1 ก.ค. 2020 เวลา 03:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
MARKETS & ECONOMY INSIGHT
"ตัวติดตามการล้มละลายในสหรัฐฯ ระบุว่าอุตสาหกรรมค้าปลีก และพลังงานกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่น่ากลัวและสำคัญอย่างมาก Royal Dutch Shell ปรับลดมูลค่าสินทรัพย์ลง 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่อัตราการว่างงานในยุโรปอาจสูงขึ้นมากหลังจากนี้"
"WHO กล่าวว่าการระบาดของ Coronavirus กำลังรุนแรงขึ้นทั่วโลก และสิ่งที่เลวร้ายที่สุดยังมาไม่ถึง"
Bloomberg รายงานว่าบริษัทค้าปลีกจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน กำลังยื่นล้มละลายต่อศาลเพื่อปกป้องทรัพย์สินในครึ่งแรกของปี 2020 ขณะเดียวกัน บริษัทในกลุ่มพลังงานก็มีการยื่นล้มละลายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 2016
มีถึง 75 บริษัทที่ยื่นล้มละลายโดยมีหนี้สินอย่างต่ำ 50 ล้านดอลลาร์ ในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นตัวเลขรายไตรมาสที่เลวร้ายที่สุดรองจากปี 2009 เลยทีเดียว นอกจากนี้พวกมันยังส่งสัญญาณว่าจะเป็นปัญหาต่อไปในระยะยาวอีกด้วย
ขณะเดียวกันพันธบัตรที่ออกโดยบริษัทเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นสินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้น
สำหรับกลุ่มผู้ค้าปลีก ในสัปดาห์ที่แล้วมี 3 แห่งที่ยื่นล้มละลายต่อศาลคือ
1. Grupo Famsa SAB de CV
2. CEC Entertainment Inc
3. GNC Holdings Inc.
ซึ่งทำให้โดยรวมแล้วตั้งแต่ต้นปี 2020 จนถึงปัจจุบันมีบริษัทค้าปลีกยื่นล้มละลายไปแล้ว 16 แห่ง โดยถือเป็นสถิติที่สูงที่สุดในรอบ 6 เดือนแรกของปี นับตั้งแต่ปี 2013
ในปัจจุบันภาคค้าปลีกยังคงอยู่ภายใต้ความกดดันทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมาตรการ Lockdowns และความกังวลด้านสุขภาพของผู้คนทำให้ Demand ทรุดตัวลงอย่างมาก
ทางฝั่งบริษัทด้านพลังงาน ดูเหมือนว่ากำลังเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากค้าปลีกเลยทีเดียว
ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีถึง 7 บริษัททางด้านก๊าชธรรมชาติและน้ำมันที่ยื่นล้มละลายต่อศาล ซึ่งถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2016 และที่น่าสนใจกว่าก็คือ 1 ในนั้นรวมถึง Chesapeake Energy Corp ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในตลาดน้ำมันสหรัฐฯ เลยทีเดียว
แน่นอนว่าการล้มละลายที่เกิดขึ้นนี้เพียงเป็นจุดเริ่มต้นเท่านั้น โดยในปัจจุบันก็มีบริษัททางด้านพลังงานกว่า 20 แห่งแล้วที่ยื่นล้มละลายต่อศาลในครึ่งแรกของปี 2020
ผู้ผลิตน้ำมันเกือบ 1 ใน 3 ของสหรัฐฯ กล่าวว่าพวกเขาเล็งเห็นราคาน้ำมันดิบ WTI Crude อยู่ที่ระดับ 35 $/บาร์เรล ไปจนถึงสิ้นปีนี้ จากเดิมคาดการณ์ไว้ว่าจะพุ่งขึ้นไปถึง 60 $/บาร์เรล
ขณะเดียวกัน จำนวนพันธบัตรและสินเชื้อด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้นเป็น 3.48 แสนล้านดอลลาร์ จากข้อมูล ณ วันที่ 26 มิ.ย. 2020 (เพิ่มขึ้นถึง 1.2% จากวันที่ 19 มิ.ย. 2020) แต่ก็ยังลดลงจาก 5.44 แสนล้านดอลลาร์เมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา
ปัจจุบันมีสินเชื่อด้อยคุณภาพจากบริษัทด้านพลังงานถึง 686 ชนิด จากผู้ออกกู้ 372 แห่ง และนอกจากนี้ยังมีบริษัทในอุตสาหกรรมภาคอื่น ๆ อีกมากมายที่อยู่ในภาวะหนี้สินท่วมตัวและเสี่ยงต่อการล้มละลาย (ตามตารางด้านล่าง)
อ้างอิงจากรายงานของ S&P Global เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2020 ระบุว่าตลาดน้ำมันทั่วโลกกำลังกังวลกับคลื่นการระบาดรอบที่ 2 โดยพวกเขามองเห็น Demand ที่เกิดขึ้นใหม่เพียง 4 ล้านบาร์เรล/วัน ไปจนถึงเดือนสิงหาคมของปี
แต่ปัญหาอยู่ในเดือนกันยายน ซึ่งปกติแล้วจะเป็นช่วง Low Season และอาจทำให้ Demand ที่เกิดขึ้นใหม่ลดลงเหลือเพียง 1 ล้านบาร์เรล/วันเท่านั้น
นั่นหมายความว่า เราอาจได้เห็นน้ำมันมีปริมาณเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อผู้ที่มั่นใจเกินไปว่าราคาน้ำมันจะพุ่งขึ้นไปสู่ 60 $/บาร์เรล ภายในสิ้นปีนี้
(ภาพด้านล่างคือสรุปปริมาณการเปลี่ยนแปลง Demand ทั่วโลก)
การฟื้นตัวของน้ำมันในระยะยาวนั้นขึ้นอยู่กับความเสถียรในการฟื้นตัวของพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Market Fundamentals) โดยดัชนีน้ำมันดิบ Brent ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานครอบคลุม 2 ใน 3 ของประเทศทั่วโลกกำลังซื้อขายกันอยู่ที่ระดับราว ๆ 40 $/บาร์เรล
S&P Global คาดการณ์เอาไว้ว่าดังชีดังกล่าวจะซื้อขายกันอยู่ในช่วงระหว่าง 35-45 $/บาร์เรลสำหรับระยะสั้น ขณะที่ Marco Dunand ผู้บริหารของบริษัท Mercuria บอกกับ S&P Global ว่า OPEC+ พยายามจะยืนพื้นฐานระดับราคาไว้ที่ 40 $/บาร์เรลเป็นอย่างต่ำ
"พวกเราเห็นความเป็นเอกฉันท์ระหว่างซาอุฯ, OPEC+, สหรัฐฯ และสมาชิกอื่น ๆ นอกกลุ่ม OPEC ที่พวกเขาจะร่วมมือกันรักษาระดับราคาขั้นต่ำไว้ที่ 40 $/บาร์เรล"
นอกจากนี้เขายังกล่าวอีกว่า ที่ระดับราคา 40 $/บาร์เรลนั้น ยังมีอีกหลายบริษัทที่ไม่สามารถทำกำไรได้เลยจากราคานี้ โดยระดับราคาขั้นต่ำควรจะเป็น 50 $/บาร์เรลขึ้นไป
ความเคลื่อนไหวสำคัญล่าสุดในตลาดน้ำมันคือบริษัท Royal Dutch Shell ประกาศปรับลดมูลค่าสินทรัพย์ของบริษัทลงถึง 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์ หลังจากบริษัทได้มีการทบทวนแนวโน้มราคาน้ำมันในระยะยาว
ในส่วนนี้ จะแบ่งเป็นการลดมูลค่าของก๊าชธรรมชาติลง 8-9 พันล้านดอลลาร์ และลดลง 4-6 พันล้านดอลลาร์สำหรับสินทรัพย์ต้นกระบวนการผลิต นอกจากนี้อีก 3-7 พันล้านดอลลาร์จะเป็นการลดปริมาณน้ำมันในโรงกลั่นลง
เรื่องนี้อาจสอดคล้องกับที่บริษัทประกาศว่าจะลดการผลิตก๊าชเรือนกระจกลงให้เหลือ 0 ภายในปี 2050
ทางฝั่ง BP PLC ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ด้านน้ำมันในอังกฤษกล่าวว่าพวกเขาเองก็จะปรับลดมูลค่าทรัพย์ของตัวเองลงในช่วงระหว่าง 1.3-1.75 หมื่นล้านดอลลาร์
สำหรับประเด็นของ Coronavirus นั้น ล่าสุด CEO ของบริษัทชั้นนำทั่วโลกมองว่าผลกระทบจะคงอยู่ไปจนถึงอย่างน้อยสิ้นปี 2021 ขณะที่ WHO ออกมาเตือนว่าการระบาดของ Coronavirus ทั่วโลกกำลังรุนแรงขึ้นกว่าเดิม และ "สิ่งที่เลวร้ายที่สุดยังมาไม่ถึง"
อ้างอิงจากรายงานล่าสุดของ Business Roundtable ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ระบุว่ากลุ่มการค้าชั้นนำของสหรัฐฯ อย่างเช่น Gerneral Motors, Apple และ Johnson & Johnson รวมถึงบริษัทขนาดใหญ่อีกหลายแห่ง ได้มีความเห็นตรงกันว่า
"ผลกระทบจากไวรัสจะทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถฟื้นตัวกลับไปสู่ระดับก่อนหน้านั้นได้ก่อนสิ้นปี 2021"
ปัจจุบันในหลายประเทศมีการระบาดพุ่งขึ้นสู่ระดับที่รุนแรงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งถือได้ว่ารุนแรงกว่าช่วงเริ่มเกิดการระบาดอย่างมาก โดยทั่วโลกในแต่ละวันจะมีผู้ติดเชื้อใหม่กว่า 150,000 คนในทุก ๆ วัน โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ซึ่งมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในสัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้นถึง 41% จากสัปดาห์ก่อน
(มหาศาลนะครับสถิติขนาดนี้ 10 วันก็ 1.5 ล้านคนแล้ว)
ส่วนภาพรวมทั่วโลกนั้น จากข้อมูลของมหาวิทยาลัย Johns Hopkins ระบุว่า มีผู้ติดเชื้อกว่า 10.1 ล้านคนทั่วโลก และเสียชีวิตไปแล้วกว่า 502,000 คนทั่วโลก และมากกว่า 23% ของผู้ป่วยรายใหม่ 189,077 คนในวันอาทิตย์มาจากสหรัฐฯ
มาถึงเศรษฐกิจทางฝั่งยุโรป ซึ่งหากจะพูดกันโดยมองที่ความเป็นจริงแล้วนั้น ดูเหมือนว่าสถานการณ์จะรุนแรงกว่าที่เห็นเป็นตัวเลขในปัจจุบันแย่ทีเดียว
อ้างอิงจากข้อมูลของ The Economist และผลงานวิจัยของ Allianz ซึ่งแสดงให้เห็นความจริงที่ว่า "จำนวนคนว่างงานในปัจจุบันนี้ ถือเป็นเพียงคลื่นลูกแรกของการปลดพนักงานอย่างถาวรครั้งใหญ่ที่กำลังจะตามมา"
งานวิจัยดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นว่ามีกว่า 9 ล้านคนที่ถูกจัดเป็น "Zombie Jobs" ซึ่งหมายถึงงานที่จ้างไว้โดยไม่เกิดประโยชน์ ไม่ได้ทำงาน แต่จำเป็นต้องจ้างไว้เพราะมาตรการของรัฐบาลที่สั่งไม่ให้บริษัทปลดพนักงานออกขณะที่รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล
The Economist กล่าวว่ามาตรเหล่านี้จะทำให้ในระยะสั้น ยุโรปดูดีกว่าอเมริกาซึ่งมีผู้ว่างงานแล้วกว่า 20 ล้านคน และ Unemployment Rate อยู่ที่ 13.3% (แต่ภายหลังกระทรวงแรงงานออกมาแจ้งว่าอัตราว่างงานจริง ๆ อาจสูงกว่า 16%)
บริษัทส่วนใหญ่ในยุโรปขณะนี้ รัฐบาลจะเป็นผู้จ่ายเงินเดือนให้แก่ลูกจ้างประมาณ 60-85% ของเงินเดือนปกติ และปรับลดชั่วโมงทำงานของพวกเขาลง แต่ในบริษัทบางแห่งก็สั่งพักงานโดยที่ไม่ได้อะไรเลย
ในอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี และสเปน พบว่ามาตรการของรัฐบาลกำลังครอบคลุมถึง 1 ใน 3 ของจำนวนแรงงานทั้งหมดภายในประเทศ โดยมีความหวังเดียวก็คือเศรษฐกิจจะสามารถได้อย่างรวดเร็ว และพวกเขาจะสามารถกลับไปหางานทำได้
(Figure 1 ด้านล่างนี้ สีน้ำเงินคือปริมาณ Zombie Jobs ในประเทศต่าง ๆ)
ประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องนี้ก็คือ มาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลในขณะนี้เป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งหากรัฐบาลจะขยายมาตรเหล่านี้ต่อไป ผลเสียจากการ Q.E. ที่จะเกิดขึ้นกับค่าเงินและเศรษฐกิจโลกก็อาจจะมากจนเกินเยียวยาด้วยนั่นเอง
จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมรัฐบาลไม่สามารถอุ้มบริษัทเหล่านี้ได้ตลอดไปนั่นเอง และเมื่อมาตรการคุ้มครองงานครั้งนี้สิ้นสุดลง การเลิกจ้างอย่างจริงจังก็จะเริ่มต้นขึ้น ซึ่งก็แน่นอนว่าหาก Zombie Job เหล่านี้ถูกนับเป็น Unemployment Rate เมื่อไหร่แล้วล่ะก็ ตัวเลขของมันจะพุ่งสูงขึ้นอย่างมากจนน่าตกใจเลยทีเดียว
Allianz ได้ทดลองคำนวณในกรณีดังกล่าว และพบว่า "อัตราการว่างงานในอนาคตของหลายประเทศในกลุ่ม EU อาจสูงกว่า 15%"
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดรัฐบาลฝรั่งเคสได้ประกาศถึงแผนการที่จะขยายระยะเวลาของมาตรช่วยเหลือเหล่านี้ออกไปอีกถึง 2 ปีหากจำเป็น ขณะที่รัฐบาลของประเทศอื่น ๆ ก็กำลังตระหนักถึงปัญหานี้ และกำลังหาทางแก้ไขอย่างจริงจัง
ปัจจุบัน รัฐบาลฝรั่งเคสได้จ่ายเงินให้แก่แรงงานเหล่านี้ไปแล้วถึง 6 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ Bloomberg ยังคงคาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานภายในประเทศจะขึ้นไปสูงสุดที่ 12.5% ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2021
Comment : จากข้อมูลทั้งหมดนี้ ก็อย่างที่ World Maker เคยย้ำไปหลายครั้งแล้วครับว่าสถานการณ์ทางฝั่งยุโรปนั้นดูเลวร้ายกว่าทางฝั่งเอเชียอย่างมาก และเกมการเมืองจากอิทธิพลอำนาจของจีนในปัจจุบันก็เข้มข้นเสียเหลือเกิน
ซึ่งการที่ยุโรปอยู่ในสภาพปางตายเช่นนี้ World Maker คาดว่าเรื่องสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ นั้น ยุโรปคงไม่เอาด้วยแน่นอนหากบานปลายขึ้นมา ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายก็รู้ดีว่าเศรษฐกิจของยุโรปนั้นมีความสัมพันธ์กับจีนไม่น้อยไปกว่าสหรัฐฯ เลย
ยกตัวอย่างคำพูดของประธานบริษัท Baldinini ซึ่งเป็นผู้ผลิตรองเท้ากีฬาชั้นนำของประเทศ ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1910 และยังมีศูนย์กลางโรงอยู่ที่ประเทศจีน กล่าวว่า
"ต้นทุนการผลิตในจีนนั้นต่ำกว่าในอิตาลีถึง 75% ฉันจึงไม่สามารถตัดพวกเขาออกไปและรื้อฟื้นสายการผลิตในอิตาลีได้ เพราะหากจะให้เป็นอย่างนั้น มันไม่มีทางอื่นเลยนอกจากรัฐบาลอิตาลีจะตัดภาษีและลดค่าแรงลงอย่างมหาศาล"
ปัจจุบัน ประเทศจีนได้กลายเป็นฐานการผลิต/ส่งออกชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ให้แก่บริษัทชั้นนำในเยอรมันถึง 40% จากทั่วโลก และยังเป็นฐานการผลิต/ส่งออกส่วนผสมของยารักษาโรคอีกประมาณ 40% ของทั่วโลกอีกด้วย
ภาพด้านล่างแสดงให้เห็นว่าบริษัทกว่า 80% ในยุโรปคิดว่าพวกเขาไม่สามารถตัดจีนออกไปจาก Supply Chains ได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่มากนะครับ เพราะมันกำลังบ่งบอกเราว่า "อำนาจทางการค้าของจีนกำลังมั่นคงเพียงใด"
ยิ่งถ้ามีการเปิดตัว Digital Yuan อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะลดอำนาจคว่ำบาตร และอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจของอเมริกาลงได้อย่างมหาศาล ก็ลองคิดภาพดูครับว่าค่าเงินดอลลาร์จะเป็นอย่างไรต่อไป
การกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม และการติชมในเชิงสร้างสรรค์ของคุณ เป็นกำลังใจให้เราและเหล่าอาชีพนักเขียนทุกคนในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ขอเชิญทุกท่านร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้ที่ดีด้วยกันกับเรา
World Maker
สามารถติดตาม World Maker ผ่านทาง Facebook ได้แล้ววันนี้ที่
โฆษณา