8 ก.ค. 2020 เวลา 13:47 • สุขภาพ
หลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีว่าไวรัส RaTG13 ไม่มีตัวตนอยู่จริง
 
จากที่เคยเล่าให้ฟังในโพสก่อนว่ามีกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่เขาสืบสวนต้นตอของไวรัส SARS CoV2 และเขาพบว่าไวรัส RaTG13 ที่ Shi Zhengli อ้างว่าเก็บตัวอย่างมาได้จากค้างคาวในยูนนานและมีจีโนมที่คล้ายกับ SARS CoV2 96% นั้น อาจไม่มีอยู่จริง โพสนี้จะมาเล่าข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่เขาใช้ในการสนับสนุนเรื่องนี้ อาจจะยาวหน่อย แต่จะพยายามอธิบายให้เข้าใจง่าย
ย้อนความกลับไปนิดนึงเรื่องที่ Shi Zhengli ได้อัพโหลดจีโนมตัวเต็มของ RaTG13 ขึ้นไปบน Genbank วันที่ 20 มกราคม 2020 ก่อนหน้าที่อู่ฮั่นจะสั่งปิดเมือง พร้อมทั้งเขียนเปเปอร์สนับสนุนทฤษฎีว่า SARS CoV2 มีบรรพบุรุษคือ RaTG13 และเกิดขึ้นตามธรรมชาติ (ไม่ได้หลุดออกมาจากห้องแล็บ) เนื่องจาก RaTG13 คล้ายกันกับ SARS CoV2 ถึง 96% ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องที่จีนบอกในช่วงนั้นว่าไวรัสมาจากค้างคาวที่คนซื้อมากินจากตลาด
1
แต่เขามาพบในภายหลังว่าจริงๆแล้วผู้ป่วยรายแรกๆไม่ได้มาจากตลาดอู่ฮั่น และจากการสอบถามผู้คนในตลาด ไม่ได้มีการขายค้างคาวยูนนานที่ว่าเลยมผู้ป่วยรายแรกๆที่จีนยอมเปิดเผยสามารถสืบย้อนหลังไปได้ถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน
1
https://www.scmp.com/news/china/society/article/3074991/coronavirus-chinas-first-confirmed-covid-19-case-traced-back
และเมื่อสองวันก่อน ข่าวหลายสำนักได้เริ่มรายงานยืนยันว่าในปี 2012-2013 ได้มีคนงานเหมืองในยูนนานป่วยเป็นโรคปอดอักเสบ 6 คนและเสียชีวิตไป 3 คน ทีมของ She Zhengli ได้ถูกเรียกไปสอบสวนสาเหตุการเสียชีวิต และได้เก็บตัวอย่างขี้ค้างคาวจากปล่องเหมืองกลับมาห้องแล็บอู่ฮั่น และ She Zhengli ได้อัพโหลดลำดับเบสบางส่วน (400 กว่าเบส) ของไวรัสที่ตั้งชื่อว่า 4991 ซึ่งพบในขี้ค้างคาวยูนนานดังกล่าวขึ้นไปใน Genbank ซึ่งต่อมา Yuri Deigin ซีอีโอบริษัท Youthereum Genetics ได้ตั้งข้อสังเกตว่า 4991 กับ RaTG13 คือไวรัสตัวเดียวกันหรือไม่ ซึ่ง BBC ได้รายงานข่าวไปวันก่อนว่ามีนักวิจัยผู้ดูแลฐานข้อมูลไวรัสของจีนยืนยันว่าเป็นตัวเดียวกัน
จึงมีการตั้งทฤษฎีขึ้นมาว่า SARS CoV2 ที่จริงก็คือไวรัส 4991 ที่ทีมของ Shi Zhengli ใช้เป็น backbone ในการพัฒนาสายพันธ์ไวรัสที่มีความสามารถติดจากคนสู่คนได้ โดยอาจใช้การตัดต่อทางพันธุกรรมร่วมกับการเพาะเลี้ยงให้กลายพันธ์หลายๆรอบ (Serial Passage) บนเนื้อเยื่อในห้องแล็บ แล้วเกิดอุบัติเหตุหลุดออกมา
และมีบุคคลที่ใช้นามแฝงว่า Nerd Has Power ได้เผยแพร่บทความหนึ่งที่เสนอทฤษฎีว่าจริงๆแล้ว RaTG13 นี่มันไม่มีอยู่จริง แต่เป็นเพียงข้อมูลจีโนมที่สามารถพิมพ์ขึ้นมาโดยใช้จีโนมของ SARS CoV2 เป็นตัวตั้งต้น ให้เปลี่ยนไปจากเดิม 4% เพื่อสร้างหลักฐานมาสนับสนุนว่าไวรัสมาจากธรรมชาติ ไม่ได้มาจากห้องแล็บของเธอ
เหตุผลง่ายๆข้อแรกที่เห็นได้ชัดเลยคือ Shi Zhengli เป็นผู้ต้องสงสัยอันดับหนึ่งว่าเป็นต้นตอของไวรัส แต่เธอกลับเป็นคนที่ค้นพบไวรัส RaTG13 ที่คล้ายกับ SArS CoV2 ถึง 96% ถ้าเราลองคิดให้ดี ก็จะเห็นว่ามันจะมีเรื่องบังเอิญอะไรได้ขนาดนั้น
ภาพอินโฟกราฟฟิกเหตุการณ์ที่ทีมของ Shi Zhengli ไปเก็บตัวอย่างไวรัสค้างคาวมาจากปล่องเหมืองในยูนนาน
ต้นกำเนิด SARS CoV2 น่าจะมาจากปล่องเหมืองในยูนนานที่มีการเก็บตัวอย่างไวรัสจากขี้ค้างคาวกลับมาอู่ฮั่นหลังจากมีคนงานเหมืองป่วยด้วยโรคปอดอักเสบ 6 คนและเสียชีวิตไป 3 คนในปี 2012 รูปนี้แหล่ะ
คราวนี้มาลงในระดับ Technical ที่ Nerd Has Power เขาเสนอ
เริ่มตั้งแต่ทำความเข้าใจความรู้ขั้นพื้นฐานก่อนจึงจะเข้าใจต่อไปได้จนจบ
ในธรรมชาติรหัสพันธุกรรมหรือ DNA จะประกอบด้วยกรดนิวคลีอิก A G C T หรือในกรณีไวรัสจะเป็น RNA สายเดี่ยวมีกรดนิวคลีอิก A G C U ต่อกันเป็นสายยาว อย่างใน SARS CoV2 กรดเหล่านี้ต่อกันเป็นสายยาวประมาณ 3 หมื่นลำดับ ซึ่งจะกำหนดลักษณะทางพันธุกรรมของไวรัสโดยกรดเหล่านี้จะถูกถอดรหัสแปลงเป็นโปรตีนซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนแบบต่างๆ โดยลำดับของกรดนิวคลีอิก 3 ตัวที่ต่อกันจะเรียกว่า Codon ซึ่งจะถูกถอดรหัสเป็นกรดอะมิโนแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน โดยที่ปกติ Codon สี่แบบจะถูกถอดรหัสได้กรดอะมิโนแบบเดียวกัน แต่มีกรดอะมิโนบางแบบที่ถอดรหัสมาจาก Codon เพียงหนึ่งหรือสองแบบตามรูป
1
นั่นทำให้เมื่อมีการทำสำเนา DNA ผิดพลาดเกิดขึ้นในธรรมชาติซึ่งจะเกิดทีละตำแหน่ง เช่น จาก UUU เป็น UUC หรือ UUA คือเกิดผิดพลาดที่ตำแหน่งเบสตัวสุดท้าย ก็ยังจะถูกถอดรหัสเป็นกรดอะมิโนแบบเดียวกัน เราเรียกการคัดลอกผิดพลาดหรือการกลายพันธ์แบบนี้ว่า synonymous mutation เนื่องจากทำให้ได้กรดอะมิโนแบบเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
แต่หากเกิดการคัดลอกผิดพลาดแล้วทำให้เกิดการถอดรหัสเป็นกรดอะมิโนตัวอื่น เช่น จาก UUU กลายเป็น UCU จะเรียกว่า non-synonymous mutations
ซึ่งในธรรมชาติ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดการ mutate แบบ synonymous กับแบบ non-synonymous จะอยู่ที่ราวๆ 5:1
ตัวอย่างเช่น หากเราเอาไวรัสสองตัวที่เป็นญาติกันคือ ZC45 กับ ZXC21 ซึ่งมีจีโนมคล้ายกัน 97% มาเปรียบเทียบการกลายพันธ์ เราจะพบว่าในตำแหน่ง S2 ของไวรัสสองตัวนี้มีสัดส่วนการกลายพันธ์แบบ Synonymous และ Non-synonymous คงที่ตลอดทั้งสายที่ประมาณ 5:1 คือทุกๆการผิดเพี้ยน 6 ครั้งของกรดนิวคลีอิก จะมีการกลายพันธ์ของกรดอะมิโน 1 ครั้ง เส้นแดงกับเขียวซึ่งแสดงการกลายพันธ์แบบ synonymous กับ non-synonymous มีรูปแบบทิศทางเดียวกันตลอดเส้น ซึ่งสอดคล้องกับความน่าจะเป็นที่ควรจะเป็นในการกลายพันธ์ตามธรรมชาติ
แต่หากเรานำ RaTG13 ซึ่งคล้ายกับ SARS CoV2 96% มาเปรียบเทียบดูอัตราการกลายพันธ์เราจะพบว่าในตำแหน่ง S2 ของไวรัสสองตัวนี้ เส้นแดงกับเขียวซึ่งแสดงการกลายพันธ์แบบ synonymous กับ non-synonymous มีการ diverge ไปคนละทางในช่วงท่อนหลัง เนื่องจากในท่อนนี้ มีการผิดเพี้ยนของกรดนิวคลีอิก 90 ตำแหน่ง แต่เป็นการกลายพันธ์ที่ทำให้เกิดกรดอะมิโนต่างออกไปเพียงแค่ 2 ครั้ง นั่นคืออัตราส่วน synonymous กับ non-synonymous อยู่ที่ 44:1 ซึ่งผิดจากธรรมชาติไปมากมาย
แต่เมื่อดูอัตราส่วน synonymous กับ non-synonymous ตลอดทั้งสาย 3 หมื่นกว่าลำดับ ปรากฏว่ากลับมีอัตราส่วนอยู่ที่ประมาณ 5:1 ถูกต้อง
ดังนั้น หมายความว่า RaTG13 กับ SARS CoV2 ต้องมีตัวใดตัวหนึ่งที่เป็นไวรัสของจริง และอีกตัวเป็นของปลอม แต่เนื่องจากเรารู้ว่า SARS CoV2 มีอยู่จริง ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า RaTG13 เป็นข้อมูลจีโนมปลอมที่มีคนทำขึ้นโดยพยายามแก้ไขโดยใช้จีโนมของ SARS CoV2 เป็นเทมเพลท และพยายามรักษาอัตราส่วน synonymous กับ non-synonymous สุดท้ายให้ได้ที่ 5:1 แต่ไม่ได้คิดว่าจะมีคนเข้ามาไล่ดูความผิดปกติในส่วน S2 ซึ่งเป็น Spike Protein ที่ทำให้ SARS CoV2 เกาะเซลล์มนุษย์ได้ดีกว่าไวรัสค้างคาวในธรรมชาติและเห็นอัตราส่วน synonymous กับ non-synonymous mutation ที่ผิดปกติตรงช่วงนี้
โฆษณา