25 ก.ค. 2020 เวลา 12:59 • หุ้น & เศรษฐกิจ
EBITDA คืออะไร
องค์รวมของ EBITDA
ย้อนกลับไปบทความก่อนหน้านี้ เราได้เรียนรู้เรื่องอัตราส่วนทางการเงินไปแล้ว สำหรับบทนี้ มาลองทำความรู้จักกับค่า EBITDA กันบ้างนะคะ เพราะมีความสำคัญไม่แพ้กัน และนักลงทุนมักจะเน้นเป็นพิเศษอีกด้วย
หลายคนอาจจะคุ้นหูคุ้นตามาบ้างแล้ว แต่ก็อาจจะหลงลืมกันไป ว่าเจ้า EBITDA นี่มันคืออะไร และมีประโยชน์ยังไง เดี๋ยวเราจะมาทวนความเข้าใจกันอีกทีนะคะ
1
EBITDA ย่อมาจาก Earnings before Interest, Tax, Depreciation and Amortization
แปลออกมาตามตัวเลยก็คือ กำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย, ภาษี, ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย
หรืออาจจะแปลให้เข้าใจง่ายขึ้นมาอีกหน่อย ก็คือ “กำไรจากการดำเนินงานที่อยู่ในสถานะใกล้เคียงเงินสดจริงๆ”
เนื่องจากกำไรมีหลายอยู่ขั้น เช่น กำไรขั้นต้น (Gross Profit) กำไรจากการดำเนินงาน (EBIT) กำไรสุทธิ (Net Profit) ซึ่งกำไรแต่ละขั้น มีความหมายที่แตกต่างกัน และมีความสำคัญก็ต่างกันออกไป
🧨 กำไรขั้นต้น (Gross Profit)
1
กำไรขั้นต้น = ยอดขาย - ต้นทุนขาย
กำไรขั้นต้น เป็นกำไรขั้นแรก ที่หักต้นทุนซื้อสินค้าแล้ว ทำให้รู้ว่าเป็นกำไรเท่าไร แต่เนื่องจากการทำธุรกิจ ไม่ได้มีแค่ราคาสินค้าที่ต้องจ่าย แต่ยังต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆ อีก กำไรขั้นต้น จึงเป็นเพียงตัวเลขให้พอรู้กำไรคร่าวๆ เท่านั้นเอง
🧨 กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (กำไรจากการดำเนินงาน) หรือ EBIT
กำไรจากการดำเนินงาน = กำไรขั้นต้น - ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
1
เนื่องจาก EBIT เป็นกำไรที่หัก ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) และ ค่าใช้จ่ายตัดจำหน่าย (Amortization) ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้มีการจ่ายเงินออกไปจริง จึงยังทำให้ไม่ทราบสถานะที่แท้จริงของการดำเนินงานได้ จึงเกิดอีกค่าหนึ่งขึ้นมาที่เรียกว่า EBITDA
1
🧨 กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย หรือ EBITDA
1
EBITDA = กำไรจากการดำเนินงาน + (ค่าเสื่อมราคา+ค่าตัดจำหน่าย)
1
EBITDA จึงเป็นวิธีที่จะเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการทำธุรกิจของบริษัทได้ดีกว่าคือ นำค่าใช้จ่ายทั้ง D และ A บวกกลับเข้าไปใน EBIT ก็จะกลายเป็นกำไรตัวใหม่ ที่เรียกว่า “EBITDA” นั่นเอง
ประโยชน์ของ EBITDA ก็คือ ทำให้รู้ว่าเป็นกําไรจากการดําเนินงานจริงๆ โดยตัด
ค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานปกติออก ทําให้เห็น “สถานะที่แท้จริง” ของการประกอบธุรกิจของบริษัทนั่นเอง
1
ตัวอย่างเคส :
หากบริษัทมี กําไรติดลบ แต่ EBITDA เป็นบวก ธุรกิจนี้อาจจะไม่แย่อย่างที่คิด ต้องมาวิเคราะห์กันก่อนว่าสาเหตุมาจากอะไร
1
✔ ถ้าติดลบจากค่าเสื่อมราคา (Depreciation) ต้องดูนโยบายการตัดค่าเสื่อมว่า สมเหตุสมผลหรือไม่ บางบริษัทใช้นโยบายตัดค่าเสื่อมเร็วเพื่อโชว์ Net Income น้อยๆ จะได้ประหยัดภาษี
1
✔ ถ้าติดลบจากค่าใช้จ่ายทางการเงินหรือดอกเบี้ย (Interest) เช่น บริษัทมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) มากเกินไป ถ้ามีการปรับโครงสร้างหนี้ (Restructure) บริษัท
ก็จะเป็นสัญญานของการ Turnaround ได้
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณสำหรับการติดตามนะคะ ^o^

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา