29 มิ.ย. 2020 เวลา 06:30 • การศึกษา
หลังโควิด-19 'ทักษะ-อาชีพไหน?' รอด
การที่เศรษฐกิจไทยหดตัวหรือติดลบไม่น่าจะต่ำกว่า 8% ตำแหน่งงานใหม่ๆไม่มีการขยาย จำนวนคนว่างงานตลาดแรงงานในระบบอาจเพิ่มขึ้นไปไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน
ฉะนั้นโอกาสที่นักศึกษาจบใหม่จะสามารถหางานได้จึงน้อยลง อาจจะมีโอกาสหางานได้ประมาณ 40-50 %หากเป็นสาขาที่ยังขาดแคลนก็น่าจะยังมีงานทำอยู่ ยิ่งเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 สะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงอัตราคนว่างงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
หลังโควิด-19 'ทักษะ-อาชีพไหน?' รอด
สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่งปี 2563 ระบุอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น1.03% มีผู้ว่างงานเกือบ 4 แสนคน และคาดว่าในปีนี้มีแรงงานที่เสี่ยงถูกเลิกจ้าง 8.4 ล้านคน ขณะที่เด็กจบใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน 5.2 แสนคนอาจไม่มีงานทำ โดยระหว่างเดือน ม.ค.-มี.ค. ผู้มีงานทำมีจำนวน 37.4 ล้านคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.7% เป็นผลมาจากการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมที่ลดลงเนื่องจากปัญหาภัยแล้งที่มีความรุนแรงและต่อเนื่องมาตั้งแต่กลางปี 2562
สาเหตุที่บัณฑิตใหม่จะตกงาน
ทั้งนี้ ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ต่อแรงงาน เห็นผลชัดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยคาดว่าปี 2563 อัตราการว่างงานจะอยู่ในช่วง 3-4% หรือตลอดทั้งปีมีผู้ว่างงานไม่เกิน 2 ล้านคน ขณะที่งานวิจัยของฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและกลุยทธ์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร หรือ KKP Research ระบุว่าประเทศไทยจะมีการเลิกจ้างงานหรือพักงานโดยไม่มีรายได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 4.9 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 13.2% ของตลาดแรงงานไทย
โดยช่วงกลางปีนี้จะมีนักศึกษาจบใหม่ที่พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานราว 340,000 คน แต่ด้วยวิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทำให้บัณฑิตจบใหม่เพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่หางานทำตามความเหมาะกับระดับทักษะได้ ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่ศึกษามาในสายวิชาชีพหรือเทคโนโลยีที่ เพราะยังเป็นความต้องการของหลายภาคธุรกิจ โดยเฉพาะภาคธุรกิจสารสนเทศและการสื่อสารที่ยังมีการลงทุนต่อเนื่อง
ส่วนบัณฑิตจบใหม่สาขาอื่นๆ ที่ผลิตออกมาจำนวนมากนั้นอาจจำเป็นต้องเลือกทำงานต่ำกว่าระดับหรือตัดสินใจไม่เข้าสู่ตลาดแรงงาน “อนุสรณ์ ธรรมใจ" อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต อธิบายว่าภาพรวมระบบการศึกษาไทยผลิตนักศึกษาจบปริญญาตรีมากเกินไปโดยเฉพาะสายสังคมศาสตร์บางสาขา ในขณะที่ผลิตบัณฑิตสาขาด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี รวมทั้งสาขาวิชาชีพทางด้านช่างและนักเทคนิคต่างๆที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมน้อยเกินไปเป็นผลให้คนรุ่นใหม่ตกงานมากขึ้น
2
ขณะที่การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีโดยเฉพาะ Disruptive Technology ส่งผลให้ภาคการผลิตเปลี่ยนแปลงไป รูปแบบการทำธุรกิจและประกอบกิจการไม่เหมือนเดิม พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ตลาดแรงงานต้องการคนที่มีทักษะใหม่ๆ สอดคล้องกับลักษณะงานที่เปลี่ยนไป แต่หลักสูตรและคุณภาพการศึกษาปรับตามไม่ทัน จึงทำให้นักศึกษา จบใหม่บางส่วนหางานยาก หรือ ได้ค่าตอบแทนไม่สูงเพราะคุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาดแรงงาน
นอกจากนั้น งานวิจัยขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) คาดการณ์ว่า ในสองทศวรรษข้างหน้า ตำแหน่งงานและการจ้างงานในไทยไม่ต่ำกว่า 44% (กว่า 17 ล้านตำแหน่ง) มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่โดยระบบอัตโนมัติ โดยกลุ่มคนงานที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ พนักงานขายตามร้านหรือพนักงานบริการตามเครือข่ายสาขา พนักงานบริการอาหาร ภาคเกษตรกรรม แรงงานทักษะต่ำที่ทำงานซ้ำๆ คนงานโดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ เสื้อผ้าและรองเท้าอาจได้รับผลกระทบสูงถึง 70-80%
1
“เมื่อมองศักยภาพของเด็กไทย บัณฑิตจบใหม่ต้องยอมรับว่าคุณภาพ ทักษะ ความรู้ความสามารถ รวมทั้งทัศนคติอาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้าง ตลาดแรงงานหดตัวในหลายธุรกิจอุตสาหกรรม และหลายสาขาวิชาชีพ เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกอัตราขยายต่ำสุดในรอบหลายทศวรรษ"รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยฯ ม.รังสิต กล่าว
สายอาชีพ ธุรกิจที่ต้องการกำลังคน
โฆษณา