22 ก.ค. 2020 เวลา 00:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Gen Y หรือ Millennials ยุคที่เราโชคร้ายที่สุดในบรรดายุคทั้งหมด โดย ทิวัตถ์ ชุติภัทร์
ผมเป็นหนึ่งในเจนวายที่เกิดมาในยุคของความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ อินเตอร์เน็ท และ โซเชี่ยลมีเดีย ถึงแม้ว่าปีที่ผมเกิดจะเกือบที่จะบอกว่าผมเป็น Gen Z (ผมเกิดในปีค.ศ. 1993) ตั้งแต่ผมเกิดขึ้นมาและรุ่นที่ผมเกิดขึ้นมาได้มีการแข่งขันอย่างสูงมากเป็นประวัติการณ์มีการแข่งขันสอบเข้ามหาลัยอย่างหนักหน่วง และ มีการแข่งขันกันหางานอย่างมากมาย ผมรู้จักคำว่าเครียดครั้งแรกตั้งแต่ตอนอายุ 13 ตอนที่ผมอยู่ที่เมืองจีน เพราะว่าตอนนั้นเองผมเรียนอยู่ที่นั่นเพียงคนเดียว และด้วยความกดดันที่จะทำเกรดให้ดีๆอย่างที่พ่อแม่หวังไว้ ทำให้ผมต้องตั้งใจอ่านหนังสืออย่างเข้มข้น ถึงแม้ว่าผมจะปรสบความสำเร็จในเทอมๆนั้น แต่ความเครียดที่ก่อเกิดขึ้นตั้งแต่อายุ 13 ไม่ได้ลดละไปไหน ซึ่งพอผมเติบโตขึ้นมาจนเริ่มต้นหาเงินเองได้มันก็มีคำถามเกิดขึ้นในใจคือ แล้วจริงๆแล้วเราในฐานะเจนวายมีอะไรเพรียบพร้อมจริงหรอ พ่อแม่ของเราคอยบอกเสมอว่ารุ่นพวกเราอะโชคดีแล้ว รถไฟฟ้าก็มีใช้ ทางด่วนก็มี โทรศัพท์มือถือก็มี อินเตอร์เน็ทก็มี น่าจะเติบโตในการงานและในชีวิตได้อย่างรวดเร็ว แต่ความเป็นจริงแล้วไม่ใช่อย่างที่คิดครับ
1
ปกของ Time Magzine เมื่อตอนปี 2013
เมื่อไม่นานมานี้ประมาณช่วงมีนาคมผมมีโอกาสได้อ่านหนังสือที่มีชื่อว่า Why The Rich are Getting Richer? หรือภาษาไทยคือ ทำไมคนรวยยิ่งรวยขึ้น ของคุณโรเบิร์ต คิโยซากิ ซึ่งในนั้นเขียนเรื่องราวของความเอาเปรียบของสังคมที่มีในทุกย่อมหญ้าตั้งแต่ และในบทสุดท้ายหรือบทสรุปของหนังสือเล่มนี้ คุณโรเบิร์ตเขียนประโยคแรกในบทสุดท้ายว่า “คนยุคเบบี้บูมนั้นเป็นเจเนเรชั่นที่โชคดีที่สุดในประวัติศาสตร์” ซึ่งก่อนหน้าที่ผมอ่านหนังสือเล่มนี้หรือถ้าผมไปถามคุณตาผม หรือ พ่อของผม เขาจะต้องตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่จริง เขาไม่ได้มองว่าคนยุคเบบี้บูม หรือ คนเจนเอ็กซ์นั้นเป็นรุ่นที่โชคดี แต่พอผมได้อ่านหนังสือเล่มนี้ก็ต้องตอบว่า “จริงครับ” และนอกจากบทความนี้ได้มีบทความของ The Washington Post สำนักข่าวที่มีเจ้าของเป็น Jeff Bezos หรือว่าชายที่ร่ำรวยที่สุดในโลก และ เป็นเจ้าของเว็บไซต์ชื่อดังอย่าง อเมซอน ได้เขียนบทความว่า คนในยุคเจนวาย หรือ Millenials (มิลเลนเนียล) เป็นคนในยุคที่โชคร้ายที่สุดในทุกยุคที่ผ่านมา
2
หนังสือของโรเบิร์ต คิโยซากิ
เขาให้เหตุการณ์ไว้แบบนี้ครับ เมื่อยุคเจนวายเข้าในวัยทำงานก็คือคนที่มีอายุตั้งแต่ 23 ถึง 39 ปีจะต้องเจอกับเรื่องราวที่เศรษฐกิจเติบโตช้าลง รายได้น้อยลง และ เป็นเจ้าของสินทรัพย์ได้ยากขึ้นเมื่อเทียบกับคนในยุคก่อนๆอย่างเช่น เบบี้บูมเมอร์ ที่มีการเติบโตของเศรษฐกิจในยุคของพวกเขาประมาณ 40% และ เจนเอ็กซ์ที่มีการเติบโตอยู่ที่ประมาณ 30% ในขณะที่เจนวายมีการเติบโตอยู่เพียงแค่ 15% เมื่อเทียบกับคนรุ่นก่อนๆ และยิ่งผลพวงจากไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมาทำให้คนตกงานทั่วโลกมหาศาลอย่างในประเทศไทยตอนนี้มากถึง 8.3 ล้านคนซึ่งมากกว่า 10% ของจำนวนประชากรทั้งหมดทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจต้องหยุดชะงักเอาดื้อๆ และ นอกจากนั้นเองการที่แบงค์ชาติคาดการณ์จีดีพีของประเทศไทยในตอนนี้นั้นทำให้เรายิ่งตามหลังประเทศเพื่อนบ้านเป็นอย่างมาก
กราฟเปรียบเทียบการเติบโตของเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับยุคต่างๆในเวลา 300 ปี
นอกจากนั้นเองตัวเลขของคนที่ตกงานในประเทศไทยที่มากถึง 8.3 ล้านคนนั้น ก็มีคนที่เป็นเจนวายอยู่ไม่น้อย และคนที่โดนผลกระทบมากสุดคือคนเจนซี (Gen Z) ที่พึ่งจะจบมาใหม่ๆจากมหาวิทยาลัย นอกจากนั้นเองถ้าเราลองจินตนการภาพของคนที่ตอนนี้อายุประมาณ 39 ปี เขาน่าจะเข้าทำงานตอนประมาณปี 2003 เขาต้องเจอกับผลพวงจากวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยหรือ Set Index ลงไปเหลือประมาณ 300 กว่าจุด แล้วตลาดหุ้นก็ฟื้นขึ้นมาได้ หลังจากนั้นเขาต้องเจอกับทั้งวิกฤติการณ์แฮมเบอร์เกอร์ ตอนปี 2008 ที่กระทบตลาดหุ้นไทยค่อนข้างหนักอยู่พอสมควรจนลงไปเหลือประมาณ 400 จุด หลังจากนั้นอีก 12 ปีหลังจากนั้นก็เจอไวรัสโควิด-19 ระบาดอีก ทำให้เขาต้องเจอวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจมากถึง 3 ครั้งใน 20 ปี ซึ่งโดยปกติแล้วเจนอื่นๆจะเจออย่างมากก็ 1 ครั้ง ถึง 2 ครั้งมากสุด ไม่มีเจนไหนๆที่โดนถึง 3 ครั้งมาก่อน นี่คือ 1 ในสาเหตุที่ทำไมเจนวายอย่างพวกเราถึงสร้างตัวได้ช้าเมื่อเทียบกับคนในยุคก่อนๆ
1
Set Index ประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา
พวกเรามีลูกกันช้ามากขึ้น แต่งง่านกันช้าขึ้นและเลี้ยงดูตัวเองได้ยากขึ้นเมื่อเทียบกับคนรุ่นก่อนๆ นอกจากนั้นเองปัญหาอย่างเรื่องการเปรียบเทียบในสังคม ภาวะซึมเศร้า หรือความเครียดยิ่งทวีคูณมากขึ้นกว่าเก่าเนื่องจากการเข้ามาของโซเชี่ยล มีเดีย และสื่อต่างๆ ซึ่งสิ่งนี้เองได้ทำให้คนรู้สึกหมั่นไส้ โกรธแค้น และ ซึมเศร้ามากขึ้นกว่าเดิม พวกเรากำลังอยู่ในสถานการณ์ที่โดนสังคมเปรียบเทียบอยู่ตลอดเวลาอย่างเช่น เด็กคนนุ้นหาเงินจากการเป็น Youtuber ได้ตั้งแต่อายุ 7 ขวบเป็นต้น สิ่งที่สำคัญที่สุดตอนนี้และในอนาคต 5-10 ปีข้างหน้าคือการย้อนมามองกลับมาที่ตัวเองและจงมีสติเข้าไว้ครับ
ขอบคุณรูปภาพ Time Magazine, Se-ed, The Washington Post, และ Trading View ครับ
โฆษณา