29 มิ.ย. 2020 เวลา 08:39 • ประวัติศาสตร์
หยุดเสนอข่าว อาชญากรรมดีไหม?
ทุกวันนี้เรามักจะเห็นข่าวมากมายทางทีวีไม่ก็ใน social media มากมาย และหนีไม่พ้นข่าวอาชญากรรมดังๆที่ชวนละเหี่ยใจ
ก่อนอื่นผู้เขียนต้องขออภัยทุกท่านถ้าบทความนี้ไปกระทบอาชีพหรือนโยบายของท่านทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เสนอข่าว อาชญากรรม ปล้นจี้ฆ่า ข่มขืน ลามกอนาจาร เพราะการเสนอเรื่องราวเหล่านี้ล้วนเป็นการยั่วยุให้เยาวชนใจแตก เลียนแบบถูกซึมซับ (absorb) โดยไม่รู้ตัวเพราะมนุษย์มีพฤติกรรมการเลียนแบบติดตัวตั้งแต่เกิด
ดังนั้นจะดีกว่าไหม? ถ้าพวกข่าวเหล่านี้จะมีการระงับหรือ sensor ให้เหมาะสม จริงๆแล้ว คดีอาชญากรรมทั้งหลายควรถือเป็นความลับของราชการตำรวจสันติบาลหรือเจ้าของคดีคือตำรวจท้องที่เพื่อสืบสวนสอบสวนโดยตรงเท่านั้นไม่สมควรนำเสนอในสื่อต่างๆ
ยกตัวอย่างง่ายๆ เคส #กราดยิงโคราช ที่มีการเผยภาพสด ทำให้คนร้ายรู้ตำแหน่งของตำรวจที่อยู่ในที่สว่างแต่คนร้ายอยู่ในที่มืด ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ตกอยู่ในความเสี่ยงมากขึ้น ทั้งยังเป็นการให้ตวามสำคัญกับอาชญากรดังกล่าว เมื่อรู้ตัวคนร้ายควรเปิดเผยใบหน้าคนร้ายมิใช่ปิดหน้าปิดตาไว้ สังคมจะได้เป็นหูเป็นตาให้ตำรวจและแจ้งเบาะแสให้ตำรวจทันที (ตำรวจไม่ควรเปิดเผยชื่อที่อยู่ของพลเมืองดีเพื่อความปลอดภัยของพลเมืองดีและครอบครัว) ตำรวจก็จะได้รับความร่วมมือจากพลเมืองดีท่านอื่นๆอีกต่อๆไป ทางจิตวิทยาอาจเป็นมีดสองคมส่งผลให้เกิดความภูมิใจรึเป็นจุดสนใจของสังคมได้ง่าย แค่ทำผิดก็ดังเหมือนพลุแตกเพียงข้ามคืน ส่งผลให้มีพฤติกรรมการเลียนแบบหรือฆาตกรต่อเนื่อง เรื่องละเอียดอ่อนเช่นนี้อาจส่งผลระยะยาวต่อสังคมไทยอย่างแน่นอน...
แล้วเราจะแก้ไขได้อย่างไรจากเรื่องนี้?
1. เปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอข่าวโดยลดความรุนแรงไม่ชี้นำก่อเหตุร้ายในพฤติกรรมการเลียนแบบได้ สื่อต้องรับผิดชอบการนำเสนอข่าวทุกเหตุการณ์สำคัญๆที่ชอบพาดหัวข่าวอาชญากรรมครั้งใหญ่ที่มีการกราดยิงเหยื่ออย่างเลือดเย็น จิตสำนึกของนักข่าวจากปลายนิ้วของท่านที่จิ้มลงสมาร์ทโฟน หรือกล้องถ่ายรูปนั้นส่งผลกระทบที่ตามมาเหมือนไฟไหม้ฟางอาจลุกลามใหญ่โตได้ในที่สุด
2. ไม่นำเสนอเรื่องอาชญากรรม ภาพของผู้กระทำผิดและภาพของเหยื่อในสื่อต่างๆ เป็นการจูงใจให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบ สื่อต่างๆจึงต้องรายงานข่าวผ่านข่าวกรองของกรมตำรวจเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงหาเบาะแสผู้กระทำความผิดได้ฉับพลัน
3. ไม่สร้าง panic ความกดดันให้สังคมผ่านทางสื่อทุกรูปแบบ ไม่สัมภาษณ์คนในครอบครัวของเหยื่อทำให้ญาติพี่น้องต้องเศร้าสลดเสียใจอีก เพราะการสอบสวนข้อเท็จจริงเป็นหน้าที่ของตำรวจที่ต้องดำเนินตามกฎหมายไม่ใช่หน้าที่ของสื่อต่างๆแตสื่อสามารถร่วมเป็นพยานและแจ้งเบาะแสรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อจะได้จับกุมคนร้ายตัวจริงแทนที่จะมีแพะรับบาปในการสอบสวนเชิงลึกทั้งพยานบุคคลและพยานวัตถุ...
4. ผู้สื่อข่าวและประชาชนพลเมืองดีควรให้ความร่วมมือแจ้งรูปพรรณสัญฐานหรือหลักฐานที่บันทึกภาพเหตุการณ์ไว้ได้ที่รู้เห็นกับทางตำรวจชุดที่ได้รับมอบหมายในการสืบสวนคดีที่เกิดขึ้นจนกว่าจะได้ตัวผู้กระทำความผิดส่งฟ้องศาลเพื่อพิจารณาความผิดตามกฎหมาย (ตำรวจต้องถือเป็นความลับสุดยอดแม้มีรางวัลนำจับก็ไม่เปิดเผยชื่อนักข่าวและพลเมืองดี)
สื่อมีอิทธิพลต่อทัศนคติของคนที่ชอบเสพข่าว จึงควรนำเสนอข่าวสร้างสรรค์ประกายความคิดความอ่าน ความรักชาติศาสกษัตริย์ ส่งเสริมการศึกษา เกล็ดความรู้ ปัญหาเชาว์เพื่อประกายความคิดริเริ่มให้เยาวชน เรื่องความรู้การเกษตรแบบประยุกต์ การเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ หรืออาชีพต่างๆในยุค New Normal และหลัง Covid-19
แล้วคุณล่ะคิดว่าหยุดเสนอข่าว อาชญาการมดีไหม?
Philosophy: Behind the rich is crime.
ปรัชญา: เบื้องหลังแห่งความมั่งคั่งคืออาชญากร
By IOU
#แนวทาง #การแก้ปัญหา #อาชญากรรม
โฆษณา