29 มิ.ย. 2020 เวลา 10:00 • ธุรกิจ
สงครามหน้ากากของแบรนด์ดัง
เป้าหมายที่มากกว่ายอดขาย
หลังจากยูนิโคล่สร้างความฮือฮาประกาศขายหน้ากากถ้าแบบรียูสซึ่งใช้วัสดุแบบเดียวกับผลิตภัณฑ์สุดฮิตอย่าง AIRism ซึ่งใช้ใน Product underwear ที่มีคุณสมบัติเด่นด้านความแห้งและเย็นของตัวผ้า
เพียงประกาศออกไปก็เกิดปรากฏการณ์ลูกค้าต่อแถวยาวเหยียดหน้าร้าน Uniqlo หลายสาขาในโตเกียวเพื่อรอคิวซื้อหน้ากากสุดฮิตดังกล่าว
ยูนิโคล่ออนไลน์กล่าวว่า Product หน้ากากของพวกเขาหมดสต๊อกตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา
ราคาของหน้ากาก Uniqlo ที่วางขายในญี่ปุ่นก็คือ ประมาณ 9 ดอลล่าร์เทียบเงินไทยประมาณ 280 บาทต่อ 1 แพ็คที่ประกอบด้วยหน้ากาก 3 ชิ้น
นี่คือกระแสที่แบรนด์ดังระดับโลกหลายๆแบรนด์
หันมากระโจนเข้าสู่ตลาดหน้ากากผ้าแบบรียูส
ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ Mizuno ที่ออกหน้ากากอนามัยสุดล้ำผลิตจากผ้าที่มีคุณสมบัตินุ่มและยืดเป็นพิเศษชนิดเดียวกับที่ใช้ทำชุดว่ายน้ำ
ตามมาด้วยแบรนด์ Yonex ที่ใช้วัสดุที่มีส่วนผสมสารให้ความหวานอย่าง xylitol กับคุณสมบัติเย็นแถมป้องกันเหงื่อได้อีกด้วย ราคาอยู่ที่แพ็คละ 3,696 เยนโดยหนึ่งแพ็คมีจำนวนสี่ชิ้น ด้านแบรนด์ Muji ก็ออกมาขายหน้ากากผ้า organic cottonในราคาคู่ละ 999 เยน(ประมาณ 290 บาท)
ส่วนแบรนด์ระดับโลกอย่าง Under Armour ก็กระโดดเข้ามาร่วมวงกับตลาดหน้ากากอนามัยของเหล่าสินค้าแบรนด์ดังด้วย โดยมาแบบเน้นตัวตนของแบรนด์คือการออกกำลังกาย เป็นที่ทราบกันว่าการออกกำลังกายโดยการสวมหน้ากากเป็นข้อจำกัดและสร้างอันตรายให้กับผู้สวมใส่ได้ แบรนด์ Under Armour จึงสร้างหน้ากากที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมสำหรับผู้รักการออกกำลังกายที่รอคอย หน้ากากอนามัยที่พวกเขาสามารถสวมใส่ได้โดยไม่ต้องกังวล
มาพร้อมกับวัสดุที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี ทรงของหน้ากากที่โค้งรับกับแนวสันจมูกไม่หลุดเลื่อนเวลาออกกำลังกายและเคลื่อนไหว โดยได้รับการตอบรับอย่างดีจากบรรดาผู้ที่ชื่นชอบในแบรนด์อยู่แล้ว และกลุ่มคนที่อยากออกกำลังกายแต่ยังห่วงสุขภาพ สนนราคาหน้ากากของแบรนด์ Under Armour ที่วางขายในสหรัฐอเมริกาคือ 28 ดอลล่าร์ซึ่งทำยอดจองถล่มทลายหมดเกลี้ยง 30,000 ชิ้นภายใน 1 ชั่วโมง
องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้เคยออกมาประกาศในช่วงแรกว่าการใส่หน้ากากอนามัยสำหรับผู้ที่ไม่ได้ป่วยนั้นไม่มีประโยชน์ แต่หลังจากนั้นก็ได้มากลับลำออกมาประกาศว่าพวกเขาแนะนำให้ใส่หน้ากากในกรณีที่ไม่สามารถจะทำ Social distancing ได้
1
คาดว่าตลาดหน้ากากอนามัยจะเติบโตมากยิ่งขึ้นในช่วงฤดูร้อนเมื่อคนต้องการหน้ากากซึ่งออกแบบมาพิเศษที่สามารถสวมใส่ได้แบบสบายๆท่ามกลางความร้อนอบอ้าว
นักวิเคราะห์ทางการตลาดออกมาให้ความเห็นว่าการตื่นตัวของแบรนด์ระดับโลกในการผลิตหน้ากากอนามัยน่าจะไม่ได้เน้นที่ยอดขายมากนัก
ยกตัวอย่างแบรนด์ Uniqlo ที่มียอดขายต่อปีมหาศาลถ้าคิดสัดส่วนยอดขายหน้ากากอนามัยอาจจะเป็นเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายรวมทั้งปี
แต่ผลพลอยได้นอกจากนั้นก็คือ การกระตุ้นให้ลูกค้าที่มีความ royalty กับแบรนด์ได้กลับมาจับจ่ายใช้สอยในช็อปของแบรนด์ดังต่างๆ หลังจากที่กำลังซื้อหดหายในช่วงการระบาดของ covid-19
และแน่นอนผู้ซื้อย่อมคาดหวังหน้ากากที่เป็นสินค้าแบรนด์เนมว่าจะมีคุณภาพ นี่จึงเป็นความท้าทายของบรรดาแบรนด์ต่างๆที่เริ่มผลิตหน้ากากอนามัยออกมาขายว่าจะตอบสนองความต้องการและสร้างคุณภาพให้กับผู้บริโภคพึงพอใจได้หรือไม่
และนอกจากนั้นความมี Social image ในการดูแลสุขภาพเป็นห่วงเป็นใยในตัวลูกค้าก็เป็นอีกหนึ่ง
ภาพลักษณ์ที่แบรนด์เหล่านี้มองว่าสำคัญกว่ายอดขาย ในขณะที่มุมมองของผู้บริโภคไม่ได้มองว่าหน้ากากคือสินค้าพวกเขากลับมองว่านี่คือสิ่งสำคัญที่ต้องมีในชีวิต ในเวลาที่หลายๆประเทศออกมาตรการควบคุมกำหนดให้ประชาชนใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกนอกบ้านไม่ว่าจะเป็นที่เวียดนาม,อินโดนีเซีย หรือสิงคโปร์ที่มีค่าปรับสำหรับคนที่ไม่ใส่หน้ากากอนามัยในสถานที่สาธารณะเป็นเงินถึง 300 ดอลล่าร์สิงคโปร์(ประมาณ 6,600 บาท)
1
ในช่วงเวลาที่ยังควบคุมการระบาดไม่ได้เช่นนี้เราคงเห็นแบรนด์ดังๆระดับโลกหลายแบรนด์เริ่มผลิตหน้ากากอนามัยออกมา
เพื่อเป็นการ Connect กับลูกค้าที่นับวันพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยจะเปลี่ยนไป
กัปตันหมี
Ref :
โฆษณา