19 ก.ค. 2020 เวลา 03:47 • ไลฟ์สไตล์
☝️การจัดการค่าใช้จ่าย เป็นขั้นแรกของการสร้างเงินออม ก่อนจะสร้างความมั่งคั่ง คุณต้องหาเงินมาออมให้ได้ก่อน
การจัดการรายรับ รายจ่าย เป็นเรื่องแรกที่ทุกควรควรลงมือทำ เพื่อให้มีเงินเหลือไปสู่การออม การลงทุน เพื่อสร้างความมั่งคั่ง มั่นคง ให้กับชีวิตของเรา
ดังที่ทราบกันดีว่า เงินสำรองฉุกเฉินของทุกคน ที่มีสภาพคล่องพร้อมหยิบมาใช้ได้ ต้องมีอย่างน้อย 3-6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน
แต่หลายคนก็ยังไม่มีเงินเหลือพอมาเตรียมเงินส่วนนี้ เพราะรายจ่ายแทบจะเท่ากับรายได้ทุกเดือน ถ้าอยากจะมีเงินสำรอง สิ่งที่ต้องทำทันที คือ ลดรายจ่ายให้ได้ เพื่อดึงเงินมาเก็บออมนั่นเอง
เริ่มต้นจาก สำรวจรายจ่ายของเราดูว่า เป็นรายจ่ายอะไรบ้าง โดยใช้วิธีบันทึกอย่างต่อเนื่อง แล้วนำมาจัดหมวดหมู่ เราจะพบว่า ค่าใช้จ่าย จัดแบ่งเป็นหมวด ได้ดังนี้
• ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคพื้นฐาน เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำไฟ ค่ารายเดือนมือถือ ค่าอินเตอร์เนต ค่าสมาชิกแอพต่างๆ (ซึ่งบางทีก็เกินความจำเป็น) ค่าซ่อมบำรุงรถยนต์ บ้านพักอาศัย อุปกรณ์ของใช้
• ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคเพื่อความสุข เช่น ทานข้าวสังสรรค์กับเพื่อน ดูหนังดูคอนเสริต ซื้อของสะสม ซื้อของตามรีวิว ซื้อของตอน sales มาเก็บไว้ก่อน ท่องเที่ยวต่างประเทศ
• ค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยความเสียหายคู่กรณีจากอุบัติเหตุที่เราเป็นต้นเหตุ
• ค่าใช้จ่ายหนี้สิน ระยะสั้น ระยะยาว เช่น หนี้บัตรเครดิตคงค้าง ผ่อนรถ ผ่อนบ้าน
หากมีการแยกค่าใช้จ่ายออกมาให้เห็นชัดเจนแล้ว มาสำรวจสภาพคล่องกันดูว่า ในแต่ละเดือน รายได้ ลบรายจ่ายแล้ว เรามีเงินเหลือออมหรือไม่ ถ้าไม่มีย้อนกลับมาที่ ตั้งเป้าจำนวนเงินสำรองที่ต้องการ เช่นต้องการเงินสำรองจำนวน 30,000 บาท เราต้องเก็บออมเดือนละเท่าไหร่ ใช้เวลากี่เดือน ตั้งเป้าหมายนี้ขึ้นมา
เงินที่ต้องการออม = ค่าใช้จ่ายที่ต้องไปลด
เงินที่ต้องการออม = รายได้ที่ต้องหาเพิ่ม
เช่นต้องการเก็บเงินเดือนละ 5,000 บาท ใช้เวลา 6 เดือน เพื่อให้ได้เงินสะสม 30,000 บาท เงินที่มาออม คือ เงินที่เราต้องลดรายจ่าย หรือ เงินที่เราทำงานหาเพิ่มนั่นเอง
ถ้าทำพร้อมๆกันไปทั้ง 2 ทาง เงินออมเพื่อสำรองสภาพคล่องของคุณก็จะเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว อาจจะได้เป้าหมายที่เร็วขึ้น
☝️เพิ่มรายได้ โดยหาอาชีพที่ 2,3..4 จากการสำรวจความถนัดของตัวเอง ว่าเราพอจะเรียนรู้พัฒนาตัวเอง ให้สามารถทำอะไรเป็นงานสร้างรายได้เพิ่มได้บ้าง มีงานอดิเรกไหนที่เราทำผันมาเป็นงานที่เป็นอาชีพได้บ้าง
☝️ลดรายจ่าย คือ เมื่อแยกรายการค่าใช้จ่ายแล้ว เราจะเห็นชัดเจนว่า รายจ่ายจำเป็นมีแค่ไหน รายจ่ายที่เราใช้โดยไม่จำเป็น มีแค่ไหน ซึ่งส่วนนี้หล่ะ ที่สามารถลดลงได้ ถ้าเรามีเป้าหมายการออมที่ชัดเจน เราจะตั้งใจลดรายจ่ายส่วนนี้ได้เลย เพื่อแลกกับความมั่นคงในอนาคต
🤜ส่วนรายจ่ายฉุกเฉินเราสามารถโอนย้ายความเสี่ยงไปที่บริษัทประกัน โดยดูกำลังการชำระเบี้ยของเรา อยู่ที่ประมาณ 5-10% ของรายได้ แล้วเลือกแผนประกันที่เหมาะสม เลือกความจำเป็นที่ต้องทำประกันส่วนไหนมาก่อน ผสมกับสวัสดิการพื้นฐานที่เราได้จากภาครัฐ หรือ จากที่ทำงาน
การวางแผนประกันสุขภาพ
การวางแผนประกันชีวิต
🚦เรื่องสำคัญที่สุด ของการลดรายจ่าย คือ ภาระหนี้สิน เพราะเป็นสิ่งที่ผ่อนชำระอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ไม่สามารถลดลงได้ทันที ที่คิด จนกว่าจะชำระหนี้หมด ทางที่ดีก่อนก่อหนี้ ต้องทบทวนกำลังจ่ายให้ดีก่อน ที่จะตัดสินใจเป็นหนี้
หนี้สินระยะยาวที่ชำระมากกว่า 1 ปี ไม่ควรเกิน 40% ของรายได้
อ่านมาถึงตรงนี้ ถ้าใครมีหนี้สินที่ต้องชำระประจำทุกเดือน เกิน 40% ของรายได้ สิ่งที่คุณต้องพิจารณาคือ หากเป็นการผ่อนทรัพย์สิน อาจจะขายออกไปบางส่วนเพื่อลดภาระ แต่ถ้าเป็นหนี้บริโภค ควรหาวิธีผ่อนปรนให้ยอดชำระต่องวดไม่เกินกำลังของคุณ
🚦มิเช่นนั้นจะเกิดปัญหากู้หนี้ก้อนใหม่โปะหนี้ก้อนเก่า จนเป็นหนี้สินพอกพูนที่ใช้ไม่มีวันหมด
และอีกทางออกหนึ่ง คือ หาวิธีสร้างรายได้เพิ่ม เพื่อให้ครอบคลุมภาระหนี้สิน ให้สัดส่วนหนี้สิน อยู่ที่ไม่เกิน 40% ของรายได้ คุณก็จะใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น
เมื่อคุณเริ่มสามารถออมเงินที่เป็นขั้นพื้นฐานได้แล้ว คุณควรเริ่มออมในขั้นถัดไป โดยหาความรู้เรื่องการหาผลตอบแทน และ การประเมินความเสี่ยง เพื่อให้เงินออมงอกเงยอย่างเหมาะสม
ตามหลักปิรามิดทางการเงิน คือ เตรียมเงินสำรองเพื่อสภาพคล่อง ➡️ ทำประกันโอนย้ายความเสี่ยง ➡️ ออมเพื่อเกษียณ ➡️ ลงทุนให้เงินงอกเงย ตามเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว
อ่านบทความปิรามิดทางการเงินได้ที่
ดังนั้น การที่จะวางแผนการเงินเพื่อสร้างความมั่งคั่ง (wealth) คุณต้องเริ่มจากจัดการวางแผนการหารายได้และการใช้จ่าย ให้เหลือเป็นเงินออมตั้งต้นก่อน
คุณถึงจะสามารถสร้างความมั่งคั่งในขั้นถัดไป เพราะ
เงินทองต้องวางแผน😊
ติดตามบทความอื่นๆของ เงินทองต้องวางแผน ได้ที่
ฝากกดติดตามเพจเป็นกำลังใจให้บทความต่อไปด้วยนะคะ💙

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา