4 ก.ค. 2020 เวลา 16:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ครั้งแรกกับการค้นพบดาวเคราะห์แก๊สนอกระบบสุริยะที่กำลังถูกแผดเผาโดยดาวแม่จนถึงแกนดาว 😔
1
ด้วยที่อยู่ใกล้ดาวแม่มากจนหนึ่งปีมีแค่ 18 ชั่วโมง และการที่ถูกแผดเผาถึงแกนดาวนี้จะเปิดโอกาสให้เราได้เรียนรู้ถึงองค์ประกอบและโครงสร้างของดาวเคราะห์แก๊สได้มากขึ้น
ภาพจำลองของดาวเคราะห์แก็สที่อยู่ชิดกับดาวแม่จนถูกแผดเผาไปจนถึงแกนดาว
โดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Warwick ในอังกฤษได้ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่ถูกดาวแม่แผดเผาไปจนถึงแกนดาว
ซึ่งจะเปิดโอกาสให้เราได้ศึกษาถึงองค์ประกอบภายในส่วนแกนดาวของดาวเคราะห์ประเภทดาวเคราะห์แก๊สได้เป็นครั้งแรก
1
ดาว TOI 849b นี้โคจรรอบดาวฤกษ์ประเภทเดียวกับดวงอาทิตย์ของเรา อยู่ห่างจากโลก 730 ปีแสง มีขนาดของแกนดาวใกล้เคียงกับดาวเนปจูน
ภาพส่วนประกอบของดาวเนปจูน
โดยเจ้า TOI 849b นี้มีความน่าสนใจบางอย่าง ประการแรกด้วยตำแหน่งที่มันปรากฏอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า ทะเลทรายของดาวเคราะห์แก๊สซึ่งเป็นบริเวณใกล้กับดาวฤกษ์ซึ่งจะไม่ค่อยพบดาวเคราะห์ประเภทนี้ จะพบก็แต่ดาวเคราะห์หิน
ประการที่สองมันอยู่ใกล้ดาวแม่มากเกินไป ชิดเสียจนที่หนึ่งปีบนดาวดวงนี้มีเวลาเท่ากับ 18 ชั่วโมงบนโลก และอุณหภูมิพื้นผิวสูงกว่า 1,500 องศาเซลเซียส
ทีมนักดาราศาสตร์พบว่าส่วนที่เป็นชั้นบรรยากาสแก๊สได้ถูก TOI 849b ได้ถูกลอกออกไปจนหมด โดยปัจจุบัน TOI 849b มีมวลประมาณ 40 เท่าของโลกแต่มีขนาดใหญ่กว่าโลกแค่ 3.4 เท่า
4
ด้วยความหนาแน่นสูงขนาดนี้จึงคาดว่าส่วนประกอบหลักน่าจะเป็นเหล็ก หิน หรือน้ำ และน่าจะมีไฮโดรเจนหรือฮีเลียมหลงเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย
ภาพจำลองการก่อกำเนิดดาวเคราะห์
โดยนักดาราศาสตร์คาดการณ์สาเหตุที่ทำให้ TOI 849b มีสภาพเหลือแต่แกนดาวอย่างในปัจจุบันนี้น่าจะเกิดจาก 2 กรณี
1. TOI 849b ก่อตัวขึ้นอยู่ตรงนี้และสูญเสียบรรยากาศส่วนที่เป็นแก๊สไปจนเกือบหมดเพราะด้วยตำแหน่งที่อยู่ใกล้กับดาวแม่มาก
2. ระหว่างการก่อตัวเป็นแกนดาวขึ้นมาแล้ว แต่ด้วยสาเหตุบางอย่างทำให้ไม่สามารถรวบรวมบรรยากาศแก๊สได้เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ หรืออาจเกิดจากการชนกันของดาวในช่วงการก่อกำเนิด
แต่ไม่ว่าอย่างไร ตอนนี้ TOI 849 b ก็น่าจะเป็นแกนของดาวเคราะห์แก๊สที่ถูกลอกเอาชั้นบรรยากาศแก๊สออกไป จนทำให้เราได้ศึกษาถึงส่วนประกอบของแกนดาวเคราะห์แก๊สอย่างที่เราไม่สามารถทำได้กับดาวเคราะห์แก๊สในระบบสุริยะของเรา 😃

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา