2 ก.ค. 2020 เวลา 15:19 • การศึกษา
การเตรียมข้อมูลก่อนเริ่มต้นวางแผนการเงิน
การวางแผนการเงินเป็นเรื่องของการคาดการณ์อนาคต ผ่านตัวเลขและสมมติฐานทางการเงิน
หากเรามีการเตรียมข้อมูลที่มีความถูกต้องและแม่นยำมากเพียงใด แผนการเงินที่ทำขึ้นย่อมมีโอกาสที่จะนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งข้อมูลที่เราควรเตรียมไว้ มีดังนี้
1. งบดุลส่วนบุคคล
เป็นเหมือนการเช็คสถานะทางการเงินของเรา ณ ปัจจุบัน ว่าเป็นอย่างไร มีทรัพย์สิน หนี้สิน ความมั่งคั่งมากน้อยแค่ไหน และเราควรจัดการกับทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่อย่างไร รวมทั้งการนำทรัพย์สินปัจจุบันไปตั้งเป็นเป้าหมายการเงินด้วย
สมการ ความมั่งคั่งสุทธิ = สินทรัพย์ - หนี้สิน
หากเรามีสถานะทางการเงินที่ดี ส่วนมากสินทรัพย์จะมากกว่าหนี้สินเสมอ
ตัวอย่างงบดุลส่วนบุคคล
2. งบกระแสเงินสด
เป็นเหมือนงบที่แสดงถึงที่มา ที่ไปของเงินที่เราหามาได้ ว่าเรามีการบริหารจัดการอย่างไรบ้าง ข้อมูลของงบกระแสเงินสดจะประกอบด้วยข้อมูลหลัก คือ รายรับ และรายจ่าย
โดยมีสมการดังนี้ รายรับ - รายจ่าย = เงินสดคงเหลือสุทธิ
2.1 รายรับ
คือที่มาของรายได้เรา ว่าเรามีรายได้จากอะไร ได้รับแต่ละเดือน แต่ละปีประมาณไหน
ซึ่งรายได้นี้ในแต่ละปี เราจะต้องนำไปประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกต่อหนึ่งด้วย
2.2 รายจ่าย
รายจ่ายจะแยกเป็นรายจ่ายคงที่ และรายจ่ายผันแปร โดยรายจ่ายคงที่ คือรายจ่ายที่เราต้องจ่ายเป็นประจำทุกๆเดือน ex. ค่าผ่อนคอนโด ปนะกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ส่วนรายจ่ายผันแปร คือ รายจ่ายที่มีโอาสเปลี่ยนแปลงได้ บางเดือนมาก บางเดือนอาจะน้อย เช่น ค่าอาหาร ค่าโทรศัพท์ ค่าช้อปปิ้ง
ตัวอย่างงบกระแสเงินสด
ซึ่งในการรวบรวมข้อมูลของรายจ่าย ปัญหาที่พบเจอบ่อยๆ จะเป็นรายจ่ายผันแปร บางคนอาจจะไม่ได้มีการบันทึกรายรับจ่ายเป็นประจำ ทำให้ประมาณการยาก
Trick : เราอาจกำหนดวงเงินสำหรับการใช้จ่ายแต่ละรายการ หรือลองทำรายรับจ่ายซัก 1- 2 เดือน ก็จะทำให้เราพอรู้ตัวเลขแบบคร่าว
การตรวจสอบว่าตัวเลขรายรับ - จ่าย ที่เราประมาณการขึ้นนั้น ว่ามีความสมเหตุสมผลหรือไม่ อาจดูในส่วนของเงินออม หากรายรับ หักออกด้วยรายจ่าย แล้วเงินออมที่เหลือใกล้เคียงกับการออมในอดีตที่ผ่านมา แปลว่าข้อมูลที่เราประมาณการขึ้นใกล้เคียงความเป็นจริง
และกระแสเงินสดส่วนที่เหลือจากการใช้จ่ายแต่ละเดือนของเรา ส่วนมากจะถูกนำไปไว้ในบัญชีออมทรัพย์ ลงทุน หรือซื้อของที่เราอยากจะได้
โดยหากเรามีการบริหารจัดการรายรับ - จ่ายได้ดี เป็นคนที่เก็บก่อนใช้ ในอนาคตสินทรัพย์ของเราจะค่อยเพิ่มมากขึ้น
Trick 1 : การประมาณการรายรับ - จ่าย ควรประมาณการอนาคต ประมาณ 1 ปี โดยใช้ข้อมูลจากอดีต เพื่อทำให้แผนการเงินที่ได้เป็นปัจจุบัน และสามารถนำไปใช้ได้ทันที
Trick 2 : รายรับ - จ่าย อาจไม่เท่ากันทุกเดือน บางเดือนอาจะมีรายรับมากกว่าปกติ เช่น ได้เงินโบนัส หรือมีรายจ่ายมากกว่าปกติ เช่น ต้องซื้อของจำเป็น การประเมินงบกระแสเงินสดลวงหน้าแบบรายเดือน จะช่วยให้แผนการเงินที่ได้แม่นยำขึ้น
Trick 3 : เพิ่มสมมติฐาน การเพิ่มขึ้นของเงินเดือน และเงินเฟ้อของค่าใช้จ่าย จะทำให้แผนการเงินระยะยาวคลาดเคลื่อนน้อยลง
สุดท้ายนี้ลองประเมินกันดูนะครับ อาจจะใช้เวลาซักนิดนึง แต่เป็นประโยชน์แน่นอนครับ
เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับ
Ref. 1 : หนังสือวางแผนการเงินส่วนบุคคล ชุดวิชาที่ 1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา