28 ก.ค. 2020 เวลา 16:48
SAR-CoV-2 กลายพันธ์ุไปถึงไหนแล้ว
1
https://www.bioworld.com/articles/434706-cooperative-research-effort-taking-aim-at-genetics-affecting-covid-19-infection?v=preview
เป็นปกติขอไวรัสที่จะมีการกลายพันธุ์อยู่เรื่อยๆ จริงๆไวรัสไม่มีสมอง สิ่งเดียวที่มันทำคือ ทำเพื่อการอยู่รอด ไม่สนเชื้อชาติ ไม่สนว่าใครจะเป็นจะตายยังไง ขอแค่ตัวมันอยู่รอด แบ่งตัวไปได้
การกลายพันธุ์หรือ mutation จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่มันทำเพื่อการอยู่รอดนั่นเอง โดยการอยู่รอดของมัน
คือกลายพันธุ์ไปจนกว่าจะกระจายเชื้อได้เก่ง
เมื่อมันกลายพันธุ์จนกระจายเก่ง สายพันธุ์ที่กระจายไม่เก่งก็จะค่อยๆหายไป
ดังนั้นถ้าให้ไล่มาตั้งแต่แรกๆ
เดิมสายพันธุ์ของ โควิด-19 เริ่มต้นจากประเทศจีนเป็นสายพันธุ์ S และสายพันธุ์ L โดยสายพันธุ์ L แพร่กระจายได้ง่ายนอกประเทศจีน
1
แต่สายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยใน wave แรก พบหลายสายพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ S (ส่วน L ก็มีบ้างแต่ไม่เด่น ไปเด่นประเทศอื่น) แต่ดันมีลักษณะจำเพาะบางอย่างต่างจาก S ตัวแรกๆ เลยเรียกสายพันธุ์ T (มีการกลายพันธุ์ตรงตำแหน่ง 823 เปลี่ยน amino acid เป็น Threonine) ถ้างง ข้ามได้ เพราะสายพันธุ์ T นี้เกิดเฉพาะในไทย ไม่ระบาดที่อื่น
กลับมาที่สายพันธุ์ L เมื่อไประบาดนอกประเทศจีน ที่เด่นๆคือไปดังในยุโรป
ตอนอยู่ยุโรปก็มีกลายพันธุ์ เป็น 2 สาย คือสาย G และ V (โดยสายพันธุ์ G มีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่ง 614 บนหนามแหลมที่ยื่นออกมา (spike)
โดยเปลี่ยนแปลงจาก Aspartate (D) ไปเป็น Glycine (G) หรือเรียกว่าสายพันธุ์ G614
ภาพ strain ไวรัส ช่วงเดือนกพ. จะเห็นได้ว่าหลักๆ เป็น S, L
ภาพ strain ไวรัส ช่วงเดือนพค. จะเห็นได้ว่าหลักๆ เป็น G, GH, GR เป็นหลัก
สายพันธุ์ G614 นี้แพร่กระจายได้ง่ายมาก คือจับกับ ACE2 receptor ของมนุษย์ได้ง่ายมาก
และกลายพันธุ์ย่อยๆ มาเป็น สายพันธุ์ GH และ GR
ดังนั้นสายพันธุ์ G นี้เอง แพร่ระบาดได้ง่ายกว่าตัวอื่นๆมาก เพราะเวลามีคนติดเชื้อสายพันธุ์นี้ จะมีปริมาณไวรัสสูงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ปริมาณไวรัสที่สูงนี้ ก็ทำให้ติดต่อผู้อื่นได้ง่ายนั้นเอง
โชคดีที่สายพันธุ์ G นี้ เท่าที่พบคือไม่ทำให้โรครุนแรงขึ้น ยังคงเหมือนเดิม
เพียงทำให้มีการแพร่กระจายไปทั่วโลกได้มากขึ้น
ดังนั้นขณะนี้สายพันธุ์ที่แพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลก จึงเป็นสายพันธุ์ G มากที่สุด ซึ่งตอนนี้สายพันธุ์นี้ก็พบใน state quarantine ของเรา
ดังนั้น ถ้าระบาดรอบ 2 ก็เป็นไปได้ว่าจะเป็นสายพันธุ์ G สุดจี๊ดนี่เอง
ส่วนสายพันธุ์ S ที่เคยระบาดอยู่ในประเทศไทยตอนนี้พบน้อยลงมากแล้ว
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ผู้ติดเชื้อทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากๆ
กราฟผู้ติดเชื้อที่เดิมก็เป็น exponential อยู่แล้ว ก็ยิ่งชันขึ้นไปใหญ่
จาก 0-1 ล้านคนแรก ใช้เวลา เกือบร้อยวัน
จนมาล่าสุด 15 ล้าน มาเป็น 16 ล้าน ใช้แค่ 4 วันเท่านั้น
ทำ timeline ให้เห็น ว่าแต่ละล้านที่เพิ่มขึ้น ใช้เวลากี่วัน
ข้อมูลช่วงแรก (กพ.) อัตราตาย 2% ต่อมาอัตราตายประมาณ 10% ตอนนี้ที่ให้เห็นคืออัตราตายประมาณ 6% ซึ่งถ้าดูในเคสที่ active ก็คือมี serious หรือ critical อยู่แค่ 1% จากเดิมตัวเลขนี้อยู่ที่ 5%
โรคนี้รุนแรงน้อยลงหรอ จริงๆอาจจะไม่ใช่ ตอนนี้ไม่ได้มีข้อมูลว่าโรครุนแรงน้อยลง แต่เราตรวจได้เพิ่มขึ้น ตรวจเจอผู้ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการมากขึ้น (ย้ำว่าตอนนี้ ข้อมูลยังไม่สามารถสรุปได้ว่าสายพันธุ์ตอนนี้รุนแรงน้อยลง แต่ต่อไปถ้ามีข้อมูลมาเพิ่มก็จะมา update อีกที)
ย้อนกลับไปเดือนมี.ค. เราไม่มีเทสต์มากมายอย่างทุกวันนี้ ที่จะตรวจคนไม่มีอาการ เราเลยไม่เจอคนกลุ่มนี้ แต่ตอนนี้เราเจอกลุ่มนี้เยอะมาก อาจจะมากถึง 30% เลยก็ได้ในบาง paper
ซึ่งทำให้มาอยู่ฝั่งไม่รุนแรง สัดส่วนคนที่เป็นรุนแรงเลยน้อยลง เหลือแค่ 1%
ตอนนี้ ผู้มีอาการวิกฤตเหลือแค่ 1% ของผู้ติดเชื้อ
ถามว่า 1% เยอะมั้ย ก็ต้องบอกว่าไม่น้อยค่ะ เพราะตอนนี้ ถ้าเอาเคสที่ active ประมาณวันละ 2 แสน ก็แปลว่าคนอาจจะเสียชีวิต ตกวันละ 2 พันคน ไม่น้อยเลยจริงๆ
ต่อไป เป็นไปได้ว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตอาจจะค่อยๆลดลงเหลือ 0.9 --> 0.8-->0.7% ไปเรื่อยๆ แต่สัดส่วน new case มันเยอะมากๆ ดังนั้น วัดค่าความเสียหายก็ยังนับว่ามากอยู่ดี
มาดูอัตราการเกิด new case ก็จะตกใจค่ะ
ตอนนี้เรามี 16 ล้านเคสทั่วโลก ย้อนไปวันที่โลกเราทะลุล้านเคสคือวันที่
2 เม.ย. นะคะ ทำเป็น time line ให้เห็นความ exponential ของกราฟ จากนี้อีกไม่นาน เราก็จะเห็นผู้ติดเชื้อ เพิ่มขึ้นวันละ 1 ล้านเคสได้ (ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นก่อน vaccine มา) ถ้าอัตราตายยังเป็น 1% ก็ตายกันวันละหมื่นคนเลยทีเดียว
ประเทศที่น่ากังวล ว่าอาจจะไม่ใช่อัตราตาย 1% ก็คือบราซิล กับ อินเดีย
ส่วนยุโรปที่ว่าระบาดหนักไปก่อนหน้านี้
(ตอนนั้นเป็นตัวดึงให้อัตราตายสูงขึ้นอย่างชัดเจน คืออัตราตายของคนไข้ในแถบยุโรป สูงถึง 10% ไม่ใช่เพราะเค้าไม่เก่ง แต่เป็นเพราะช่วงนั้นเคสมากันเยอะมากๆ เค้าตั้งรับไม่ทัน)
ส่วนอัตราตายของอเมริกา ตอนนี้อยู่ที่ 3% (ซึ่งแนวโน้มอาจจะลดลงเล็กน้อยในอนาคต แต่อย่างที่บอก ถ้ายอดผู้ติดเชื้อยังพุ่งแบบนี้ ยังไงคนก็ตายเยอะ)
อย่างที่เห็นว่า อเมริกา ตั้งแต่เปิดเมืองเดือนเม.ย. ตายไปแล้ว 90,000 คน
แต่อย่างอินเดีย บราซิล แม้ตอนนี้จะอยู่ที่ 2-3% เหมือนกัน แต่แนวโน้มว่าจากนี้ ถ้าเคสเยอะแบบนี้ สาธารณสุขอาจจะรับไม่ไหวแล้ว
ส่วนเม็กซิโก น้องใหม่ มาแรง new comer ตัวจริง ตอนนี้อัตราตายปาไป 11% แล้ว ประเทศนี้ คาดว่าต่อไปจะสูงขึ้นกว่า 11% แล้วจะค่อยๆลดลงเล็กน้อยในอนาคต คล้ายๆยุโรป
ดังนั้น ประเทศเราหล่ะ อัตราตายน้อยมาก เคสคุมได้ มีแต่ new case ซึ่งตอนนี้ส่วนมากที่เจอ ก็ไม่หนัก เป็นพวกไม่มีอาการ หรือเป็นกลุ่มอาการน้อยเป็นส่วนมาก ก็ขออย่าให้มีรอบสองเลย
โฆษณา