5 ก.ค. 2020 เวลา 10:37 • การตลาด
Benjamin Franklin Effect คือ ?
แล้วเกี่ยวกับอะไรกับการเปลี่ยนใจคนที่เกลียดเราให้มาชอบเรา ?
Cognitive dissonance และ Reciprocity of liking เกี่ยวด้วยเหรอ ?
Benjamin Franklin
บทความนี้มาเล่าเรื่องราวอ่านสนุกๆกัน
ก่อนอื่นมารู้จักกับ Benjamin Franklin สั้นๆก่อน
เค้าเป็นใครกันนะ ?
- Franklin เกิดที่ Boston, USA ปี 1706
- คุณคนนี้เค้าทำหลายอย่างมากไม่ว่าจะเป็น นักพิมพ์ นักเขียน นักปรัชญา นักประดิษฐ์ นักการทูต รวมถึงเป็น นักฟิสิกส์
- ผลงานที่สคำัญของเค้าก็คือ การผลิต สายล่อฟ้า นั้นเองงง
- อีกผลงานหนึ่งก็คือ แว่นตาไบโฟคอล หรือก็คือแว่นตาที่มี 2 เลนส์นั้นเอง (จะเห็นได้จากผู้ใหญ่ของพวกเราบางคนที่เค้าใส่เวลาอ่านหนังสือพิมพ์เนอะ)
แล้ว Benjamin Franklin Effect ละ คืออะไร ?
 - อย่างที่ได้พูดถึงตอนต้นว่าเค้าไม่ได้เป็นแค่ นักวิทยาศาสตร์และนักกประดิษฐ์ แต่เค้ายังเป็นนักปรัชญาด้วย
- โดยเจ้า Effect นี้ เป็นปรากฏการณ์หนึ่งของ ทฤษฏีทางจิตวิทยา (psychological phenomenon)
- ที่ว่าด้วย เราที่เราให้ความช่วยเหลือกับใคร คนนั้นก็จะชอบเรา และในทางกลับกัน คนที่มาให้ความช่วยเหลือเรา กลับชอบเรามากขึ้น เพียงแค่เราขอบคุณ หรือรู้สึกดีใจกับการช่วยเหลือของพวกเค้า !!
และที่เค้านำชื่อของ Benjamin Franklin มาก็เพราะว่า เค้าคนนี้แหละ
- คือพี่ Benjamin เนี่ย เค้ามักจะชอบเปลี่ยนใจของผู้คนรอบข้างที่ไม่ชอบเค้า ให้มาชอบเค้า
- โดยครั้งหนึ่งเค้าเคยเข้าไปเป็นฝ่ายเริ่มต้นการสนทนากับบุคคลที่เกลียดเค้า (หรือ hater นั้นเองง) โดยบุคคลนั้นเปิดห้องสมุดอยู่ พี่ Ben ก็เลยไปถามเค้าว่า "เป็นไปได้ไม๊ที่เค้าจะขอเช่าหนังสือเล่มนี้หน่อย มันน่าสนใจมาก ?"
- ผู้ชายคนนั้นก็แน่นอน ให้เช่า และคิดเงินแบบปกติทั่วไป ............... หลังจากนั้น 1 week พี่ Ben เค้าก็เอาหนังสือมาคืน พร้อมกับเขียน Thank you note ไว้ในหนังสือ และชื่นชมบุคคลที่ให้ยืมหนังสือที่เป็น hater นั้นแหละ
- ผลปรากฏว่า ความเกลียดชังของบุคคลนั้นได้น้อยลง และดีขึ้นตามลำดับ
พี่ Ben เค้ายังบอกอีกว่า วิธีการที่เราจะดีลกับ hater นี้คือการที่เราเป็นฝ่ายยอม และเข้าไปเสริมสร้างพันธมิตรก่อนนั้นเอง
จะเห็นได้ว่า พี่ Ben ในสมัยนั้นเป็นคนที่มีความรู้มาก แต่กลับไปขอยืมหนังสือจาก ชายคนที่ไม่ชอบเค้า แต่จุดประสงค์คือต้องการจะส่งพันธไมตรีที่ดีผ่าน thank you note นี่เอง
2
และในทางการตลาด และการขาย Benjamin Franklin Effect เค้าจะใช้ในช่วงเริ่มต้นของการสนทนา (Build rapport) นั้นเองงง
ความเชื่อมโยงของ Benjamin Franklin Effect กับ Cognitive dissonance ?
- Cognitive dissonance สั้นเลยคือ ความไม่ลงลอยทางความคิด ก็คือ เหมือนความเชื่อเราเห็นว่าการลดน้ำหนักที่ดีคือการไม่ต้องออกกำลังกายเพียงแต่ลดการกินอาหาร แต่ในความเป็นจริง เรากลับทนไม่ได้ที่จะต้องกิน cheesecake ในทุกๆบ่ายของวันทำงานเป็นต้น
- กลายเป็นว่า เราเริ่มชอบเค้กและมีนิสัยในการกินเพราะจะเพิ่มความสุข จนบางทีเราอาจหลอกตัวเองว่า แค่เค้กก้อนเดียวเอง น้ำหนักชั้นไม่ได้ขึ้นมาเท่าไรเลยนี่นา แสดงว่า ถ้าควบคุมการกินอาหารมื้ออื่นๆดี การกินเค้กในทุกๆวันตอนบ่าย ก็ไม่ใช่ปัญหา
- เค้ก = ไม่อ้วน นี่เอง (เอ๋......... แกรร น้ำตาลกะแป้งและนมไข่ จะไม่อ้วนได้ไง 555)
1
- Cognitive dissonance ยังมีความหมายสื่อถึง อคติด้วยนะ อคติ ที่จะทำให้เรามองสิ่งๆเดียว เพียงแค่ด้านเดียว เพราะเหมือนสมองเค้าเจอความขัดแย้งในความเชื่อและความจริง จนกลายเป็นเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทน
กลับมาที่ Benjamin Franklin Effect กับ Cognitive dissonance เกี่ยวกันยังไงน้ะ ?
- นักจิตวิทยาในสหรัฐ เคยได้ทำการทดลองในปี 1967 เกี่ยวกับ เรื่องนี้ และผลที่ออกมาทำให้พวกเค้าถึงกับอึ้ง
- พวกเค้าได้ทำการศึกษากับนักศึกษากลุ่มหนึ่ง ที่อาสาเพื่อจะมารับเงินกับโปรเจคพิเศษของทางมหาวิทยาลัย
- โดยกลุ่มนักศึกษานี้ ได้ถูกชักชวนจากนักจิตวิทยา ว่า คณะจิตวิทยาเนี่ย เค้ากำลังเปิดรับสมัครเรียนฟรีแล้วแถมเงิน โดยทางมหาวิทยาลัยจะออกเงินทุนให้กับผู้คนที่มีอคตี และความเกลียดในสาขานี้ และไม่เท่านั้นน่้ะ เรียนจบคอร์สนี้จะแถมเงินให้อีกก้อนไปเลย โดยเค้าได้มีการให้เงินจริงๆเป็นธนบัตรให้ในตอนแรกที่ลงทะเบียนเลย
- ต่อมา เค้าได้ทดลองกับกลุ่มที่ 1 โดยการบอกว่า ทางคณะจิตวิทยาที่จะทำการ funding ค่าเรียนให้ เกิดภาวะขาดแคลนเงิน โดยขอความช่วยเหลือนักศึกษาที่เรียนจบ นำเงินก้อนที่พวกเค้าเคยแถมให้ มาคืนเพื่อเป็นการช่วยเหลือคณะ
- และกลุ่มที่ 2 ได้บอกว่า เจ้าโครงการที่บอกแถมเงินเนี่ย เป็นความคิดส่วนตัวของเค้าเอง แล้วตอนนี้เค้าเกิดล้มละลาย จึงขอความช่วยเหลือให่นำเงินก้อนที่เค้าแถมไปมาคืน
- กลุ่มสุดท้าย กลุ่มที่ 3 นักจิตวิทยาได้บอกว่า ยินดีด้วย !! คุณได้รับเงินแถมก้อนนี้ไปเลย !
1
- โดยที่เค้าได้เปิดเผยความจริงของการทดลองอันนี้ และถามอาสาสมัคร ทั้ง 3 กลุ่ม ผลปรากฏว่า อาสาสมัคร 2 กลุ่มแรก กลับรู้สึกดีมากๆ ที่ได้คืนเงินไป และถือว่าเป็นการช่วยเหลือ
- และกลุ่มที่ 3 รู้สึกอึดอัดใจ แม้จะไม่ได้ชอบการเรียนสาขานี้ และมาเพื่อมาอยากได้เงินเท่านั้น
สรุปได้ว่า Cognitive dissonance เข้ามามีส่วนร่วมโดย
- คนเราแม้จะอยากได้เงิน (ความเชื่อ) แต่ถ้าเงินก้อนนี้ไม่ใช่เงินของเรา แล้งเราได้มาด้วยความไม่รู้เหตุผล รวมถึงผู้ให้เงินประสบปัญหาอย่างหนัก (ความจริง) นั้นจะทำให้เรารู้สึกอึดอัด และมีความรุ้สึกลังเลกับพฤติกรรมของเรา
- ถึงแม้ว่านักศึกษากลุ่มนี้จะไม่ค่อยพอใจนักที่พวกเค้าต้องคืนเงิน แต่...พวกเค้าเองกลับรู้สึกดีว่า ที่ได้ช่วยเหลือคนแม้ว่าจะไม่รู้จักก็ตาม
- และเมื่อได้รับความช่วยเหลือแล้ว (ถึงแม้ จะไม่ใช่เงินตัวเองที่ต้องคืนก็ตาม) พวกเค้ากลับมีมุมมองที่บวกขึ้นมากับคอร์สการเรียนจิตวิทยาอันนี้ เพราะได้ทำความร฿้จักมันมากขึ้น (ไม่ใช่ไลฟ์โค้ชนะอันนี้ 5555)
Benjamin Franklin Effect กับ Reciprocity of liking เกี่ยวกันยังไงน้ะ ?
- จริงๆอันนี้เกิดขึ้นจาก Yu Niiya of Hosei University ที่ออกมาแย้งนักจิตวิทยาชาวอเมริกันกลุ่มนี้ว่า Cognitive dissonance ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการทดลองนี้หรอกนะ
(เพื่อนๆบอก อ่าว แล้วแกรจะให้ชั้นอ่านไปทำไม 5555 เอา 1 นาทีของชั้นคืนมา) เดี๋ยวก่อนนะเพื่อนๆ 555
- คืองี้ Yu Niiya เค้าเชื่อว่า ผลการทดลองด้านบนเนี่ย มันสำเร็จได้ก็เพราะว่า ทฤษฏีขอว Reciprocity of liking นี้ละ
Reciprocity of liking คือ ?
- 1 ในหลักจิตวิทยาว่าด้วย การจูงใจ นี่เองงง
- เช่น เราสามารถเปลี่ยนความเชื่อ หรือมุมมองของคนคนหนึ่ง ที่เค้าไม่ชอบอะไร ให้หันไปชอบสิ่งหนึ่งได้นั้นเอง (เอ....ฟังแล้ว คุ้นๆเหมือนพวกหลักโค้ชอะไรพวกนั้นเลยเนอะ 555)
ดูไปดูมา เหมือนพวกขายตรงเลยอ่ะ 55555
กลับมาที่ Yu Niiya of Hosei University ที่เธอได้ทำการแย้งมา
- เธอบอกว่า เจ้าการทดลองกับนักศึกษาด้านบนเนี่ย มันเหมือนเป็นการเรียกให้คนมาชื่นชอบ และอาจจะเป็นไปได้ว่า กลุ่มทดลองที่ 1 กับ 2 เนี่ย อาจจะมีคนที่ชื่นชอบการเรียนคอร์สนี้อยู่แล้ว พอเรียนจบแถมเจอปัญหาเรื่องการคืนเงิน(ที่ไม่ใช่ของตัวเอง)
- แล้วสุดท้ายพอคืนเงิน ก็มาทำเป็นชื่นชมเนี่ย เลยทำให้ คนกลุ่มที่ 1 กับ 2 เนี่ย มีแรงผลักดันด้านบวก ในการพูดถึงแง่ดีๆ เกี่ยวกับการทดลองอันนี้ รวมถึงความรู้ที่พวกเค้าได้รับ
- และนี้ละ ที่ทำให้คนกลุ่มที่ 3 มีความรู้สึกคล้อยตามกันไป
- เธอยังได้บอกอีกว่า ถ้าอยากทำให้คนชอบเยอะๆ ก็ต้องสร้างบรรยากาศของ Reciprocity of liking และสร้างความรู้สึกอยากให้ความช่วยเหลือ หรือ สร้างสถานการณ์ที่บังคับให้อีกฝ่ายที่ไม่ชอบเรา ต้องมาช่วยเหลือเราอย่างลีกเลี่ยงไม่ได้ (ซึ่งก็จะมาคล้องกับ Benjamin Franklin Effect นี่เอง)
จบแล้วจ้าเพื่อนๆ เราว่าก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราไมเ่เคยรู้ แต่ก็มารู่จากการอ่าน และเราก็ย่อยเรื่องราวมาให้เพื่อนๆอ่านกันต่อเพลินๆ :)
ถ้าเพื่อนๆคนไหนมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็มาแชร์กันได้น้าา เราว่าอาจมีหลายๆคนที่อาจมองในมุมแตกต่างกันออกไปเน้อะ ^^
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา