29 มิ.ย. 2020 เวลา 01:00 • การศึกษา
"น้ำท่วมใหญ่(ภัยพิบัติ) กับการเลิกจ้าง?"
...ท่านผู้อ่าน หากในสถานการณปัจจุบัน โรคภัยไข้เจ็บอย่าง COVID19 ถือเป็นเหตุสุดวิสัยอย่างหนึ่ง (เหตุซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น ไม่สามารถจัดการป้องกันได้) ปัญหาที่เกิดขึ้นแก่นายจ้างอย่างหนึ่งคือ "ยอดคำสั่งซื้อลดลง"
"ส่งผลกระทบกับรายได้ขององค์กร ทั่วทั้งประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้"
...นายจ้างในสภาวะกล้ำกลืน ก็คงต้องมองโลกในแง่ดี แต่การจ้างงานก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน เช่น
1.ภาวะเศรษฐกิจ จำต้องเลิกจ้างพนักงานบางส่วนที่ไม่จำเป็น
2.ภาวะเศรษฐกิจ จำต้องเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด
3.ภาวะเศรษฐกิจ จำต้องลดรายจ่ายด้านค่าจ้างพนักงาน
4.ภาวะเศรษฐกิจ จำต้องหาวิธีรักษาทีมงานสำคัญ กรณีกลับสู่ภาวะปกติ
5.ภาวะเศรษฐกิจ กับวิธีการอื่นๆ
...ส่วนตัวองค์กรที่ผมทำงานให้ในปัจจุบัน ก็เลือกใช้วิธีการข้อ 3และ4 เพื่อจำเป็นต้องรักษาทีมงานสำคัญเอาไว้ กรณีที่กลับสู่ภาวะปกติแล้ว จะได้มีท่ีมงานไว้ทำงานร่วมกัน แต่วิธีการที่จะทำให้พนักงานทุกคนยอมรับ "ไม่ใช่เรื่องง่าย" เพราะรายจ่ายของพนักงานกับรายรับขององค์กรไม่สัมพันธ์นั่นเอง
...นายจ้างบางแห่ง เลือกในสถานการณ์ภัยพิบัติ เขาก็ยอมรับตรงๆว่าผิดแผน ผิดนโยบาย และตั้งตัวไม่ทัน นายจ้างก็เสียสูญ ลูกจ้างอย่างเราในสถานการณ์แบบนี้ก็ควรจะช่วยเหลือนายจ้างของเราด้วย
...วิธีการอีกอย่างหนึ่งที่ผมเลือกใช้คือ "ลดเงินเดือนได้ แต่ต้องลดวันทำงานลงตามส่วน" เช่น ลดเงินเดือนกี่ส่วน ก็ลดวันทำงานลงเท่านั้น เป็นต้น
...สำหรับลูกจ้างวันหยุดที่ได้เพิ่มขึ้นมา หากได้ใช้เวลานั้นหารายได้เสริม ย่อมเป็นผลดีกับลูกจ้างครับ
...สถานการณ์ปัจจุบัน เป็นเรื่องของภัยพิบัติ เทียบได้กับกรณีน้ำท่วมใหญ่ ปี2554 จะยกมากล่าวในบทความนี้กันครับ
...คดีหนึ่ง ลูกจ้างทั้งสอง ทำงานตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ จัดหารถยนต์ส่งเข้าฝ่ายผลิต และอีกคนทำงานตำแหน่่งพนักงานฝ่ายผลิต เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 นายจ้างมีหนังสือเลิกจ้างลูกจ้างทั้งสอง เนื่องจาก "ไมมีงานให้ทำเพราะเกิดภัยพิบัติน้ำท่วม ส่งผลให้ขาดแคลนชิ้นส่วนในกระบวนการผลิตรถยนต์ของบริษัท อ." (เป็นบริษัทในเครือซึ่งผลิตชิ้นส่วนให้กิจการของนายจ้างอีกที)
...ศาลพิพากษาว่า การเลิกจ้างลูกจ้างทั้งสองและลูกจ้างอื่นๆรวม 35 คน เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่านายจ้างไม่ได้"เลิกจ้างเฉพาะลูกจ้างทั้งสอง" แต่ยังเลิกจ้างลูกจ้างอื่นด้วย ทั้งยังปรากฎข้อเท็จจริงว่านายจ้างประกอบกิจการดัดแปลงรถยนต์ยี่ห้อ ฟ. เป็นรถยนต์ป้องกันกระสุนและระเบิดส่งให้แก่ลูกค้าในประเทศตะวันออกกลาง...
...แต่บริษัท อ.ไม่สามารถผลิตรถยนต์นำส่งให้แก่นายจ้างได้ สืบเนื่องจากการขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตรถยนต์เพราะเหตุภัยพิบัติน้ำท่วมและบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่มีคำตอบว่าจะส่งมอบรถยนต์ให้แก่นายจ้างเมื่อใด
...นายจ้างจึงมีความจำเป็นต้องลดจำนวนลูกจ้างลง โดยพิจารณาผลการปฏิบัติงานของลูกจ้างในปีก่อนเลิกจ้าง ลูกจ้างคนแรกได้รับผลการประเมินต่ำกว่าเกณฑ์ และลูกจ้างคนที่สองในปี 2553 ขาดงานไป 1 วันและทำงานสาย 802 นาทีภายใน 29 ครั้ง ในปี 2554 ทำงานสาย 1,153 นาที ภายใน 48 ครั้ง ทั้งเคยถูกตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรกรณีหยุดงานโดยไม่แจ้ง...
...จึงมีเหตุอันสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างลูกจ้างทั้งสองได้ โดยไม่เป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรม (นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย)
"จากฎีกาดังกล่าว นายจ้างต้องไม่เลือกปฏิบัติในการเลิกจ้าง และเหตุผลที่นำมาลดอัตรากำลังคน ต้องเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจริง ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ย่อมทำให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ในเหตุภัยพิบัติได้ (เหตุการณ์นี้สามารถนำไปเทียบเคียงในสถานการณ์โรค COVID19 ได้ด้วย"
คำพิพากษาฎีกาที่ 6720-6721/2560
"...ผู้เขียนเขียนบทความนี้ ให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันการโดนเอาเปรียบจากสังคมแห่งแรงงาน..."
"...หากอยากให้กำลังใจผู้เขียน ช่วยกดติดตาม กดไลค์ หรือแชร์แก่ผู้อื่นเป็นวิทยาทาน ฯลฯ เพื่อจะได้สร้างสรรค์งานเขียนเช่นนี้ต่อไปครับ..."
โฆษณา