23 ก.ค. 2020 เวลา 16:15 • การศึกษา
☀️”ลงทุน”ให้ลูกอย่างไรดี?”☀️
“การลงทุน” ที่เราพูดถึงกัน มักจะเกี่ยวกับ เรื่องเงินๆทองๆใช่ไหมคะ?
🎈การเอาเงินใส่ลงไปในธุรกิจ เพื่อให้เกิดผลกำไร เก็บเกี่ยวผล
🎈การลงทุนเพาะหุ้นให้เกิดผลงอกเงยในระยะยาว
🎈ลงทุนระยะยาวโดยให้การศึกษาที่ดี แก่ลูก เปรียบได้กับการเพาะเมล็ดพันธุ์ ที่ต้องรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย
ในยุคที่เงินทองหายาก เรามาลงทุนให้คุ้มค่าที่สุด โดยการเริ่มลงทุนในช่วง 2 ปีแรก โดยไม่ต้องใช้เงินกัน ดีกว่าค่ะ😀
การลงทุนให้ลูกซึ่งเป็น “ชีวิต” หนึ่งที่มีจิตใจและความรู้สึก จะเอาแต่เงินมาลงทุนคงจะไม่ได้
การลงทุนกับ “ ชีวิต” ต้องใส่ "ชีวิตจิตใจ" ลงไปด้วยค่ะ
ต้องเริ่มตั้งแต่แรกคลอดเลย รอช้าไม่ได้!
❤️ทั้งนี้เพราะสมองและทุกส่วนของร่างกายเด็กมีการเจริญเติบโต และพัฒนาตลอดเวลา ตั้งแต่วันที่เขาลืมตาดูโลก❤️
❣️สมองของเด็กเมื่อสิ้นขวบปีแรกจะมีขนาดเท่ากับ 2 ใน 3 ของสมองผู้ใหญ่ และเมื่ออายุครบ 2 ปี จะเท่ากับ 4 ใน 5 ของสมองผู้ใหญ่
❣️เมื่อสมองมีการเจริญอย่างรวดเร็วเช่นนี้ การให้อาหารแก่เด็กในช่วงนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง แต่จะให้อาหารอย่างไรจึงเป็นการลงทุนที่ให้ทั้ง “ ชีวิต” และ “จิตใจ”
“☀️นมแม่” ☀️คือ คำตอบที่สมบูรณ์
❣️นมแม่ให้ “ชีวิต” เพราะอุดมด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าบำรุงสมองและร่างกายลูก พรั่งพร้อมด้วย ภูมิคุ้มกันโรค
❣️นมแม่ให้ “จิตใจ” ด้วยการผูกสัมพันธ์ ระหว่างแม่ลูกให้มีความเอื้ออาทรต่อกัน
นมแม่เป็นทั้งอาหารกายและอาหารใจ
ข้อสำคัญคือ นมแม่ไม่ต้องซื้อไม่ต้องหา ประหยัดเงินค่านมผงไปได้เดือนละหลายพันบาททีเดียว
เรามาลงทุนสร้างสมองลูกด้วยนมแม่กันเถอะค่ะ
❣️เชื่อมั่นว่านมแม่ดีจริง❣️
นมแม่มีโปรตีน ไขมัน แลคโต๊ส และวิตามิน เกลือแร่ต่างๆครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ
ส่วนประกอบในนมแม่เป็นต้นแบบให้นมผงทำเลียนแบบ แต่ไม่มีทางทำได้เหมือน เพราะเซลล์ และสารภูมิต้านทานในนมแม่ผลิตจากร่างกายคุณแม่เท่านั้น ไม่มีโรงงานที่ไหนผลิตได้
นมแม่มีสารช่วยพัฒนาสมอง
นม แม่มีปัจจัยกระตุ้นการเจริญเติบโตของระบบประสาท (Nerve growth factor)ซึ่งไม่มีในนมผงชนิดใดๆทั้งสิ้น
นอกจากนี้ กรดไขมันชนิดโอเมก้าสามที่ชื่อ DHA ก็มีอยู่ในนมแม่มานานก่อนที่นมผงต่างๆจะเอามาเติมกันทีหลัง ร่างกายใช้สารนี้ในการสร้างเส้นใยประสาทในสมอง
แม่ที่ให้นมลูกควรกินอาหารที่มี DHA มากคือ ปลา กุ้ง หอย ปู อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งเพื่อเพิ่มปริมาณ DHA ในน้ำนมแม่ ลูกที่กินนมแม่จะได้สารนี้ไปเสริมสร้างสมอง
อาหารสำหรับแม่ให้นมลูก
❣️การอุ้มลูกให้ดูดนมแม่ช่วยพัฒนาสมอง❣️
สมอง ของทารกจะต้องได้รับสิ่งกระตุ้น เพื่อให้เส้นใยประสาทแตกแขนงงอกงาม สิ่งกระตุ้นอาจจะมาจากภาพ เสียง กลิ่น รส หรือการสัมผัสที่ผิวหนัง
การอุ้มลูกลูกดูดนมแม่ แม่ต้องอุ้มลูกขึ้นมากอดกระชับ ผิวสัมผัสผิวเลยใช่ไหมคะ การสัมผัสใกล้ชิดเช่นนี้เป็นการกระตุ้นประสาทรับสัมผัสของลูกได้เป็นอย่างดี ถ้าอุ้มลูกขึ้นดูดนมแม่วันละ 8 ครั้ง ประสาทสัมผัสและสมองลูกก็ได้รับการกระตุ้นอย่างน้อยวันละ 8 ครั้งด้วย
ขณะที่ลูกดูดนมแม่ ลูกใช้ดวงตามองแม่
การอุ้มลูกให้กินนมจากเต้านมทั้งสองข้างสลับกัน ทำให้ลูกได้ฝึกการใช้ตามองหน้าแม่จากทั้งทางซ้ายและขวา สมองพัฒนาได้ดี
ภาพจาก https://www.happyfamilyorganics.com/learning-center/mama/breast-milk-benefits/
การ ดูดนมแม่มีผลต่อการพัฒนากล้ามเนื้อบนใบหน้า โดยรูปปากของลูกไม่เปลี่ยบแปลง เพราะลานหัวนมของแม่มีความยืดหยุ่น จึงเปลี่ยบรูปทรงตามปากของลูก ผิดกับจุกนมยางซึ่งแข็ง และทำให้ลูกต้องทำปากจู๋ให้พอดีกับจุกนม
การที่ทารกต้องใช้กล้ามเนื้อหลายมัดในการดูดนมแม่ ทำให้ทารกที่ดูดนมแม่มีขากรรไกร ฟัน และปากที่มีพัฒนาการอย่างเหมาะสม
❣️การให้นมแม่มีผลระยะยาวต่อการพัฒนาสมอง❣️
จาก การศึกษาวิจัยพบว่านมแม่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของสมองและสติปัญญาของเด็ก โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนด
ผู้วิจัยได้วัดไอคิวของเด็กที่คลอดก่อนกำหนด 300 รายในประเทศอังกฤษ โดยวัดเมื่อเด็กเหล่านี้มีอายุ7-8 ปี พบว่า กลุ่มทารกที่ได้รับนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดมีไอคิวสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้นมแม่ 8.3 จุด
ส่วนในทารกที่คลอดครบกำหนด จะพบว่าเด็กที่กินนมแม่มีไอคิวสูงกว่าเด็กที่กินนมผง 2.66 จุด และการกินนมแม่เป็นระยะเวลายิ่งนานจะยิ่งมีคะแนนระดับสติปัญญาสูงขึ้นตาม ระยะเวลา
ไม่มีข้อสงสัยอีกต่อไปแล้วว่า นมแม่มีส่วนช่วยพัฒนาสมอง และระบบประสาทของเด็ก โดยร่วมกับปัจจัยทางกรรมพันธุ์ของพ่อแม่ และการเลี้ยงดูที่มีการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย มีผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดสัมผัสอุ้มชู พูดคุยโต้ตอบกับเด็ก
เด็กทุกคนเกิดมาพร้อมกับศักยภาพในตัวที่จะพัฒนาทั้งทางร่างกาย จิตใจและสติปัญญา
การเลี้ยงดูที่เหมาะสมร่วมกับการให้นมแม่ จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
นมแม่ให้ทั้ง ชีวิต และ จิตใจ
❤️เรามา”ลงทุน”ให้ลูก ด้วยการให้ “ นมแม่”
ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้กันเถอะค่ะ❤️
เขียนโดย พญ . ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล
เอกสารอ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา