9 ก.ค. 2020 เวลา 11:49 • อสังหาริมทรัพย์
ทำไมเวียงจันทน์มีสถานีรถไฟ 2 ที่ แล้ว 2 ที่ต่างกันอย่างไร เป็นไงมาไงถึงมี 2 สถานี
เห็นหลายคนพูดถึงสถานีรถไฟเวียงจันทน์ ซึ่ง มี 2 สถานีที่อยู่ห่างกันประมาณ 15 กิโลเมตร จาก 2 โครงการ คือ
1. โครงการทางรถไฟขนาดราง 1 เมตร ไทย-ลาว ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายของทางรถไฟ จากท่านาแล้ง ซึ่งข้ามจากสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว สถานีรถไฟหนองคาย
ซึ่งโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนเงินก่อสร้างจาก และให้กู้ผ่าน สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (สพพ.)
มีระยะทางรวม 11 กิโลเมตร
แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
1. ส่วนหนองคาย-ท่านาแล้ง ซึ่งเปิดใช้งานมาตั้งแต่ 2552
2. ส่วน Container Yard (CY) ท่านาแล้ง ซึ่งเป็นศูนย์รับส่งสินค้าทางคอนเทนเนอร์ เพื่อเชื่อมกับการรถไฟในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ พึ่งเปิดใช้งานไปเมื่อปีที่แล้ว
3. ส่วนทางรถไฟท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ ซึ่งได้เซ็นสัญญาก่อสร้างไปเมื่อกลางปีที่แล้ว และกำลังก่อสร้างอยู่
รายละเอียดโครงการตามนี้
ซึ่งในโครงการนี้จะมีสถานีรถไฟเวียงจันทน์ อยู่บริเวณบึงธาตุหลวง ซึ่งเป็นส่วนกลางเมืองของเวียงจันทน์
ระยะทางถึงประตูชัยเวียงจันทน์ เพียงแค่ 8 กิโลเมตร และ ติดกับบึงธาตุหลวง ซึ่งเป็นแหล่งพัฒนาเมืองใหม่ของเวียงจันทน์
1
ตำแหน่งสถานีเวียงจันทน์ (ราง 1 เมตร)
Near Vientiane Prefecture, Laos
2. โครงการทางรถไฟขนาดราง 1.435 เมตร จีน-ลาว (ที่หลายๆคนเรียกว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงลาวนั่นแหละครับ แต่วิ่งแค่ 160 กม/ชม เค้าไม่เรียกรถไฟความเร็วสูงนะครับ)
ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการรถไฟเชื่อมต่อจากลาว-จีน ซึ่งจะเชื่อมโยงรถไฟโดยสารและสินค้าผ่านเข้าจีน และเข้าไทยต่อกับรถไฟความเร็วสูงเราที่หนองคาย โดยรถไฟสินค้าจะเปลี่ยนมาลงรถไฟสินค้าบนราง 1 เมตร ที่สถานีนาทา
- ระยะทางรถไฟขนาดราง 1.435 เมตร จีน-ลาว 414 กิโลเมตร
- ความเร็วสูงสุด 160-200 กิโลเมตร/ชั่วโมง (ตามข้อมูลฝั่งลาว)
- มีสถานีรถไฟทั้งหมด 32 สถานี
- โครงสร้างอุโมงค์ 75 อุโมงค์ ระยะทางรวม 198 กิโลเมตร
- เป็นรถไฟทางเดี่ยว
- มูลค่าการลงทุน 6,100 ล้าน USD
- การลงทุน ลาว 30% จีน 70%
ซึ่งตำแหน่งสถานีของโครงการจีน-ลาว จะอยู่ด้านทิศใต้ของสนามกีฬาซีเกมส์ เวียงจันทน์
1
ตำแหน่งสถานีเวียงจันทน์ จีน-ลาว
Near Vientiane Prefecture, Laos
ห่างจากประตูชัย กลางเมืองเวียงจันทน์ 14 กิโลเมตร แต่พื้นที่โดยรอบยังเป็นที่เปล่าไม่มีการพัฒนาพื้นที่ซึ่งรองรับการสร้างเมืองใหม่รอบสถานี (TOD) ตามรูปแบบการพัฒนาเมืองของจีน
แต่จากที่เห็นว่าทั้ง 2 สถานีห่างจากกัน ประมาณ 15 กิโลเมตร
จึงมีความสงสัยกันว่าแล้ว 2 สถานีนี้จะเชื่อมต่อกันอย่างไรในอนาคต ออกแบบกันอย่างไรถึงแยกกันอยู่ ไม่คุยกันก่อนสร้างหรือยังไง
ซึ่งบอกเลยว่าโครงการรถไฟ ไทย-ลาว ของเราเก่ากว่าของจีนมาก และทางลาวเป็นผู้ให้ตำแหน่งก่อสร้างสถานีเวียงจันทน์นี้ สอดคล้องกับการพัฒนาเมืองใหม่ของลาวที่บึงธาตุหลวง
แต่พอโครงการของจีนมาก่อสร้าง ตามสไตล์เค้าจะมองรวมถึงการก่อสร้างเมืองใหม่ด้วย ซึ่งคาดว่าจีนจะเป็นผู้ลงทุนพื้นที่เมืองรอบสถานีด้วย จึงมองว่าต้องการสถานีทีมีพื้นที่พัฒนาเพียงพอก่อสร้างเมืองใหม่ได้
จึงเลือกตำแหน่งก่อสร้างสถานีรถไฟ จีน-ลาว อยู่ใกล้กับสนามกีฬาซีเกมส์เวียงจันทน์ตามที่บอก
ดังนั้นเวียงจันทน์เลยจะมีสถานีรถไฟหลัก 2 สถานี ซึ่งไม่ ณ ตอนนี้ยังไม่เชื่อมต่อกัน
แต่มันยังไม่จบแค่นั้น เพราะยังไงรถไฟจีนก็ต้องต่อกับรถไฟและรถไฟความเร็วสูงไทยให้ได้
ดังนั้นจึงมีการก่อสร้างทางรถไฟ ผมขอเรียกว่า Missing link ไทย-ลาว-จีน ซึ่งจะต่อจากสถานีรถไฟเวียงจันทร์ ขนาดราง 1.435 เมตร จีน-ลาว
แล้วมุ่งหน้าลงใต้ มาบรรจบกับทางรถไฟไทย ขนาดราง 1 เมตรที่ ท่าทางแล้ง โดยมีสถานีรถไฟใหม่ชื่อ ท่านาแล้งตะวันออก ซึ่งเป็นจุดเชี่อมต่อ (รถไฟไม่ต่อกัน) แล้วมาก่อสร้าง สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งใหม่ สำหรับรถไฟเท่านั้น
ทั้ง 2 โครงการจะไปเชื่อมต่อกันที่สถานีหนองคาย สำหรับรถไฟโดยสาร และสถานีนาทา สำหรับรถไฟสินค้า
โดยจะสร้างห่างจากสะพานมิตรภาพเดิมประมาณ 30 เมตร มาทางทิศตะวันออก
ซึ่งตามข้อมูลเบื้องต้นที่ทางไทย-ลาว-จีน ได้เซ็น MOU ร่วมกัน จะมีทางรถไฟ 3 ทาง เป็นรถไฟขนาดราง 1.435 เมตร 2 ทาง (อาจจะสร้างจริง 1 ทาง และเผื่อขยายอีก 1 ทาง) และมีรถไฟขนาดราง 1 เมตรอีก 1 ทาง
ลิ้งค์รายละเอียดทางรถไฟ missing link และ สะพานมิตรภาพแห่งใหม่ ไทย-ลาว-จีน ตามลิ้งค์นี้ครับ
ผมว่าน่าจะตอบที่มาที่ไปของสถานีรถไฟ เวียงจันทน์ทั้ง 2 สถานีได้แล้วนะครับ ใครมีข้อสงสัยตรงไหนเพิ่มเติม ก็คุยกันต่อในคอมเมนท์นะครับ
ภาพสถานีเวียงจันทน์ ลาว-จีน จากเว็บไซด์โครงการ
โฆษณา