31 ก.ค. 2020 เวลา 06:08 • หนังสือ
สรุปหนังสือ Money101 -เริ่มต้นสู่ชีวิตการเงินอันอุดมสุข-
2014 เป็นครั้งแรกที่ผมเริ่มรู้สึก ไม่เป็นสุข กับงานที่ผมทำ
ไม่ใช่เพราะ งานไม่ดีแต่เพราะบางทีมันทำให้ผมพลาดทำหน้าที่ใหม่ในชีวิต
"ป่ะป๊า" ของลูกสาวตัวน้อย
เวลาไปทำงานต่างประเทศเป็นเดือนๆกลับบ้านแต่ละที
แอบกลัวว่าลูกสาวที่วัยยังไม่ครบขวบดี จะจำหน้าไม่ได้
ผมเริ่มคิดจริงจังว่า ถ้าไม่ได้เป็นวิศวกรเราจะทำอะไร
รายได้จะมาจากไหนจะอยู่ได้ไหม
3
มีแต่เรื่องเงินเต็มหัวไปหมดและก็ไม่มีคำตอบ
ผมถึงได้ตระหนักว่า
เราใช้เวลาตลอดชีวิต
เพื่อเรียนรู้วิธีทำงาน
แต่ไม่เคยเรียนรู้จริงจัง
เรื่องเงิน และการบริหารเงินเลย
1
ผมเริ่มต้นอ่านหนังสือและ
จริงจังกับมันมากขึ้น
จนกระทั่งได้เจอผู้ชายคนนี้
Money Coach พี่หนุ่มจักรพงษ์ เมษพันธุ์
Money Coach จักรพงษ์ เมษุพันธ์ุ
ผมกล้าพูดได้เต็มปากว่า
ผมรอดวิกฤตเปลี่ยนอาชีพ
มาได้ เพราะความรู้ทางด้านการเงินที่พี่หนุ่มสอน
และมันก็อยู่ในหนังสือเล่มนี้แล้ว MONEY101
ครบ เข้าใจ ง่าย ใช้ได้จริงคนไทยควรมีติดตัวฮะ
เพราะถ้าเราหาเงินได้แต่ใช้เงินไม่เป็น คงน่าเสียดายมาก
เห็นด้วยไหมครับ
สรุปเล่มนี้ขอเสริมตัวอย่างจริงที่ผมใช้
ในการเอาตัวรอดก่อนจะมีรายได้จากอาชีพใหม่
แล้วก็อย่าลืมหามาอ่านกันนะเพื่อชีวิตที่อุดมสุขทุกด้าน
ขอบคุณ พี่หนุ่ม ที่ใจดีอนุญาตให้ผมได้แบ่งปันเนื้อหาในหนังสือครับ
ถ้าพิมพ์คำว่า ความรู้ทางด้านการเงิน
จะพบว่าหน้าของผู้เขียนหนังสือเล่มนี้
จะโผล่ออกมาเต็มไปหมด
จักรพงษ์ เมษพันธ์
Money Coach นักเขียนหนังสือ Best Seller
หลายเล่ม อย่าง เกมเศรษฐี, 52 สัปดาห์ 52 สินทรัพย์
ผู้แปลหนังสือขายดีตลอดกาล พ่อรวยสอนลูก
พี่หนุ่มส่งมอบความรู้ด้านการเงินให้คนไทย
มากว่า 10 ปี แบบเข้าใจหัวอกคนที่มีปัญหา
การเงินอย่างแท้จริง
1
เพราะพี่หนุ่มเคยติดหนี้กว่า 18 ล้าน
ตั้งแต่สมัยเรียนเพราะครอบครัวลงทุนพลาด
ในสมัยต้มยำกุ้ง
แต่ด้วยความรู้ทางการเงิน
ที่ได้จากประสบการณ์ตรง
พี่หนุ่มสามารถพลิกตัวเองจากติดลบ
ไม่มีเงินจ่ายหนี้จนกลายเป็น
คนที่มีอิสรภาพทางการเงิน
ด้วยวัยแค่ 34 ปี
พี่หนุ่มจะพูดกับลูกศิษย์เสมอๆว่า
“เราไม่ได้เล่นเกมส์การเงินเพื่อให้ไม่แพ้”
“แต่เราเล่นมันเพื่อให้ชนะ”
“คนเราจะจนอะไรก็ได้แต่อย่าจนความคิด”
คุณหละครับ
เล่มเกมส์การเงินแบบไหน
และพร้อมจะใช้ความคิดเปลี่ยนตัวเองให้เป็นผู้ชนะไหมครับ
1
ชนะไปด้วยกันนะครับ
ทราบไหมครับว่ารวย กับ มั่งคั่ง ต่างกันยังไง
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ว่าไว้อย่างนี้
“รวย” (ก.) ได้มาก เช่น วันนี้รวยปลา, มีมาก เช่น รวยทรัพย์ รวยที่ดิน
“มั่งคั่ง” (ว.) มีทรัพย์มากมาย, มีทรัพย์ล้นเหลือ, มีทรัพย์มาก
รวยคือ มีมาก เป็นอะไรก็ได้ (รวยหนี้ก็ได้ 555)
ส่วนมั่งคั่ง ลึกซึ้งกว่า คือ ทรัพย์มากจนมีล้นเหลือ
มีทรัพยย์ล้นเหลือนี้แหละครับ ที่หนุ่มอยากให้คนไทยเป็น
เพราะถ้าเราเหลือกินเหลือใช้ เราก็สามารถ แบ่งปันให้คนอื่นๆ
ที่ต้องการได้
Wealth หรือความมั่งคั่งทางการเงินในแบบของพี่หนุ่ม
มีหลักอยู่ 4 อย่าง
หาได้ : สร้างรายได้เลี้ยงตัว
ใช้เหลือ : บริหารค่าใช้จ่าย อย่างมีเหตุผล
เผื่อออม : เก็บออมเพื่อให้มีเงินใช้วางแผนการเงิน
ต่อยอด (ลงทุน) : นำเงินมาต่อเงินหรือใช้สินทรัพย์สร้างรายได้
======================
ประสบการณ์จริง
ตอนผมทำงานประจำ
ผมคิดว่า ผมสามารถนำรายได้
ลงมาถึงขั้นที่ 4 ได้อย่างดี
รายได้ดีงาม (ติ๊ต่างว่า 100%)
ใช้แค่ 35% เพราะไม่มีรถบ้านต้องผ่อนภรรยามีก็รายได้)
มีออมเก็บได้ราวๆ 30% จาก Provident Fund, ประกันสังคม, ประกัน, ลดหย่อนภาษี
และมีต่อยอดลงทุนในหุ้น เพิ่มพอร์ตราวๆ 5% ของรายได้ทุกปี
แต่สิ่งที่ผมได้เรียนรู้คือ
รายได้ 100% ของผมมาจากช่องทางเดียว คืองานประจำ
ถ้าจะเปลี่ยนอาชีพ มันจะกระทบกับความมั่งคั่ง
ทั้งหมดของผม
ซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะเปลี่ยนแปลง
2
แต่ถ้ามันต้องเปลี่ยนจริงๆหละ
จะพิจารณายังไงดี
หน้าถัดไปมีคำตอบ
ถ้าเราตรวจสุขภาพร่างกายทุกปี
เพื่อให้รู้ว่ามีตรงไหนต้องรักษา
การตรวจสุขภาพการเงินก็เป็นสิ่งสำคัญ
ในการรักษา ความมั่งคั่งเช่นกัน
ตามภาษาของ Money Coach
มีหัวข้อในการตรวจสุขภาพการเงิน
อยู่ 6 ข้อ
1. สภาพคล่องดี : เหลือเก็บ > 10% ต่อเดือน
2. ปลอดหนี้จน :ไม่มีหนี้บัตรเครดิตสินเชื่อส่วนบุคคล
3. พร้อมชนความเสี่ยง : มีเงินสำรองพร้อมจัดการเหตุฉุกเฉิน
4. มีเสียงสำรอง : มีเงินใช้ > 6 เดือน หากขาดรายได้
5. สอดคล้องเกณฑ์ภาษี : วางแผนภาษี ใช้สิทธิลดหย่อน เป็น
6. บั้นปลายมีทุนเกษีษณ : รู้เป้าหมายเงินเกษียณ เริ่มเก็บเงิน
2016 ผมตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนอาชีพ
ผมใช้หลักนี้ในการพิจารณาว่า สุขภาพการเงิน
ของเราเอง แข็งแรงพอจะไม่มีรายได้สัก 6-12 ไหม
==========================
บนพื้นฐานที่ว่าในระหว่างนี้ ภรรยา
จะดูแลค่าใช้จ่ายลูกให้ก่อน
==========================
ในช่วง 2 ปีที่ลังเล ผมเริ่มสร้างรายได้
จากสินทรัพย์เอาไว้รอแล้ว
2 อย่าง คือ บ้านเช่า และ หุ้นปันผล
1
สองอย่างนี้ทำให้ผมมีเงินใช้ราวๆ
15,000-20,000 บาทต่อเดือน
หมายความว่าถ้าผมประหยัดค่าใช้จ่ายตัวเอง
ได้มากพอ ผมจะคงพอมีสภาพคล่องที่เลี้ยงดูตัวเองได้
(สภาพคล่องดี : ผ่านฉิวเฉียด)
ผมไม่มีภาระหนี้ รถยนต์ บ้านเลย
(ปลอดหนี้จน : ผ่าน)
1
ผมทำประกันไว้
ทั้ง ประกันชีวิต สุขภาพ ออมทรัพย์
และยังสามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพ
ที่เป็นสวัสดิการของภรรยา
เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยได้อีกด้วย
(พร้อมชนความเสี่ยง : ผ่าน)
และหากผู้เช่ายกเลิก หุ้นเกิดไม่ปันผล
ผมก็ยังมีเงินจาก Provident fund
ที่เก็บว่าตั้งแต่ทำงาน มากกว่าค่าใช้จ่าย
ส่วนตัวรายเดือน เกิน 6 เดือน ก็ทำให้อุ่นใจได้
(มีเสบียงสำรอง : ผ่าน)
ผมวางแผนการเงินให้ตัวเองพอได้
รู้วิธีลดหย่อน และมีเงินเก็บใน RMF ที่คำนวณคร่าวๆ
แล้วว่าถ้ามันโตราว 8% ต่อไปอีก 20 ปี
(ลาออกอายุ 35 ถอนได้อายุ 55)
2
เงินก้อนนั้นจะสามารถ
เอาออกมาใช้สร้างพอร์ตหุ้น
ที่สามารถสร้างกระแสเงินสด
จากปันผลได้ราว 20,000 บาท
(คิดปันผลราวๆ 4%)
1
รวมกับ Passive income เดิม
ก็น่าจะทำให้ผมมีรายได้ต่อเดือนที่ 40,000 บาท
ไม่เลวสำหรับคนสูงอายุ
ผลสุขภาพการเงินนี้
ทำให้ผมกล้าตัดสินใจเปลี่ยนแปลงมากขึ้น
ย้ำอีกทีว่าผมไม่ได้บอกว่า งานประจำไม่ดีนะฮะ
มันแค่ไม่เหมาะกับผมในตอนนั้นเท่านั้นเอง
สุขภาพการเงินของคุณหละครับ
เป็นยังไงบ้าง
ถ้าวันหนึ่งบริษัทมีปัญหา
และเราต้องถูกให้ออก
จะทำยังไง
ถ้าวันหนึ่งเราเกษียณ
จะเอาเงินจากที่ไหน
เลี้ยงดูชีวิต
เป็นคำถามที่ผมไม่เคยถามตัวเอง
เลยเพราะว่า บริษัทผมมั่นคงมาก
แถม Provident fund
ก็ดีสุดๆ ซึ่งน่าจะทำให้ผมมีกินมีใช้
เป็นวิศวกรแท้ๆแต่ไม่เคย
คำนวณตัวเลขเลย
จนกระทั่งต้องออกจากงานนี่แหละ
พี่หนุ่มสอนว่าถ้าอยากไร้กังวลเรื่องเงิน
ต้องรู้จักตระกร้า 3 ใบ
ใบแรก : เงินกันงง
สอดคล้องกับ “พร้อมชนความเสี่ยง”
มีเงินสำรองกรณีรายได้หลักหายไประยะสั้น
6-12 เดือน
1
ตอนออกจากงานประจำผมขายคืน
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ
LTF (Long Term Equity Fund)
ที่ซื้อไว้เมื่อ 5 ปีก่อนมาใส่ตะกร้านี้
ทำให้ผมพอจะมีกระแสเงินสด ให้นอนหลับได้
ใบที่สอง : เกษียณรวย
สร้างเงินรายได้ที่มากพอใช้ยามเกษียณ
ถ้าลูกๆผมหาเงินได้เองแล้ว
ไม่มีภาระหนี้อะไร ความต้องการใช้เงินของ
ผมก็น่าจะอยู่ที่ 40,000 บาทต่อเดือน
ตามหลักการวางแผนการเงินนั้น
อายุสูงสุดของเราจะคิดจาก
ปู่ ย่า ตา ยาย ที่อายุมากที่สุด
บวกไปอีก 5 ปี
1
ปู่ผมเสียตอน 91 เท่ากับ
มีความเป็นไปได้ที่ผมจะอายุ 96 ปี
ก่อนจากโลกนี้ไป
ถ้าจะเกษียณตอน 60 ควร
หาเงินก้อนใหญ่ได้เท่ากับ
ค่าใช้จ่ายต่อเดือนคูณด้วยจำนวนเดือน
ที่มีชีวิตหลังเกษียณ
40,000 บาท * 12 เดือน * (96-60)
=17.3 ล้านบาท
หลายคนอาจตกใจว่า
จะไปหาจากไหน
แต่ถ้าเราใช้พลังของดอกเบี้ย
และระยะเวลาออมแล้วเราจะพบว่า
ไม่ยากเกินไป
สำหรับกรณีผมนั้นคำนวณแล้ว่า
ถ้า ฝากเงินเข้ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
หรือ  RMF (Retirement Mutual Fund)
ด้วยจำนวนเงินเท่าๆกับที่เคยทำได้
ทำต่อเนื่องไป 25 ปี
ถ้ากองทุนนั้นให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 8%
เมื่อครบอายุ 60 ปี ผมจะมีเงินเก็บอยู่ที่ 30 ล้านบาท
ซึ่งเหลือพอใช้ (รวมผลเงินเฟ้ออีกนิดหน่อย)
FYI
เงินต้น : 1,500,000
สะสมเพิ่ม : 20,000 บาทต่อเดือน
จำนวนเดือนที่สะสม : 300 เดือน (จากอายุ 35-60 ปี)
ผลตอบแทนเฉลี่ย : 8%
1
เงินต้น : 7.5 ล้าน
ผลตอบแทนจากการลงทุน : 22. 6 ล้าน
ยอดรวม : 30 ล้าน
ใบที่สาม : เกษียณรวย
และพี่หนุ่มยังสอนผมเพิ่มอีกว่า
ถ้าอยากมีอิสรภาพทางความคิด
ทำในสิ่งที่รักได้จริงๆ โดยไม่กังวลเรื่องเงิน
ควรมีสินทรัพย์ที่สร้างกระแสเงินสดให้เราได้
มากกว่าค่าใช้จ่าย
เป็นที่มาของการเริ่มสะสม บ้านเช่า
และหุ้นปันผลของผม
1
ปัจจุบัน ผมก็มีรายได้ที่เป็น Passive income
เพิ่มเช่น
2
1. ปันผลจากบริษัทที่ร่วมลงทุนกับเพื่อนๆ
2. รายได้ค่าลิขสิทธิ์หลักสูตรอบรมที่พัฒนาขึ้น
3. หนังสือ
4. คอร์สออนไลน์
ตอนนี้มันอาจจะยังไม่มากพอจะดูแลครอบครัวได้
แต่ถ้าขยันทำต่อไป วันหนึ่งน่าจะเป็นจริงได้
ถ้าปลูกผลไม้ยืนต้นต้องใช้ความอดทน
สร้างรายได้จากสินทรัพย์ก็ต้องใช้เวลาเช่นกัน
สุภาษิตจีนกล่าวไว้ว่า
ถ้าเวลาที่ดีที่สุดในการปลูกต้นไม้
เพื่อให้ร่มเงาคือ 20 ปีที่แล้ว
และเวลาที่ดีที่สุดรองลงมาคือ
เดี๋ยวนี้
เริ่มเลยนะครับ 20 ปีข้างหน้าจะได้สบาย
(5) หนี้จน VS หนี้รวย
ผมเกลียดหนี้มาก
แม่สอนผมไม่ให้ติดหนี้
ผมแทบไม่เคยผ่อนอะไรเลย
รถยังอดทนเก็บเงินซื้อสดเลยฮะ
ผมจึงไม่เคยเรียนรู้ว่าหนี้
มันให้ทั้งคุณและโทษได้
ถ้าเราเข้าใจวิธีคิด
พี่หนุ่มสอนให้ผมรู้จักคำว่า
หนี้จน และ หนี้รวย
หนี้จนคือ หนี้ที่ทำให้เงินในกระเป๋าเราลดลงทุกเดือน
เช่นหนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด
ถ้านับหนี้เป็นเพื่อน เพื่อนคนนี้ก็นำมาแต่ภาระ
ไม่น่าคบหา
ส่วนหนี้อีกแบบ เรียกว่าหนี้รวย
หนี้แบบนี้แม้จะมาพร้อมภาระ แต่เขาก็สร้างผลตอบแทน
ที่สูงกว่าให้ ทุกๆเดือนเงินในกระเป๋าเราจะงอกเงย
เป็นเพื่อนที่ใช้ได้
ตัวแปรหนึ่งที่ทำให้หลายๆคน
ที่มีปัญหาชีวิตไม่สมดุลคล้ายๆผม (ครอบครัว สุขภาพ ลูก)
ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตได้
เพราะเขามีหนี้จนก้อนใหญ่ๆ อย่างบ้านและรถ
ที่มีภาระค่าใช้จ่ายหลายหมื่น
พี่หนุ่มสอนว่า
แม้หนี้ บ้าน รถ จะเป็นหนี้จน
แต่ถ้ามันจำเป็นในการดำรงชีพ
เราสามารถมีมันได้ แต่ควรให้เหมาะสม
กับกำลังของเราด้วย
เพราะวันหนึ่งที่รายได้เราหายไป
ภาระตรงนี้จะทำให้เรานอนไม่หลับได้
(6) 4 วิธีรับมือความเสี่ยง
หลักการของการรับมือความเสี่ยงนั้นมี 4 วิธี
เลี่ยง : ก่อนออกจากงาน ผมพยายามเปลี่ยนเวลาเดินทาง
มาใช้ออกกำลังกายมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในการป่วยทำงานไม่ได้
(เพราะสำหรับฟรีแลนด์ที่มีรายได้ประจำ การทำงานไม่ได้คือการไม่ได้เงินตรงๆ)
2. คุม : ตอนทำงานประจำ ผมเลิกเหล้า นอนให้พอมากยิ่งขึ้น เพื่อเลี่ยงอาการ
หลับใน งง ตอนขับรถ
3. โอน : ผมทำประกันเพิ่มอีกชุดเพื่อให้มั่นใจว่าลูกๆผมจะมีเงินเรียนจนจบ
หากผมจากไปก่อนวัยอันควร และมีเงินชดเชยหากทำงานไม่ได้
4. รับ : ผมมีโรคประจำตัวบางอย่างที่ประกันไม่รองรับ ผมเลยต้องมีเงินเก็บสำรอง
อีกก้อนให้มั่นใจถ้าโรคร้ายกำเริบจริงๆ ผมจะรับมือกับมันได้ดีพอ
คุณหละครับมีพฤติกรรมอะไรบ้างที่เสียงต่อการเจ็บป่วย
และรับมือกับมันยังไง
แล้วถ้าจะทำประกันอะไรได้บ้าง
หนังสือเล่มนี้ให้แนวทางไว้ว่ามี 4 แบบ
ตลอดชีพ เบี้ยถูก ทุนประกันสูงเหมาะสำหรับการเริ่มต้น
แต่ก็มีโอกาสได้เงินคืนน้อยเพราะต้องรออายุ 90/99
2. สะสมทรัพย์ แบบนี้เน้นที่ผลตอบแทนหลังฝากประกันครบสัญญา
จ่ายเยอะแต่ทุนประกันก็ไม่ได้มากตามเหมาะสำหรับคนที่ต้องการเก็บเงิน
ให้ตัวเองในบั้นปลายในขณะเดียวกันก็ประกันความเสี่ยงไว้ให้คนที่อยู่ข้างหลัง
1
3. ช่วงเวลา เบี้ยถูกทุนประกันสูง แต่เป็นเบี้ยแบบจ่ายทิ้งอาจจะเหมาะกับ
ช่วงเวลาที่ลูกๆยังเรียนหนังสือ หรือ ช่วงที่งานของเรามีความเสี่ยงเพิ่ม
เช่นเดินทางบ่อยๆ ทำงานที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าปกติ
4. ประกันแบบควบลงทุน เป็นประกันที่เพิ่มเติมมาภายหลัง
โอกาสได้รับผลตอบแทนหลังหมดสัญญาสูงขึ้น แต่ก็มีความเสี่ยง
ที่ผลตอบแทนจะน้อยลง เหมาะกับคนที่มีเงินมากๆ
สำหรับตัวผมที่ภรรยาเองก็มีรายได้
และต่างก็ไม่มีประวัติน่าเป็นห่วงเรื่องสุขภาพทั้งคู่
ผมจึงเลือกประกันแบบสะสมทรัพย์และควบลงทุนเป็นหลัก
ประเด็นสำคัญอีกอย่างของการซื้อประกันนั้นคือ
ซื้อแต่พอดี อย่ามากเกินจนเสียโอกาสลงทุนต่อยอด
2
ยิ่งสำหรับคนที่ไม่ได้ทำงานประจำ
ควรมีประกันให้มั่นใจได้ว่า ครอบครัวจะไม่มีปัญหา
หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
1
อีกสิ่งหนึ่งที่ผมชอบที่สุดในหนังสือเล่มนี้
กลับไม่ใช่เรื่องทั้งหมดที่เล่ามาครับ
แต่เป็นเรื่อง เล็กๆน้อยๆอย่างการเก็บออม
เปลี่ยน เศษเงินให้เป็นโอกาสในชีวิต
ด้วยเทคนิคออมเงินจากกระปุก
พี่หนุ่มสอนว่าถ้าสามารถเก็บเศษเงินได้
ให้ลองหยอดใส่กระปุก 3 ใบ
เหรียญ 25,50 สตางค์และเหรียญบาท
ให้ใช้สำหรับ “ออมบุญ”
เวลามีงานบุญ ก็ควักส่วนนี้ไปใช้
เหรียญ 5, 10 ใข้สำหรับสร้างพอร์ตการลงทุนระยะยาว
ทุกครั้งที่เต็มกระปุก ก็น่าจะได้หลักพัน
เราก็จะได้เงินไปลงทุนในกองทุน หากสะสมอย่างต่อเนื่อง
ให้ได้สักปีละ 12,000 บาท ทำต่อเนื่องสัก 25 ปี
ด้วยอัตราผลตอบแทน 8% เราจะมีเงินใช้ราวๆ
957,000 บาทได้เลยทีเดียว (เกษียณรวย)
1
ส่วนอีกวิธีที่น่าสนใจคือกระปุก แบงค์ 50
ด้วยไอเดียที่ว่าทุกครั้งที่ได้เงินทอนเป็นแบงค์ 50
จะหยอดกระปุก
พี่หนุ่มไม่ได้แนะนำว่าให้เอาไปทำอะไร
ผมเลยคิดว่าเราจะเลือกเอาไปลองเรียนรู้อะไรใหม่ๆ
หรือเลือกเร่งให้พอร์ตลงทุนโตไวขึ้นก็ได้
จำได้ว่าตอนที่ออกจากงานใหม่ผมลองเก็บ
แบงค์ 50 ดู ได้เงินมาไม่น้อยเหมือนกันครับ
ลองกันดูนะฮะ นอกจากจะได้ประโยชน์เรื่องการลงทุนแล้ว
มันยังทำให้เรามีวินัยและเห็นความสำคัญของการใช้เงิน
อย่างรู้คุณค่า
#มีสลึงพึงบรรจบให้ครบล้าน
#เล็กน้อยxสม่ำเสมอ=มหาศาล
1
เรื่องหนึ่งที่พี่หนุ่มเขียนไว้แล้วผมเห็นด้วย
เป็นอย่างยิ่งคือ
ผู้ที่สามารถมีความอุดมสุขทางการเงินได้
ต้องเป็นผู้ที่มี 3 สิ่งนี้ครบ
มีความรับผิดชอบต่อชีวิตและการเงินของตนเอง
มีความรู้ในการเงินที่มากพอ
มีวินัยทั้ง การหาเงิน การใช้จ่าย ออม และลงทุน
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาคนที่มีความมั่งคั่ง
ที่ผมรู้จัก ล้วนมีสิ่งนี้ทั้ง 3 อย่าง
ผมเองก็ไม่ได้มีมันอย่างสมบูรณ์แบบ
ทุกด้าน แต่ผมก็โชคดีพอที่
กล้าตัดสินใจ รับผิดชอบเก็บเงินโบนัส
หักเงิน Provident Fund แบบเต็มจำนวนทุกเดือน
หาความรู้ด้านการเงินผ่านหนังสือและ Youtube
มากมาย และก็โชคดีมากพอที่สร้างวินัยการเงินที่ดีพอประมาณ
จนสามารถเอาตัวรอดได้ในที่สุด
ถ้าคุณกำลังต้องเจอกับช่วงเวลาวิกฤต
แต่ติดว่าการเงินของคุณ ไม่เป็นใจ
อย่าเพิ่งท้อนะฮะ อ่านหนังสือเล่มนี้
แล้วทำตาม ไม่นานปัญหาด้านการเงินก็จะดีขึ้นแน่นอน
ขอให้โชคดีเกิดแก่คนที่ลงมือทำทุกคนครับ
พี่หนุ่มพูดเสมอว่า เกิดมาจนไม่ผิด แต่การปล่อยให้ชีวิต
อยู่กับความจนนั้นแหละที่ใช่
อย่ายอมแพ้
1
“เพราะความมั่งคั่งและความสุขเป็นสิทธิของคนทุกคน”
เห็นด้วยไหมครับ
1
สรุปให้ เป็นหน้าเดียวตาม Concept เพจสรุปให้ครับผม
http://tiny.cc/money101_book
สามารถติดตามการสรุปหนังสือดีๆแบบนี้ได้ที่นี่ และ Facebook Fanpage สรุปให้ครับผม ชอบอ่านแนะนำว่าที่นี่ ถ้าชอบประหยัดเวลาแนะนำว่า ที่ Facebook ครับ
#เปลี่ยนประเทศด้วยความรู้
#สรุปให้
#SenseiPae
โฆษณา