28 ก.ค. 2020 เวลา 06:29 • ธุรกิจ
สาระ ควรทราบ เพื่อคิด ปรับใช้ #31
ความหมายและหลักการ ของ
**การจัดการ Management**
เครดิตภาพ http://www.ikcm.com.my/about-us.htm
ผู้เขียนเคยเขียน เรื่อง การประกอบการ ไปแล้ว ใน https://www.blockdit.com/articles/5ec8e59a40edda0cc4c830f7 ซึ่งประกอบไปด้วย ที่ดิน, ทุน, แรงงาน, การจัดการ วันนี้ เราจะมาคุยกันเรื่องของอันดับสุดท้าย คือ การจัดการ(Management) กัน ซึ่งจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการประกอบการ
 
ความหมายของ การจัดการ นั้น มีหลากหลายศาสตร์ประกอบกัน และ เกี่ยวข้องกับ ผลสำเร็จของการประกอบการ โดยตรง จึงให้ความหมายที่ กระชับสั้นไม่ได้ จำต้อง นิยามเพื่อให้เข้าใจซึ่งจะเป็นการทำให้รับรู้เรียนรู้ เรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ง่ายกว่าการท่องจำ
การสั่งงาน ควบคุมงาน ดำเนินงาน เพื่อทำให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร ประกอบด้วย
กระบวนการ  (Process)  ของการวางแผน(Planning) การจัดการองค์กร การสรรบุคคลากร การนำการสั่งการ (Leading) และการควบคุม (Controlling) และ การควบคุมองค์กร (Controlling)หรือความพยายามที่จะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ร่วมกันที่กำหนดไว้โดยหลักการประสมประสาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล ตามวิถีแห่งการบริหารงานตามกระบวนการหรือชุดคำสั่งต่างๆ ซึ่งผลสำเร็จของการจัดการ ต้องมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลควบคู่กันไป โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด และเป็นศิลปะของการใช้บุคคลอื่นทำงานให้แก่องค์การ โดยการตอบสนองความต้องการ ความคาดหวัง และจัดโอกาสให้เขาเหล่านั้นมีความเจริญก้าวหน้าในการทำงาน
การจัดการเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เนื่องจากการจัดการเป็นความรู้ที่สามารถถ่ายทอด มีหลักเกณฑ์ สามารถพิสูจน์ความจริงได้ ตลอดจนได้รับการศึกษาค้นคว้ากันอย่างต่อเนื่อง ส่วนในแง่ของการเป็นศิลป์   ซึ่งหมายถึงการประยุกต์เอาความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพราะการจัดการในองค์กรแต่ละองค์กรมีปัจจัยที่แตกต่างกัน ดังนั้นศาสตร์หรือความรู้ในด้านการจัดการเพียงอย่างเดียว จึงไม่สามารถจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรได้ จำเป็นต้องประยุกต์ความรู้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับองค์กรแต่ละองค์กร
กระบวนการจัดการ คือกิจกรรมภาระหน้าที่ที่ผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้นำ ต้องนำไปปฏิบัติในการบริหารงานและบริหารคน  นำทรัพยากรในการจัดการที่ประกอบด้วยคน (Man) เงิน (Money) เครื่องจักร (Machines) และวัตถุดิบ (Materials)  เป็นสิ่งนำเข้า (Input) โดยผ่านหน้าที่ในการจัดการ (Process) ที่ประกอบด้วยหน้าที่การวางแผน การจัดองค์การ การจัดการงานบุคคล การอำนวยการ การกำกับดูแลขององค์กรให้สามารถทำงานร่วมกันไปจนกระทั่งทำให้เกิด ผลลัพธ์ (Output) คือบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลสำเร็จของการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่พึงพอใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องแล้วจะส่งผลย้อนกลับหลังจากได้ใช้ทรัพยากรแล้วว่าเป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้พัฒนาปรับปรุงแก้ไขต่อไป ซึ่งกระบวนการจัดการประกอบด้วย
1
ส่วนประกอบที่สำคัญในการจัดการ
A. เกี่ยวกับหน้าที่การจัดการ (management functions) ประกอบด้วยหน้าที่(functions) ทางการจัดการ 8 ประการ คือ
1 การวางแผน (Planning)
หมายถึงการพิจารณากำหนดแนวทางการทำงานให้ บรรลุเป้าหมาย โดยเกิดจากการใช้ดุลพินิจคาดการณ์ล่วงหน้าเพื่อเป็นแนวทางการการทำงานในอนาคต
2 การกำหนดแรงงาน(Man Power loading)
เมื่อมีแผนงาน ย่อมต้องมีการ กำหนดการทำงานแต่ละส่วน และ จะมีการกำหนดจำนวนวางตัวบุคคลในแผนงานส่วนนั้น
3 การบรรจุคน (Staffing)
เมื่อแต่ละส่วนมีการกำหนดแรงงาน ก็ต้องมีการสรรหาและบรรจุคน ตามหลักความรู้ความสามารถ เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามแผน โดยหลัก Put the right man in the right job.
4 การจัดองค์กร (Organizing)  
หมายถึง การจัดระเบียบหรือโครงสร้างของการ ทำงานภายในองค์กรให้เป็นระบบระเบียบและอยู่ในส่วนประกอบที่เหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น
5 การจัดการงานทรัพยากรมนุษย์  (Human Resoruce Management)
เมื่อมีการจัดองค์กร ก็ต้องใช้หลักการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้บรรลุตามแผน โดยที่พื้นฐานอยู่บนความสุขของผู้ร่วมทำงานนั้น ด้วย จึงต้องมีการจัดสรรจัดการด้านนี้
6 การบังคับบัญชา (Commanding), (Hierachy)
หมายถึง ภาระหน้าที่ของผู้บริหารในการใช้ความสามารถชักจูงหรือหว่านล้อมผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานตามคำสั่ง จนสามารถทำให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จได้
7 การควบคุม (Controlling)
หมายถึง กระบวนการทำงานเริ่มตั้งแต่การกำหนดมาตรฐาน การแก้ไขการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดจนการดำเนินงานตามแผน และการประเมินแผนเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
8 การประสานงาน (Coordination)
หมายถึง การจัดให้ทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรทำงานประสานสัมพันธ์สอดคล้องเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อให้การดำเนินงานราบรื่นและบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
B. ผู้บริหารจะต้องมีคุณลักษณะพร้อมความสามารถทางร่างกาย จิตใจ ไหวพริบ การศึกษาหาความรู้ เทคนิคในการทำงาน และประสบการณ์ต่างๆ
คุณสมบัติทางด้าน เทคนิควิธีการทำงาน นั้น สำคัญที่สุดในระดับคนงานธรรมดา แต่สำหรับระดับสูงขึ้นไปกว่านั้นความสามารถทางด้านบริหาร จะเพิ่มความสำคัญตามลำดับ และมีความสำคัญมากที่สุดในระดับผู้บริหารขั้นสุดยอด (Top executive) ควรจะได้มีการอบรม (training) ความรู้ทางด้านบริหารควบคู่กันไปกับความรู้ทางด้านเทคนิคในการทำงาน
การจัดการ ในปัจจุบัน ที่นิยม
C.  เกี่ยวกับหลักจัดการ (Management principles) ใช้สำหรับเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้บริหาร
1. หลักที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (authority & responsibility) 
คือ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่แยกจากกันมิได้ ผู้ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ที่จะออกคำสั่งได้นั้น ต้องมีความรับผิดชอบต่อผลงานที่ตนทำไปนั้นด้วย
 
2.หลักของการมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว (unity of command) 
คือ ในการกระทำใด ๆ คนงานควรได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิดความสับสนในคำสั่งด้วยการปฏิบัติตามหลักข้อนี้ ย่อมจะช่วยให้
สามารถขจัดสาเหตุแห่งการเกิดข้อขัดแย้งระหว่างแผนกงาน และระหว่างบุคคลในองค์การให้หมดไป
 
3.หลักของการมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน (unity of direction) 
กิจกรรมของกลุ่มที่มีเป้าหมายอันเดียวกันควรจะต้องดำเนินไปในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกัน เป็นไปตามแผนงานเพียงอันเดียวร่วมกัน
 
4.หลักของการธำรงไว้ซึ่งสายงาน (scalar chain) 
สายงานอันนี้คือสายการบังคับบัญชาจากระดับสูงมายังระดับต่ำสุด ด้วยสายการบังคับบัญชาดังกล่าวจะอำนวยให้การบังคับบัญชาเป็นไปตามหลักของการมีผู้บัคับบัญชาเพียงคนเดียว
และช่วยให้เกิดระเบียบในการส่งทอดข่าวสารข้อมูลระหว่างกันอีกด้วย
 
5.หลักของการแบ่งงานกันทำ (division of work or specialization) 
คือ การแบ่งแยกงานกันทำตามความถนัด โดยไม่คำนึงถึงว่าจะเป็นงานด้านบริหารหรือด้านเทคนิค
 
6.หลักเกี่ยวกับระเบียบวินัย (discipline) 
โดยถือว่าระเบียบวินัยในการทำงานนั้น เกิดจากการปฏิบัติตามข้อตกลงในการทำงาน ทั้งนี้โดยมุ่งที่จะก่อให้เกิดการเคารพเชื่อฟัง และทำงานตามหน้าที่ด้วยความตั้งใจ
เรื่องดังกล่าวนี้ จะทำได้ก็โดยที่ผู้บังคับบัญชาต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต และเป็นตัวอย่างที่ดี ข้อตกลงระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา จะต้องเป็นไปอย่างยุติธรรมมากที่สุด และจะต้องยึดถือเป็นหลักปฏิบัติอย่างคงเส้นคงวา
 
7.หลักของการถือประโยชน์ส่วนบุคคลเป็นรองประโยชน์ส่วนรวม (subordination of individual to general interest) 
หลักข้อนี้ระบุว่า ส่วนรวมย่อมสำคัญกว่าส่วนย่อยต่าง ๆ เพื่อที่จะให้สำเร็จผลตามเป้าหมายของกลุ่ม(องค์การ) นั้น ผลประโยชน์ส่วนได้เสียของกลุ่มย่อมต้องสำคัญเหนืออื่นใดทั้งหมด
 
8.หลักของการให้ผลประโยชน์ตอบแทน (remuneration) 
การให้และวิธีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนควรที่จะยุติธรรม และให้ความพอใจมากที่สุดแก่ทั้งฝ่ายลูกจ้างและนายจ้าง
 
9.หลักของการรวมอำนาจไว้ส่วนกลาง (centralization) หมายถึง ว่าในการบริหารจะมีการรวมอำนาจไว้ที่จุดศูนย์กลาง เพื่อให้ควบคุมส่วนต่าง ๆ ขององค์การไว้ได้เสมอ และการกระจายอำนาจจะมากน้อยเพียงใดก็ย่อมแล้วแต่กรณี
 
 
10.หลักของความมีระเบียบเรียบร้อย (order) 
ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าสิ่งของหรือคนต่างต้องมีระเบียบและรู้ว่าตนอยู่ในที่ใดของส่วนรวม หลักนี้ก็คือหลักมูลฐานที่ใช้ในการจัดสิ่งของและตัวคนในการจัดองค์การนั่นเอง
 
11.หลักของความเสมอภาค (equity) 
ผู้บริหารต้องยึดถือความเอื้ออารีและความยุติธรรมเป็นหลักปฏิบัติต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งความจงรักภักดี และการอุทิศตนเพื่องาน
 
12.หลักของความมีเสถียรภาพของการว่าจ้างทำงาน (stability of tanure) 
กล่าวว่า ทั้งผู้บริหารและคนงานต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง เพื่อเรียนรู้งานจนทำงานได้ดี การที่คนเข้าออกมากย่อมเป็นสาเหตุให้ต้องสิ้นเปลือง และเป็นผลของการบริหารงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ
 
13.หลักของความคิดริเริ่ม (initiative) 
เนื่องจากว่าคนฉลาดย่อมต้องการที่จะได้รับความพอใจจากการที่ตนได้ทำอะไรด้วยตัวเอง ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาควรจะเปิดโอกาสให้ผู้น้อยได้ใช้ความริเริ่มของตนบ้าง
 
14.หลักของความสามัคคี (esprit de corps) 
เน้นถึงความจำเป็นที่คนต้องทำงานเป็นกลุ่มที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (teamwork) และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการติดต่อสื่อสาร (communication) เพื่อให้ได้มาซึ่งกลุ่มทำงานที่ดี
การจัดการ เครดิตภาพ https://www.maesot.moph.go.th/news/view/VFVSVmVFOVJQVDA9/11
แต่เมื่อเรานำ KM (Knowledge Management) มาประยุกต์ใช้ในการจัดการ อาจทำให้การจัดการต้องเปลี่ยนแปลงจากแนวทางที่เป็นอยู่ โดยการเพิ่มฐานของ
การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าเป็นบทบาทหนึ่งในการบริหารจัดการที่มีการกล่าวถึงเฉพาะคน และ องค์กร เพราะ การเปลี่ยนแปลงพื้นฐานทางเทคโนโลยี ถือเป็น ปัจจัยสำคัญแห่งหนึ่งในการพัฒนาองค์ความรู้ให้กับ คนในองค์กร การพัฒนาเจตคติ ของคนในองค์การ ที่ต้องมีการพัฒนาการแบ่งแยกการรับข้อมูลข่าวสาร หรือ การสังเคราะห์ข่าวสารได้อย่างเป็นไปอย่างชัดเจน ในการนำหลักการมาบริหารและจัดการงาน จัดการคน และ จัดการองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงทำให้กล่าวได้ว่า หากมีการนำ KM(Knowledge Management) มาร่วมในการพัฒนาและประยุกต์ใช้ในระบบสารสนเทศ หรือ เทคโนโลยี น่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการได้อย่างเป็นระบบ ซึ่ง ถ้าเราเพิ่มหัวข้อ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปในองค์การ จะทำให้เกี่ยวเนื่องกับระบบการจัดการ ที่เปลี่ยนแปลงไป องค์ความรู้ต้องเพิ่มเติม หรือ เปลี่ยนไปหรือไม่?
การพัฒนาองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนหนี่งของการพัฒนาองค์กร และ หากปรับเปลี่ยนเป็นระบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ส่งผลต่อองค์กร การบริหาร การจัดการคน และ ผลวัตถุประสงค์สุดท้ายขององค์กร จะเกิดผลบวก หรือ ลบ เพราะในที่ผ่านมา เรานำ เทคโนโลยีสารสนเทศ แยกออกจากระบบการจัดการ และ ความหมายของการจัดการ แต่ในปัจจุบัน เราคงต้องตอบ หรือ จำเป็นต้องตอบให้ได้ว่า มันเกี่ยวเนื่องกันอย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ในระหว่างระบบการจัดการ และ ระบบสารสนเทศ
Management เครดิตภาพ http://slaterforyorktown.com/2019/11/slater-announces-bipartisan-community-transition-team/
ดังนั้น เราจึงควรต้องเรียนรู้อย่างมากด้วยการขวนขวายหา และประยุกต์ศาสตร์แห่งการจัดการทั้งหลาย มาเป็นศาสตร์ของเราเอง เพื่อประสิทธิผลที่เราต้องการ รวมทั้ง เมื่อเรา จัดการไปแล้ว มันจะแสดงให้เห็นถึง ประสิทธิภาพของหลักการจัดการของเรา ในการประกอบการทุกสิ่งมีความสำคัญทั้งนั้น แต่ การจัดการ คือ ส่วนที่ต้องเอาใจใส่ให้มากที่สุด
โฆษณา