4 ก.ค. 2020 เวลา 08:05 • สุขภาพ
รู้ลึกมะเร็งเม็ดเลือดขาวสู่ภาวะโลหิตจาง
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันจัดเป็นโรคมะเร็งที่มีความรุนแรงสูง พบได้ทุกเพศทุกวัย พบมากขึ้นในผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจาง และเป็น 1 ใน 10 โรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย (Leukemia) เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในไขกระดูก เกิดจากมีเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนเติบโตมากผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ การแบ่งตัวอย่างไม่หยุดของเซลล์เหล่านี้ ได้ไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดปกติชนิดอื่นของไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวปกติ และเกล็ดเลือดลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจาง
1
มีเลือดออกผิดปกติ
มีจ้ำเลือดตามร่างกาย
ติดเชื้อง่าย
นอกจากนี้เซลล์มะเร็งยังสามารถไปสะสมตามอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง ทำให้ผู้ป่วยมีต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้ามโต
ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งเม็ดเลือดขาวสามารถแบ่งได้หลายแบบ ได้แก่ แบ่งตามระยะการเกิดโรค และแบ่งตามชนิดของเซลล์มะเร็ง
ทั้งนี้ การแบ่งชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะมีผลต่อการเลือกวิธีการรักษา เนื่องจากมะเร็งเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดมีการดำเนินโรคและการพยากรณ์โรคที่แตกต่างกัน
1. แบ่งตามระยะเวลาเกิด
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (acute leukemia)
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง (chronic leukemia)
1
2. แบ่งตามชนิดของเซลล์มะเร็ง
1
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีโลจีนัส (myelogenous leukemia)
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซิติก (lymphocytic leukemia)
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว
การได้รับรังสีขนาดสูง
การรับเคมีบำบัด
การสัมผัสกับสารเคมีในสิ่งแวดล้อม
โรคทางพันธุกรรม
อายุ
ผู้ป่วยโรคไขกระดูกเสื่อม
อาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
เม็ดเลือดแดงลดลง ผู้ป่วยอาจมีอาการจากภาวะโลหิตจาง
เม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
เกล็ดเลือดลดลง ทำให้มีภาวะเลือดออกง่ายกว่าปกติ
การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว
ทีมแพทย์จะประเมินชนิดของโรค อายุและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ก่อนแนะนำวิธีรักษาที่เหมาะสม ซึ่งได้แก่
เคมีบำบัด (Chemotherapy)
การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted therapy)
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell transplantation)
การติดตามผลการรักษาและการดูแลตัวเอง
หลังรักษาจนโรคอยู่ในระยะสงบแล้ว แพทย์จะนัดตรวจอาการและเจาะเลือดทุก 1-2 เดือนในช่วงปีแรก ถ้าผลตรวจปกติ จะนัดติดตามทุก 3-6 เดือนอย่างน้อย 5 ปี จึงจะถือว่าหายขาดจากโรค เพราะโอกาสกลับเป็นซ้ำจะลดลงเมื่อเวลานานขึ้น
การดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว
ดูแลสุขอนามัย และความสะอาด โดยเฉพาะในช่องปากและฟัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ไม่ควรอยู่ในที่แออัด หรือการระบายอากาศไม่ดี เพื่อลดโอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และปรุงสุกด้วยความร้อน ล้างผักให้สะอาด ปอกเปลือกผลไม้ เพื่อลดโอกาสติดเชื้อทางเดินอาหาร
ดื่มน้ำสะอาดมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าเครียด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา