27 ก.ค. 2020 เวลา 16:10 • การตลาด
Barnum Effect และ Marketing ไปด้วยกันได้ยังไงนะ ?
เรื่องของการดูดวง การทำนายดวงชะตาจากจักรราศี โดยมากเราก็จะคิดถึงเรื่องของชีวิตโดยรวม ความรัก และการงานเนอะ โดยอาจจะเป็นการดูดวงตาม หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือแม้กระทั่งแอพอย่าง "Aduang"
ความถี่ ถ้าเป็นคนที่ต้องการความมั่นใจหน่อย อาจมีการกดดูอาทิตย์ละครั้งเลยเนอะ
หรือไม่ก็คงเป็นการแต่งเสื้อสีให้ถูกโฉลกไปในแต่ละวัน
คนที่ไม่เชื่อเรื่องเหล่านี้เองก็มีเยอะ
แต่ว่าเพื่อนๆเชื่อไหมว่า การตลาดเองก็สามารถขยายกลยุทธ์ไปยังเรื่องราวของ Horoscopes ได้นะ !! แต่ในบทความนี้ขอพูดถึงเป็นส่วนของ Barnum effect แทน
เราขอย่อยมาให้เพื่อนๆฟัง งั้นไปดูกันเลยยยย
Barnum Effect
- Phineas T. Barnum หรือ พระเอกในหนังเรื่อง The Greatest Showman ที่แสดงโดยพี่ Hughes นี่แหละ ถ้าว่ากันตามประวัติศาสตร์เนี่ย เค้าคือนักแสดงละครสัตว์เชิงธุรกิจขาวอเมริกัน ซึ่งชีวิตจริงของเค้าเนี่ยออกไปคนะละเรื่องกับในหนังเลย
- ก็คือยกใจความสำคัญนะ Barnum เนี่ยเค้าเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนจะมีความสากลในเรื่องของ นิสัย ความคิด และการคาดหวัง
- ซึ่งเค้าก็ได้บอกว่าพวกหมอดูเนี่ย ก็เป็นหมอเดา พูดในสิ่งที่คนส่วนใหญ่เป็น พูดประโยคเดียวกับคน 10 คน แบบกว้างๆ พวกเค้าก็อาจจะคิดได้ไม่เหมือนกัน ที่เหลือเราก็แค่ต้อง เออ ออ ตามเค้า แค่นั้น เราก็จะหลอกคนดูได้แล้ว
- อีกสิ่งหนึ่งคือ การยืนยันเชิงอัตวิสัย (Subjective validation) เกิดเมื่อสองเหตุการณ์หรือมากกว่า ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันแต่ได้รับการเชื่อมโยงกัน ไม่ว่าจะเป็นการชัดนำด้วยเหตุผลทางความเชื่อ หรือสมมติฐานที่เราเองนี้แหละเป็นคนกำหนดให้ทั้งสองเหตุการณ์จำต้องสัมพันธ์กัน ก็จะทำให้มีน้ำหนักในการทำนายดวงชะตา (Horoscopes มาแล้ววว)
- นี้ละคืออธิบายสั้นๆเกี่ยวกับ Barnum Effect ซึ่งเพื่อนจะเห็นแล้วว่า การตลาด การโน้มน้าวผู้คน เริ่มมีการเอาเรื่องราวของความเชื่อมาใช้งาน (ในสมัยนั้นก็มักจะเรียกพวกนี้ว่า แก้งต้มตุ๋น)
เรื่องราวของ Horoscopes และ Marketing เริ่มต้นในปี 1948 โดยนักจิตวิทยา Bertram Foret
- โดย Bertram ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับเรื่องของแบบทดสอบการทำนายลักษณะนิสัยว่าตรงกับนักศึกษาไหม? โดย Bertram เป็นคนทำสอบถามขึ้นมาโดยให้ตอบที่ 0 ไม่ตรง และ 5 คือตรงทุกอย่าง
- ผลปรากฏว่าเกือบ 4.26 คะแนน เค้าตอบว่า ตรงกับนิสัยของเค้าหมดเลย
- โดย Bertram ใช้วิธีของ Barnum Effect คือการใส่นิสัยสากลเข้าเอาไว้ และแน่นอนว่า ถ้าเค้าใส่ข้อความลักษณะสากลแบบนี้เกิน 8 ใน 10 ข้อ แน่นอนละ ต้องตอบ Yes เกือบหมด
- และที่มากไปกว่านั้นคือ Bertram ได้มีการทดลองทำผลสำรวจแบบจริง และ แบบปลอมมา แล้วให้นักศึกษากลุ่มที่โดนทดสอบเลือกผลสำรวจ ว่าอันไหนของตน
โดยที่ผลสำรวจปลอมอันนั้นเนี่ย Bertram ได้มีข้อความที่เขียนว่า Personality ของคุณนั้นช่างไม่เหมือนใคร (Unique) และผลออกมาคือ นักศึกษาเกือบ 59% เลือกที่จะเชื่อผลสำรวจปลอม
ทีนี้เพื่อนๆพอจะเห็นภาพขึ้นมาบ้างรึยังเอ่ยว่า เจ้าเรื่องราว Horoscopes และ Barnum Effect สามารถเกี่ยวข้องกับ Marketing ได้อย่างไรเอ่ย ?
อะ เราขอย่อยสรุปความเกี่ยวข้องกันเอาไว้ข้างล่างเลยย
1. Self Definition
- Horoscopes ก็เหมือนเครื่องช่วยยืนยันความมั่นใจของเรา แค่เปิดไปดูจักราศีของเรา หรืออ่านทำนายดวง อันไหนที่มันเป็นในแง่ดี เรียกได้ว่า เราก็แทบจะมั่นใจได้เต็มร้อยเลยละ
- Susan Blackmore ยังได้มีการแย้งในเรื่องของนิตยสารต่างๆที่มาเขียนเรื่องดูดวงตาม ดวงดาว หรือ จักรราศีว่า มันจะแม่นจริงๆเหรอ ถ้าผู้ดูดวงดันมีความเชื่อว่าตัวเองเหมือนกับคำทำนาย (เหมือนเราไปเชื่อซะก่อนเลย)
- เรื่องนี้นำมาใช้กับการตลาดได้ เช่น การทำเสื้อยืด แล้วมีการใส่สัญลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของ จักรราศี นั้นๆ แน่นอนว่าคนที่มีความเชื่อและความผูกพันธ์ อย่างไรก็ต้องซื้อ อาจจะเพราะเค้าได้ผูกตัวของเค้าไว้กับ สมมุติ "แมงป่องราศีพิจิก" ไว้เรียบร้อย
2. การพังทลายกำแพงแรกเริ่มของการสนทนา
- แน่นอนว่าอะไรจะดีไปกว่าการที่เราหยิบยกข้อดีของลูกค้ามาชมให้ฟังเนอะ
- เช่นเราอาจจะเริ่มต้นว่า "ใน Netflix ที่เค้ามีหมวดแนะนำซีรีย์ตามจักรราศีของคุณลูกค้า เค้าได้อยู่ในหมวดไหน ?" จากนั้นเราก็แค่หยิบยกข้อดี และสิ่งดีๆของจักรราศีนั้นๆ (หรือก็คือ Barnum Effect) มาใช้ในการโน้มน้าว ซึ่งที่เราเห็นส่วนมากก็คือ การหยิบข้อดีสากลนี้ละมาใช้
- และการถามคำถามเพื่อให้ต่อยอดจากตรงนี้ ที่ทำให้ลูกค้าได้อธิบายในสิ่งที่พวกเค้าชอบมากขึ้น ก็เป็นอีก 1 วิธีดีๆ (แต่ต้องใช้ให้ถูกที่ ถูกเวลา ถูกกาลเทศะ)
3. มันคือการ generate new content
- อันนี้ง่ายๆเลย คือถ้าเพื่อนๆมี Product ที่เยอะมาก เช่นเสื้อหลายแบบเนี่ย
- แล้วกลัวว่าลูกค้าจะงง หรือสับสน และอาจจะขี้เกียจซื้อ
- งั้นเอางี้ละกัน แนะนำตามจักรราศี หรือจาะดวงดาวมันซะเลย (เออ เอ้า เล่นง่ายดี)
- ตรงนี้มันเหมือนกับการ Embedded Recommend ดีๆนี่เองละ
- กลับไปที่หลักการของ Barnum ว่า สิ่งที่เป็นสากลของทุกคนจะต้องปรากฏขึ้น และแน่นอน แบบนี้สินค้าในรูปแบบไหนก็จะสามารถขายได้ กับลูกค้าที่ชอบแบบนี้นั้นเอง
จบแล้วจ้าาา
จริงๆการจะใช้วิธีเหล่านี้ เพื่อนๆต้องอย่านำไปใช้เพื่อการชักจูงนะ
เราบอกเลยว่า ถ้าเพื่อนๆนำไปใช้ในการโน้มน้าวจิตใตของคน หรือ ล่อลวงนี้ มีแต่ผลเสียกับเสียเท่านั้นเลย
เรารู้เรื่องราวเหล่านี้เพื่อให้เข้าใจเทคนิคที่พวกเราอาจจะตกเป็นเหยื่อเอง เพื่อเรียกสติในการจับจ่ายใช้สอย
หรือแม้กระทั่งการช่วยในเรื่องของการขายและการตลาดในบางมุมให้ดีขึ้นเนอะ ^^
โฆษณา