั้นครับ แต่เพราะ "ข้อมูล" ที่เราเข้าถึงนั้นช่างน่าเสียดายที่มันเป็นข้อมูลเท็จ และยิ่งน่าเศร้ากว่านั้นคือเราไม่เคยคิดที่จะส่งสัยว่าข้อมูลที่เราได้รับมานั้นถูกหรือผิด
จึงเป็นที่มาของบทความในค่ำคืนนี้ครับ "โลกที่ถูกบิดเบือน"
เมื่อทุกท่านอ่านบทความนี้จบผมเชื่อว่าท่านจะได้ฉุกคิดอะไรบางอย่าง และอาจจะได้รับแนวทางหรือวิธีคิดในการเสพคบข้อมูลเพื่อป้องกันไม่ให้เราหลงไปอยู่ในโลกที่ถูกบิดเบือนและกลับมามองโลกตามความเป็นจริง
ข้อมูลที่เราได้รับนั้นจริงหรือเท็จจะรู้ได้อย่างไร ?
หลักการตามรักษาไว้ซึ่งความจริงนั้นเป็นเช่นไร มีวิธีการอย่างไร เรามาหาคำตอบกันครับ ก่อนอื่นผมมีคำที่อยากให้ทุกท่านท่องครับ ท่องให้ขึ้นใจเลยครับ นั่นคือ 🔆🔆อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า🔆🔆
อีกครั้งครับ "อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า” เมื่อทุกท่านท่องได้แล้วให้ อย่าคิดเหมือนสิ่งที่ท่านเพิ่งท่องไปครับ ดังเช่น
1️⃣ มีข้อมูลบางอย่างที่ท่านได้รับมาหรือได้อ่านมา ข้อมูลนั้นบังเอิญตรงกับความเชื่อของท่าน ท่านอย่าคิดว่า "อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า” เพราะถ้าท่านคิดว่าอย่างนี้เท่านั้นจริงแล้วข้อมูลนั้นเป็นเท็จ จบครับ ความจริงได้หายไปแล้ว
2️⃣ มีข้อมูลบางอย่างที่ท่านได้รับมาหรือได้อ่านมา ข้อมูลนั้นบังเอิญท่านอ่านแล้วชอบใจ เห็นด้วย ดีงาม แม้กระนั้นท่านก็อย่างเพิ่งคิดว่า "อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า” เพราะความชอบใจของเราไม่อาจตัดสินได้ว่าข้อมูลนี้เป็นความจริง
1
3️⃣ มีข้อมูลบางอย่างที่ท่านได้รับมาหรือได้อ่านมา ข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลที่เขาเล่าต่อ ๆ กันมาอีกที แบบนี้ยิ่งอันตรายครับ ท่านอย่าคิดว่า "อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า” โดยเด็ดขาดเลยครับ
4️⃣ มีข้อมูลบางอย่างที่ท่านได้รับมาหรือได้อ่านมา ข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลที่มีเหตุมีผล มีหลักการสามารถอธิบายได้ แม้กระนั้นท่านก็อย่างเพิ่งคิดว่า "อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า” เพราะผู้นำเสนอข้อมูลเขาสามารถที่จะนำเหตุผลไปอธิบายให้ข้อมูลเขาน่าเชื่อถือได้เสมอครับ
ตัวอย่างทั้ง 4 ข้อนี้จะทำให้ทุกท่านเห็นภาพของคำว่า "อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า” ชัดเจนมากยิ่งขึ้นครับ ประโยคนี้จะช่วยให้เรามีสติมากขึ้นในการเสพคบข้อมูลก่อนที่จะเลือกเชื่อหรือไม่เชื่อได้ครับ
ไม่อย่างนั้นเราก็ตกเป็นเหยื่อของ "โลกที่ถูกบิดเบือน"
ผมขอยกอีก 1 เหตุการณ์ที่เห็นภาพชัดมากครับ สมมติเป็นข่าวพ่อฆ่าลูก พอเราอ่านข่าวจบ วินาทีแรกที่จิตใจเราคิดคือ ด่าพ่อก่อนเลย พ่อเลวบ้างล่ะ หลากหลายสารพัด แต่พอความจริงถูกพิสูจน์ปรากฎว่าพ่อไม่ได้ผิด อ่าว ทำอย่างไรล่ะ เราได้ด่าเขาไปแล้ว แบบนี้เป็นต้นครับ ซึ่งพบเจอบ่อยมาก
ดังนั้นแล้ว อย่าคิดว่า "อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า” บทความนี้ก็เช่นกันครับ ท่านอย่าเพิ่งคิดว่า "อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า"
ขอบคุณครับ 😊
* อย่างอื่นเปล่า = อย่างอื่นไม่จริง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา