3 ก.ค. 2020 เวลา 14:14 • ประวัติศาสตร์
“งอบ” มิตรของสิ่งแวดล้อม… ภูมิปัญญาของชาวสยาม
“Ngop” Eco - friendly … The wisdom of Siamese
“งอบ” ถือได้ว่าเป็นประดิษฐกรรมที่ชี้ให้เราได้เห็นชัดว่า บรรพบุรุษของพวกเราชาวสยามนั้นมีความเข้าใจในธรรมชาติเป็นอย่างมากเพียงใดเจ้าค่ะ
ซึ่ง "งอบ" ได้ถูกออกแบบและพัฒนามาให้มีลักษณะเป็นหมวกสานทรงคล้ายกระจาดคว่ำ ทำจากวัสดุธรรมชาติอย่างตอกไม้ไผ่สานเป็นโครง แล้วนำกรุด้านนอกด้วยใบลาน บริเวณตรงกลางสานนั้นทำเป็นลักษณะคล้ายรังกลม ๆ สำหรับสวมหัว
ซึ่งในส่วนนี้เองเจ้าค่ะที่เป็นความลับที่ทำให้งอบนั้นสามารถระบายอากาศได้อย่างดีเยี่ยมเจ้าค่ะ
ทีนี้ลองมาเปรียบเทียบหลักการระบายลมของ “งอบ” และ “หน้าจั่วบ้านเรือนไทย” กันดูเจ้าค่ะว่าจะมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตัวอย่าง ที่ 1 "ลักษณะการระบายลมของงอบ"
หลักการของงอบมีรูปแบบการระบายลมคล้ายๆกับหลังคาจั่วของบ้านเรือนไทยเจ้าค่ะ โดยเมื่อมีลมพัดเข้าไปด้านในของหมวก ลมจะผ่านเข้าไปในด้านบนตรงกลางที่เป็นรังกลมๆแล้วพัดเอามวลความร้อนที่ลอยสะสมอยู่ระบายออกไปอีกข้างหนึ่งเจ้าค่ะ (ดังภาพตัวอย่าง ที่ 1)
ตัวอย่าง ที่ 2 "ลักษณะการระบายลมของหลังคาจั่วบ้านเรือนไทย"
เมื่อเรานำลักษณะการระบายอากาศของงอบมาเปรียบเทียบกับบ้านเรือนไทย จะเห็นได้ว่ามีรูปแบบการระบายอากาศที่เหมือนกันอย่างมากนั้นเองเจ้าค่ะ (ดังตัวอย่างที่ 2)
เป็นอย่างไรกันบ้างเจ้าค่ะกับความเป็นเลิศทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ของบรรพบุรุษเราชาวสยามเรา ที่ฉันได้นำมาฝากเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในวันนี้
ฉันหวังว่ามันจะช่วยให้เราคนไทยทุกคนสามารถภูมิใจในสิ่งที่เรามีกันได้มากขึ้น เจ้าค่ะ
ท้ายนี้ฉันก็มีการบ้านมาฝากพี่ท่านทุกคนอีกแล้วเจ้าค่ะ สำหรับใครที่ชอบโดดส่งบ่อยๆ ก็อย่าลืมส่งด้วยนะเจ้าค่ะ เพราะฉันกลัวว่าอีกไม่นานพี่ท่านอาจจะหลงลืมความเป็นไทยไปในไม่ช้าเจ้าค่ะ
ซึ่งสำหรับการบ้านวันนี้ก็ไม่มีอะไรมากเจ้าค่ะ แค่จะถามว่า
“พี่ท่านเคยทำนาปลูกข้าวกันบ้างฤาไม่เจ้าค่ะ ถ้าเคยคำถามคือ …..
(เลือกตอบข้อใดข้อหนึ่งได้เจ้าค่ะ)
1. ชาวนาเป็นนักฟิสิกส์ เพราะอะไร? ยกตัวอย่าง …
2. ชาวนาเป็นนักเคมี เพราะอะไร ? ยกตัวอย่าง …
3. ชาวนาเป็นนักชีววิทยา เพราะอะไร? ยกตัวอย่าง …
4. ชาวนาเป็นนักพันธุกรรมศาสตร์ เพราะอะไร? ยกตัวอย่าง …
Le Siam
“สยาม … ที่คุณต้องรู้”
เขียน, เรียบเรียงและกราฟฟิกโดย : Le Siam
ข้อมูลอ้างอิงจาก : “นิทรรศการเบาเบา กับนานาประดิษฐสวมกบาล”, มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา