30 ก.ค. 2020 เวลา 14:33 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วิธีอ่านงบการเงิน ฉบับนักลงทุนมือใหม่แบบเข้าใจง่าย
สำหรับบทความนี้ เป็นการรวบรวมเคสต่างๆ และวิธีการอ่านงบการเงินมาให้ แบบฉบับย่อสุดๆ ที่น่าจะเข้าใจได้ง่ายนะคะ สำหรับนักลงทุนมือใหม่โดยเฉพาะ เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาก่อนที่จะเลือกลงทุนในบริษัทใดบริษัทหนึ่งได้แบบเซฟๆ ค่ะ
โดยจะลองตั้งเป็นหัวข้อคำถาม (Q) และคำตอบที่เป็นวิธีการอ่านงบ (A) เหมือนแบบถาม-ตอบกันนะคะ
Q : บริษัทรวยหรือไม่?
A : ดูได้จากกำไรสะสมเยอะๆ แต่ให้ดอกจันไว้คือ กำไรสะสม เป็นเพียงตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น ไม่ได้อยู่ในรูปของเงินสดที่พร้อมใช้ได้ทันทีทั้งจำนวน แต่อาจอยู่ในรูปสินทรัพย์อื่นด้วย
1
Q : สินทรัพย์ที่มี ดีหรือเปล่า?
A : ✔ เช็คยอดลูกหนี้การค้า สินค่าคงเหลือ มีมากกว่าปกติหรือไม่
✔ ดูอายุหนี้ที่ค้างชําระ ซึ่งสามารถดูได้จากหมายเหตุประกอบงบการเงิน
Q : หนี้สินเยอะมากเลย จะลงทุนในบริษัทนี้จะดีเหรอ?
A : ถ้าเป็นเจ้าหนี้การค้า ส่วนใหญ่จะไม่มีดอกเบี้ย แต่หนี้ระยะสั้น จะมีดอกเบี้ยเสมอ ซึ่งเป็นภาระที่ต้องจ่ายในอนาคตต่อไป
Q : กำไรเยอะๆ ได้เป็นเงินสดบ้างหรือเปล่า?
A : ✔ ดูกระแสเงินสดจากกิจกรรมการดําเนินงาน ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ ซึ่งจะสัมพันธ์กับงบดุล
✔ การที่ลูกหนี้การค้าเพิ่มหมายถึง บริษัทได้นําทรัพยากรที่มีไปสร้างรายได้แล้ว แต่ยังไม่ได้รับเงิน จึงเปรียบว่าเงินสดลดลง การที่ลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ จึงให้สงสัยไว้ก่อน
Q : บริษัทมีการลงทุนอะไรใหม่ๆ หรือไม่?
A : ✔ เงินลงทุนในเครื่องจักร อุปกรณ์ ที่ดิน สามารถดูได้จาก งบกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
✔ เช็คว่าบริษัทไปซื้อที่ดินทิ้งไว้ หรือลงทุนอะไรที่น่าจะเกี่ยวข้องหรือไม่
✔ หากพบให้ลองดูหมายเหตุประกอบงบการเงินจะมีคําชี้แจง
Q : บริษัทแอบไปก่อหนี้หรือเปล่า?
A : ดูได้จาก งบกระแสเงินสดจากิจกรรมจัดหาเงิน จะบอกถึงการกู้ระยะสั้ัน – ยาว รวมถึงการจ่ายคืนหนี้หนี้
Q : รายได้ มีแหล่งที่มาจากอะไรบ้าง?
A : ✔ โดยเฉพาะรายได้จากกำไรพิเศษ เช่น กำไรจากการขายสินทรัพย์ , กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน , ค่าชดเชยน้ำท่วม , ค่าประกันไฟไหม้ เป็นต้น
✔ ควรตัดกำไรพิเศษเหล่านั้นออก เพื่อจะได้ทราบถึงการดำเนินงานปกติของบริษัท
Q : ควรวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายอย่างไรดี?
A : ก) วิเคราะห์แนวโน้มค่าใช้จ่าย (Trend)
✔ เป็นการคำนวณเพื่อให้เห็นการเติบโตของรายการทางการเงินที่สนใจ ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร เมื่อเทียบกับปีตั้งต้น
✔ เช่น ต้นทุนขายเพิ่มขึ้น 13% ในขณะที่ยอดขายเพิ่มขึ้น 16% แสดงให้เห็นว่า บริษัทมีความสามารถในการสร้างรายได้ได้ดีขึ้น
1
ตัวอย่างวิธีคำนวณ Trend
ข) วิเคราะห์สัดส่วนของค่าใช้จ่าย (Common Size)
✔ โดยการเปรียบเทียบเป็นอัตราร้อยละต่อรายได้รวม
✔ เช่น ต้นทุนขาย คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 68% ส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริการ สัดส่วนประมาณ 4% และค่าใช้จ่ายในการบริหารมีสัดส่วนประมาณ 8% เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้
ตัวอย่างแสดงสัดส่วนค่าใช้จ่าย
อย่างไรก็ตามการอ่านงบการเงินข้างต้นนั้น เป็นเพียงแค่บางส่วนที่ผู้เขียนรวบรวมมาให้เพื่อเป็นตัวอย่าง และเป็นแนวทางในการนำไปปรับใช้นะคะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนมือใหม่ได้ไม่มากก็น้อยนะคะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา