23 ก.ค. 2020 เวลา 10:48 • ธุรกิจ
ตลาดสินเชื่อดิจิทัล.. โอกาสเติบโตอยู่ที่การเข้าถึงข้อมูล - ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ในโลกยุคดิจิทัล ผู้ให้บริการสินเชื่อหลายรายได้มุ่งให้บริการสินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ หรือที่เรียกว่า “สินเชื่อดิจิทัล (Digital Lending)”
โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ ที่อาจยังไม่เคยเข้าถึงหรือมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในระบบ เช่น กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ รับจ้าง กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยอย่างกลุ่มค้าขายที่มีรายได้ไม่แน่นอน
ปัจจุบัน การให้บริการสินเชื่อดิจิทัลในประเทศไทย ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นและมีขนาดเล็ก
เนื่องจากผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัลไม่มีข้อมูลเครดิตลูกค้าที่เพียงพอต่อการประเมินความเสี่ยง
โดยศูนยวิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าในปี 2563 ตลาดสินเชื่อดิจิทัลในไทยทั้งระบบ น่าจะมียอดคงค้างประมาณ 12,000 - 12,500 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนราว 0.2% ของยอดคงค้างสินเชื่อรายย่อยทั้งหมด
1
ธนาคารพาณิชย์ ขนาดใหญ่ยังคงเป็นผู้เล่นหลักในตลาดสินเชื่อดิจิทัลในไทย
เนื่องจากมีฐานข้อมูลลูกค้าขนาดใหญ่ ประกอบกับพฤติกรรมของคนไทยที่มีความเชื่อมั่นต่อการใช้บริการสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์เป็นหลัก และมีความคุ้นชินในการใช้แอปพลิเคชันธนาคารออนไลน์มาในระยะหนึ่งแล้ว
นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ยังมีการจับคู่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับผู้ประกอบการธุรกิจบริการอื่นๆ บนแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง E- Marketplace หรือ Online Food Delivery รายใหญ่ที่มีกลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าและร้านอาหารรายย่อยเป็นจำนวนมาก
ส่งผลให้มีได้เปรียบในการขยายฐานลูกค้าสินเชื่อดิจิทัลไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ
ในระยะข้างหน้า ศูนยวิจัยกสิกรไทย มองว่า สินเชื่อดิจิทัลในไทยน่าจะยังขยายตัวได้อีกมาก
แต่ต้องอาศัยแรงผลักดันหลักสองประการ ได้แก่ การขยายขอบเขตการใช้ข้อมูลในการพิจารณาสินเชื่อไปสู่การใช้ข้อมูลทางเลือก (Alternative Data) มากขึ้น
และการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ของกลุ่มผู้ประกอบการในตลาด
โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน และกลุ่มผู้ประกอบการฟินเทค
อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม - https://www.marketthink.co/8586
ที่มา - ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
โฆษณา