20 ก.ค. 2020 เวลา 04:57 • ประวัติศาสตร์
ทำไมระบบโชกุนในญี่ปุ่นจึงล่มสลาย ตอนที่3
สวัสดีครับท่านผู้อ่าน พบกันอีกครั้งหนึ่งนะครับในซีรี่ย์"ทำไมระบบโชกุนในญี่ปุ่นจึงล่มสลาย" และเพื่อให้ไม่เป็นการสับสนในเรื่องราวที่ผมจะกล่าวในตอนนี้ ฉะนั้นผมจะขอท้าวความเดิมถึงตอนที่แล้วอีกสักหน่อยนะครับ
ดังที่ได้กล่าวไปในสองตอนแรกว่ารัฐบาลโชกุนโทกุกาวะได้สร้างระบบซังคินโคไตขึ้นมา โดยระบบนี้ทำให้บรรดาเหล่าไดเมียวต่าง ๆ ทั่วเกาะญี่ปุ่นต้องเข้ามาประจำในเอโดะปีเว้นปี หากจะกล่าวตามตรงก็จะพูดได้ว่าระบบนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อต้องการบั่นทอนสภาพทางเศรษฐกิจของไดเมียว (เจ้าแคว้น) เพราะการเดินทางมาเอโดะต้องใช้เงินมาก ทำให้เหล่าไดเมียวไม่สามารถสะสมเงินเพื่อสร้างกองทัพโค่นล้มรัฐบาลโชกุน
อย่างไรก็ตามระบบนี้ทำให้เกิดชนชั้นพ่อค้ามากขึ้นที่ซึ่งจะภัยต่อระบบโชกุนเอง ในยุคเอโดะเหล่าพ่อค้ารำ่รวยและมีอำนาจมากขึ้น เพราะการเดินทางของเหล่าไดเมียวมาเอโดะจำเป็นต้องหาเงินมาใช้ในการเดินทาง ไดเมียวจึงมักจะขายสินค้ากับพวกพ่อค้าเพื่อหาเงินหรือยืมเงินจากพ่อค้าซึ่งก็จะถูกเอาเปรียบเป็นอย่างมาก จนเมื่อพ่อค้ารำ้รวยขึ้นเรื่อย ๆ ก็ต้องการที่จะค้าขายกับต่างชาติมากขึ้น แต่ด้วยนโยบายปิดประเทศของรัฐบาลทำให้พ่อค้าไม่สามารถค้าขายกับต่างชาติได้ พวกพ่อค้าเลยไม่พอใจและพยายามหาวิธีทางโค้นล่มรัฐบาล โดยพวกพ่อค้าได้สนับสนุนไดเมียวบางกลุ่มที่ไม่พอใจรัฐบาลอยู่เป็นทุนเดิมให้ล้มล้างรัฐบาล และยังมีองค์จักรพรรดิ์ให้ความช่วยเหลืออีกด้วย
1
ณ จุดนี้สถานการณ์ในญี่ปุ่นเกือบจะสุกงอมพร้อมที่จะเกิดการปฎิวัติล้มล้างรัฐบาลโชกุนแล้ว จะขาดแต่ก็วันเวลาที่จะมีสภาวะการณ์เหมาะสมในการจะปฎิวัติ และแล้ววันนั้นก็มาถึงเมื่ออเมริกานำเรือดำมาบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ ณ อ่าวเอโดะ
นายพลจัตวาแมททิว เพอร์รี่ ภาพจาก The Metropolitan of Art
ในปี 1853 นายพลจัตวาแมททิว เพอร์รี่ได้นำเรือรบอเมริกันหรือที่เรียกกันว่าเรือดำเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อไปเจรจาเปิดประเทศ ตามคำสั่งของประธานาธิปดีมิลลาร์ด ฟิลมอร์ จนเมื่อเรือของอเมริกาได้เดินทางมาถึงอ่าวเอโดะและแสดงศักยภาพของเรือดำให้ญี่ปุ่นเกรงกลัวด้วยการยิงกระสุนปืนเปล่า ๆ โดยอ้างว่าทำไปเพราะต้องการเฉลิมฉลองวันชาติของชาวอเมริกัน แต่จริง ๆ การกระทำเช่นนี้มีเจตนาแอบแฝงที่จะคุกคามญี่ปุ่น
แมททิว เพอรรี่ได้ยื่นคำขาดกับรัฐบาลญี่ปุ่นให้รับสารของประธานาธิปดีมิลลาร์ด ฟิลมอร์ แต่ญี่ปุ่น ณ เวลานั้นอยู่ภายใต้นโยบายซะโกกุหรือนโยบายปิดประเทศ ทำให้ไม่สามารถรับสารจากต่างชาติได้ อย่างไรก็ตาม ณ เวลานั้นโชกุนโทกุกาวะ อิเอโยชิ ป่วยจนไม่สามารถว่าราชการเองได้ ดังนั้นอำนาจในการตัดสินใจว่าจะรับสารหรือไม่ก็ตกอยู่ในมืออาเบะ มาซาฮิโระผู้ที่ซึ่งดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโส
5
โชกุนโทกุกาวะ อิเอโยชิ ภาพจาก Exhibition of the Treasures and Papers of the Tokugawa Shogunal Household
อาเบะ มาซาฮิโระได้ทำในสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดด้วยการขอความคิดเห็นจากบรรดาไดเมียวทั่วญี่ปุ่น (ไม่เว้นแม้แต่โทซามะไดเมียวที่ไม่เคยมีอำนาจในการปกครองประเทศ) ผลออกมาปรากฎว่ามีผลเท่ากัน 19 ต่อ 19 เสียง ฉะนั้นอาเบะจึงต้องตัดสินใจเองแล้ว
ในที่สุดอาเบะก็ตัดสินใจรับสารจากแมททิว เพอร์รี่เพราะเห็นว่าเป็นแค่การรับสารไม่ใช่การเปิดประเทศ อีกนัยหนึ่งอาจจะมองได้ว่าอาเบะเห็นว่าญี่ปุ่นไม่มีศักยภาพพอที่จะสู้กับตะวันตก เพราะญี่ปุ่นมีตัวอย่างมาแล้วจากการที่เห็นจีนแพ้สงครามฝื่นกับอังกฤษก่อนหน้านี้ การตัดสินใจของอาเบะในครั้งนี้จึงทำให้ญี่ปุ่นรอดมาได้อย่างหวุดหวิด ก่อนจะจากไปแมททิว เพอร์รี่ได้บอกไว้ว่าเขาจะกลับมาอีกครั้งในปีหน้าเพื่อเจรจาอีกรอบ ยังผลให้ญี่ปุ่นมีเวลาคิดมากขึ้น
อาเบะ มาซาฮิโระ ภาพจาก 幕末・明治・大正 回顧八十年史" (Memories for 80 years, Bakumatsu, Meiji, Taisho)
ดูเหมือนว่าทุกอย่างจะเป็นได้ด้วยดี แต่การกระทำของอาเบะ มาซาฮิโระก็ทำให้อำนาจของรัฐบาลโชกุนเสื่อมลงไปมาก เพราะการเปิดรับสารจากตะวันตกและการขอความคิดเห็นจากโทซามะไดเมียวแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่เข้มแข็งอีกต่อไปแล้ว ยังผลให้เหล่าโทซามะไดเมียวบางกลุ่มที่ไม่พอใจรัฐบาล (และได้รับการสนับสนุนจากพ่อค้า) สบโอกาสที่จะก่อการปฎิวัติด้วยการอ้างว่ารัฐบาลไม่มีอำนาจอีกต่อไปแล้ว
จักรพรรดิ์โคเม ภาพจาก 慣習と国政に関する評論
ณ ตอนนี้ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลที่เรียกว่าฝ่ายเปิดประเทศและฝ่ายโทซามะไดเมียวบางกลุ่มที่เรียกว่าฝ่ายปิดประเทศก็ได้เริ่มอุบัติขึ้นแล้ว (จริง ๆ แล้วในฝั่งรัฐบาลก็มีบางพวกที่เป็นฝ่ายปิดประเทศด้วย)อีกทั้งฝ่ายราชสำนักก็เริ่มที่จะกระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาลแล้วและพร้อมจะเข้าร่วมกับฝ่ายปิดประเทศเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ในตอนหน้าเราจะมาดูกันว่าราชสำนักจะแตกหักกับรัฐบาลได้อย่างไร
จักรพรรดิ์โคเมจักรพรรดิ์ผู้ไร้ซึ่งบัลลังค์พร้อมที่ทวงคืนบัลลังค์จากรัฐบาลแล้ว!
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
หนังสือ
ปฎิวัติเมจิ โดย กรกิจ ดิษฐาน
ประวัติศาสตร์การปฎิวัติอุตสาหกรรมเปรียบเทียบ โดย ฉัตรทิพย์ นาถสุภา
HISTORY OF JAPAN ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เรียนรู้และเข้าใจประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นภายใน 1 วัน โดย รงรอง วงศ์โอบอ้อม
ญี่ปุ่นอย่างที่เห็น ลำดับที่ 4 ปฎิวัติเมจิ 1868 โดย เอกสิทธิ์ หนุนภักดี
ครูการเมือง ชีวิต ความคิด และผลงานของ ศ.ดร. ลิขิตธีรเวคิน
The Meiji Restoration by Beasley W.G.
โฆษณา