1 ส.ค. 2020 เวลา 08:27 • หนังสือ
สรุปหนังสือ The Power of output
2
อ่านหนังสือเยอะแต่ชีวิตไม่เปลี่ยน
อาจไม่ต่างอะไรกับไม่อ่านหนังสือ
ให้หนังสือเล่มนี้ช่วยคุณกันครับ
Best Seller แห่งปี 2019 เล่มหนึ่งของญี่ปุ่น
The Power of Output
How to Change Learning To Outcome
(1) Kabasawa Shion
1-1 นักจิตแพทย์
1-2 นักเขียน Best Seller
1-3 Influencer ในญี่ปุ่น
เป็นมนุษย์ Super Productive คนหนึ่งของญี่ปุ่น
เขียนบทความลง Social ทุกวันมี Youtube Channel
ดูหนังได้หลายๆเรื่อง่ต่อเดือนมีเวลาไปกินสังสรรค์กับเพื่อน
แ่ต่ก็ยังมีเวลาเขียนหนังสือได้ 1-3 เล่มต่อปี
(ติดต่อกันมาหลายปีแล้ว)
รีวิวภาพยนต์ที่ดูแทบทุกเรื่อง
ที่สำคัญอ่านหนังสือได้เดือนตก 10-20 เล่ม
เขาทำได้ยังไปเรียนรู้กัน
เนื้อหาหลักของหนังสือจะพูดถึง
Input, Output และ Outcome
ถ้าอยากได้ผลลัพธ์(Outcome)ก็ต้องเปลีย่น
Input จากการเรียน อ่านหนังสือ เข้าสัมมนา
เป็น Output ให้ได้
คุณ Kabasawa ให้ไอเดียไว้ว่า
การทำ Output นั้นก็มี 4 แบบหลักๆ
1. Talk
2. Write
3. Do
4. Train
4
จะเข้าใจเรื่องของ Output
ได้ดีต้องรู้จักกฏและนิยามของมัน
1
Output ในหนังสือเล่มนี้คือ การเปลี่ยน Input
ด้วยการทำบางอย่างให้เกิดผลลัพธ์
1
และผลลัพธ์นั้นจะนำไปสู่ รายได้หรือคุณค่าบางอย่าง
เช่นอ่านหนังสือ (Input)
เขียนรีวิว อัดพอดแคส (Output)
ตกผลึกเอาไปบรรยาย (ResultX
สร้างรายได้ได้เป็นต้น
3
พูดภาษาผมเอง output
เป็นสะพานเชื่อมของความรู้กับความสำเร็จฮะ
กฏของ Output มีด้วยกัน 4 ข้อ
1
1. การเปลี่ยนความทรงจำระยะสั้นเป็นระยะยาว
ความทรงจำระยะยาวในที่สุดแล้วจะพัฒนาเป็นความสามารถหรือทักษะบางอย่างในที่สุด
ใจความสำคัญคือต้องเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้
ผ่าน Output บางอ่ย่าง เพื่อให้ได้ความทรงจำระยะยาว
วิธีการง่ายๆในหนังสือเล่มนี้คือ
ใช้เรื่องที่เรียนรู้อย่างน้อย 3 ครั้งใน 2 สัปดาห์
กฏข้อที่ 2 สร้าง Output ทุกครั้งที่มี Input
มี In ไม่มี Out ก็ไม่มี Result ครับ
ท่องไว้เลยว่าเรียนอะไรมาให้หวิธิออก Output ให้ได้
กฏข้อที่ 3 สัดส่วนทองคำของ Input : Output
อาจจะตรงข้ามที่หลายคนคิดไว้
แต่หนังสือเล่มนี้บอกว่า แค่มี Input
สัก 3 ส่วนก็ควรออก Output สัก 7 ส่วนได้แล้ว
เช่น อ่านหนังสือได้ 3 เล่มก็ควรเริ่มทำอะไรบ้างอย่าง
ไม่ต้องรอให้ครบ 10 เล่มค่อยเขียนหนังสือ
กฏข้อที่ 4 Feedback จะช่วยให้เราเติบโต
ทุกครั้งที่มี Output ไม่ว่าจะดีไม่ดี
อาจจะไม่สำคัญเท่าเราได้รับ Feedback
ที่ดีหรือไม่
Feedback ที่ดีเท่านั้นที่จะทำให้เราเก่งขึ้น
หา Feedback ดีๆกันนะฮะ
งานวิจัยของมหาวิทยาลัย North Carolina ระบุว่า
สัดส่วนของคำพูดที่เป็นบวก กับเป็นลบมีผลอย่างมากกับ
ความสำเร็จในชีวิตด้านต่าง
งานวิจัยระบุว่าทีมที่มีสัดส่วนระหว่างคำพูดดีกับไม่ดี
อยู่ที่ 3:1 นั้นมักจะไปได้สวยในการทำงาน
ตรงกันข้ามคือ ต่ำกว่า จะมี Engagement กับบริษัทน้อยมากๆ
และประสิทธิภาพทำงานต่ำ
และจะยิ่งทรงประสิทธิภาพมากขึ้นหาก
สัดส่วนนี้เพิ่มเป็น 6:1
2
งานวิจัยอีกชิ้นที่ใกล้เคียงกันของ Dr. John Gottman ระบุว่า
ในกรณีของสามีภรรยาหากอัตราสัดส่วนเดียวกันนี้
น้อยกว่า 5:1 โอกาสที่คู่นั้นจะอยู่กันโดยหย่าร้างมีสูงกว่า
คู่ที่พูดดีต่อกันถึง 94%
2
คำพูดมีผลกับชีวิตมาก ดูแลมันให้ดีก่อนจะพูดไปกันนะครับ
1
ii-2 : 7-38-55 Rule
ใช้คำพูดสุภาพแล้วนะ
บางทีก็แทบไม่ค่อยได้พูดกันเลย
ทำไมเพื่อนร่วมงานเรา ไม่ชอบเรา
แฟนก็เปลี่ยนไปได้ ไม่เข้าใจ
อาจจะมีหลายคนแย้งจากข้อที่แล้ว
หรือผ่านประสบการณ์ตรงเช่นนี้มาก่อน
อันที่จริงงานวิจัยก่อนหน้าไม่ได้ผิด
แต่แค่อาจจะไม่ได้บอกเราว่าจริงๆ
การสื่อสารมีมากกว่า คำพูดหรือ คำศัพท์ที่ใช้ครับ
1
ในแต่ละครั้งของการสื่อสารนั้น
จะมี 3 องค์ประกอบที่ผู้รับสารรู้สึกได้
1.คำศัพท์ หรือ คำพูดที่ใช้ ความหมายใกล้เคียงกันในปี 1964 Professor Albert Mehrabian เผยแพร่งานวิจัยที่ระบุว่า
คำศัพท์ มีผลต่อความรู้สึกเพียง 7%
ที่เหลือ 93% ไปอยู่ไหนนะ
1
คำตอบคือไปอยู่ที่ 2. โทนเสียง (สูง ต่ำ ยาว สั้น ร่าเริง เครียด)เสีย 38%
ในขณะที่ 3. ภาษากาย หรือ สิ่งที่เราไม่ได้ตั้งใจสื่อสารอย่างใบหน้า
นั้นมีผลถึง 55%
1
นี่เป็นคำตอบว่าทำไมพูดเพราะ สุภาพแล้ว
คนก็ยังไม่รู้สึกว่าเป็นมิตร
มาใส่ใจวิธีสื่อสารของเรากันนะครับ
ทั้ง คำพูด น้ำเสียง และภาษากาย
พูดเพราะหวังดีกับผู้ฟังแต่ทำไมเขากลับไม่ชอบหน้าเรา
อาจจะเป็นไปได้ว่าเราใช้วิธีการสื่อสารที่ไม่ถูกวิธีเท่าไหร
เคล็ดลับที่ชื่อ Cushion Speech ช่วยท่านได้
ไอเดียของมันคือ สื่อสารด้วยสารเดิมนั่นแหละ
แต่ทำให้ผู้รับสารได้ความรู้สึกถูกคุกคามน้อยที่สุด
1
No,But ตำหนิอย่างเดียว
เช่น “มาสายอีกแล้วทั้งที่ทำงานก็ใช้ได้”
1
จริงๆ “ทำงานก็ใช้ได้” เป็นสิ่งที่ดีในตัวของเขา
แต่พอมาอยู่หลังคำตำหนิอย่าง มาสายอีกแล้ว
กลายเป็นพลังบวกหายไป
วิธีนี้ไม่แนะนำ
2.Yes,But ลูบหลังแล้วตบหัว
“ทำงานใช้ได้นะแต่มาสายบ่อยไปหน่อย”
วิธีนี้เริ่มต้นจากคำชมก็จริง
แต่พอตามด้วยคำตำหนิก็ทำให้
ผู้ฟังกลับมารู้สึกธรรมดาไม่ดีใจเสียใจ
ยังไม่แนะนำเช่นกัน
3.Yes,And ชมแล้วเสริมให้
“ทำงานใช้ได้นะถ้ามาตรงเวลาด้วยจะดีมาก”
ถ้ามาตรงเวลาด้วยจะดีมาก จริงๆเป็นสิ่งที่เขา
ทำได้ไม่ดีแต่พอเราพูดแบบนี้ ผู้ฟังจะรู้สึกมีกำลังใจ
อยากทำมากขึ้นเพราะไม่ได้รู้สึกว่าโดนตำหนิ
3
ลองสื่อสารแบบนี้ดูนะฮะ
6
4.Yes, How ชมแล้วแนะนำวิธีการ
แต่สุดยอดของสุดยอดคือวิธีนี้
“ทำงานใช้ได้นะถ้าจะดีกว่านี้พัฒนาอะไรได้บ้าง”
1
โดยส่วนตัววิธีนี้เวิร์คเพราะว่าเราไม่ตัดสินเขา
แต่ให้เขา Feedback ตัวเอง โดยธรรมชาติ
ทุกคนเห็นข้อดีเสียของตัวเองครับ ถ้าให้เขาได้พูดเอง
เขาจะตั้งใจปรับปรุงตัวเองมากกว่า และได้ความรู้สึกว่าเรา
ไม่พอใจและไปสั่งเขาให้ทำ
3
ครั้งสุดท้ายที่เขียนหนังสือเต็มหน้ากระดาษ A4 คือเมื่อไหรครับ
ในยุคสมัยที่คน พิมพ์มากกว่าเขียน
2
การเขียนเลยกลายเป็นสิ่งที่คนทำงานทำน้อยลงจริงๆ
(เว้นแต่จะจดโน้ตในสมุดหรือ Tablet)
หนังสือเล่มนี้พูดถึงงานวิจัยของมหาวิทยาลัย
Princeton ที่ทำร่วมกับ มหาวิทยาลัย California
ที่ชื่อว่า The Pen Is Mightier Than the Keyboard:
Advantages of Longhand Over Laptop
Note Taking ของคุณ
Pam A. Mueller1 and Daniel M. Oppenheimer2
3
งานวิจัยนี้บอกไว้ชัดเจนว่า
นักศึกษาที่ใช้วิธีการจดโน้ต
มีคะแนนการเรียนที่ดีกว่า นักศึกษาที่ใช้การพิมพ์เพื่อบันทึกความรู้
และยังมีความทรงจำเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนได้ดีกว่าด้วย
ถ้าตอนนี้เราเน้นพิมพ์เพื่อจดบันทึก
ลองหาสมุดหรือ Tablet ไม่ก็มือถือที่เขียนได้สักเครื่อง
ติดตัวไว้นะครับ
อาจช่วยให้เราได้ ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
อ่านหนังสือเยอะ แต่จำเนื้อหาไม่ค่อยได้
ใครเจอปัญหาเหล่านี้บ้างครับ
คุณ Kabasawa ที่เป็นนักจิตแพทย์
เป็นคนที่อ่านหนังสือ 1-3 เล่มใน 3 วัน
เขียนหนังสือเกี่ยวกับการอ่านชื่อ
2
เทคนิคอ่านให้ไม่ลืมที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ
เขาแนะนำว่าให้ขีดเส้นใต้ ไฮไลท์ หรือ เขียนเรื่องที่ตัวเอง
ได้เรียนรู้จากการอ่านหนังสือเล่มนั้นสัก 3 เล่ม
1
ถ้าทำอย่างนี้จะจำได้ไม่ลืมเลยครับ
อยากบอกว่าจริงๆนะ (ผมทำสรุปให้ทุกคนอ่านแล้วรู้สึกได้เลยว่าจำแม่นขึ้น)
เรื่องนี้ยืนยันได้จากหนังสือ Super Productive ของคุณรวิศที่พูดไว้ว่า
Bill Gates เองก็ชอบคุยกับหนังสือที่เขาอ่านด้วยการเขียนลงไปในพื้นที่ว่างๆ
ในหนังสือ
1
ถ้าคอนเฟิร์มกันเยอะขนาดนี้ ก็น่าลองดูนะครับ
Oxford เขาได้แนะนำเทคนิค
การจดไว้ดีมาก คือ สร้างกรอบความคิดหรือจัดพื้นที่ขึ้นมา
บนหน้ากระดาษก่อน พอเรื่องที่คุยเกี่ยวกับพื้นที่ไหน
ก็เอาข้อมูลใส่ลงไป
วิธีนี้เรียกว่า Carnell Method
คล้ายๆกับหลักการ “Prioritizing หรือ ใส่กรอบครอบหัวข้อ”
ในหนังสือ เปลี่ยนยากเป็นง่ายด้วยกระดาษหนึ่งใบที่คนญี่ปุ่นใช้เลยครับ
2
ผมลองเอาไปใช้ระหว่างประชุมแล้ว Work มาก
ประชุมจบแทบจะยกมาคอนเฟิร์มเนื้อหากับผู้ร่วมประชุมได้เลย
The Power of Output บอกว่าจริงๆไม่ต้องจดเป๊ะก็ยังได้นะ
เพียงแค่เราขีดๆเขียนๆอะไรบางอย่างระหว่างฟังเรื่องอะไรสักอย่าง
1
เราจะสามารถจดจำเนื้อหานั้นเพิ่มขึ้นได้ถึง 29% แม้จะขีดรูปที่ไม่เกี่ยวข้องกับ
เรื่องการประชุมนั้นเลย
1
แถมการขีดๆเขียนๆไปเรื่อยๆนี้ยังช่วยให้ Ford Henry、Steve Jobs
ค้นพบสิ่งใหม่ๆอีกด้วย
1
สิ่งที่คุณ Kabasawa รวมถึงนักเขียนชื่อดัง
และคนวงการอื่นๆที่ประสบความสำเร็จล้วนมี
1
ความสม่ำเสมอ
เราทุกคนรู้ดีว่า วินัยและความสม่ำเสมอนั่นสำคัญมาก
แต่น้อยคนนักที่จะทำได้
1
คุณ Kabasawa ให้ไอเดียว่า
เราจะรักษาความสม่ำเสมอได้ก็เมื่อ
สมองหลั่ง โดพามีน ในขณะที่ทำกิจกรรมที่
เราต้องการความสม่ำเสมอ
5 พฤติกรรมต่อไปนี้จะช่วยให้สมองหลั่งโดพามีนได้ง่ายขึ้น
1. โฟกัส กับสิ่งที่ทำให้ดีที่สุด
2. สนุก ไปกับสิ่งที่ทำ (พยายามหาวิธีสนุกกับมัน)
3. ซอยเป้าหมายออกเป็นย่อยๆเพื่อให้รู้สึกว่าทำไหว
4. ให้รางวัลตัวเองเล็กๆน้อยๆ เมื่อทำได้ตามเป้า
5. จดบันทึกความก้าวหน้า ความสำเร็จ หรือสิ่งที่ทำให้มีแรงจูงใจในการทำต่อเนื่อง
6
เพียงเท่านี้เราก็เป็นคนทำอะไรสม่ำเสมอได้แล้ว
#เล็กน้อยxสม่ำเสมอ=มหาศาล
2
ถามสนุกๆอย่าโกรธผมนะครับ
1
คิดว่าเนื้อที่กำลังอ่านอยู่เนี่ย
ผ่านไป 2 สัปดาห์จะจดจำได้เท่าไหร
ผมไม่ได้กำลังตัดพ้อทุกคนนะครับ
ผมแค่จะบอกว่าวิธีการเรียนรู้มีผลต่อความจำระยะยาวมาก
National Training Laboratories โดยคุณ Bethel, Maine จาก USA
ได้สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ขึ้นมาชื่อ
Learning Pyramid
1
มันพูดถึงความทรงจำระยะยาวของคนเราหลังผ่านการเรียนรู้
ในรูปแบบต่างๆกัน
ทฤษฏีนี้ระบุว่า ถ้าเราฟังเฉยๆ
ผ่านไป สองสัปดาห์เนื้อหาที่เข้าหูเรานั้น
จะเหลือในความทรงจำระยะยาวเพียง 5%
ในขณะที่ อ่าน เหลือ 10% ทำทดสอบเหลือ 30%
แต่วิธีที่ทำให้จดจำได้แม่นยำที่สุด
ก็คือ สอนผู้อื่น (วิธีเดียวกับเพื่อนมหาวิทยาลัยที่ได้เกียรตินิยมนั่นแหละฮะ)
4
สำหรับผมที่ผ่านการบรรยายหลักสูตร Master of one page summary
รวมกับพี่เล็กกว่า 170 รุ่น ผมว่าจริงยิ่งกว่าจริงครับ
1
ทำเองก็จำได้ดี แบ่งปันให้คนอื่นยิ่งจำได้แม่นกว่าฮะ
เทคนิคที่ผมแนะนำเพื่อให้ความจำของหนังสือเล่มนี้
อยู่กับเรานานๆ
1
เวลาแชร์ให้เพื่อน พิมพ์ สามเรื่องที่เราได้เรียนรู้ลงไปด้วยครับ
เพียงเท่านี้ความจำก็ดีขึ้นแล้วครับ
1
พวกเราคงเคยได้ยิน คำว่า Comfort Zone
Learning Zone, Danger Zone กันบ่อยพอประมาณ
แต่น่าจะไม่เคยได้ยินคำว่า プチ目標 แน่นอน (แหง ล่ะก็มันภาษาญี่ปุ่นนี่หว่า เซนเซ 555)
目標(Moku-Hyou)เนี่ยแปลว่า เป้าหมายครับ
ส่วน プチ ผมก็เพิ่งเห็นครั้งแรกหลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้
เลยไปลอง Search ดู มันแปลว่า จิ๋ว หรือ กะทัดรัด (Petite, Tiny)
2
เป้าหมายกะทัดรัดเกี่ยวอะไรกับเจ้า 3 Zone ที่ว่า
สรุปให้งี้ฮะ
ว่ากันว่าใน 3 Zone Learning Zone จะเป็น Zone ที่ทำให้สมองหลั่งโดพามีน
หรือสารแห่งความสุขออกมามากที่สุด
ภาวะนี้จะทำให้เราตื่นเต้นท้าทาย มีสมาธิแรงจูงใจสูง เรียนรู้ได้ดี
เหมาะแก่การพัฒนาตัวเองอย่างยิ่ง
1
เคล็ดลับของการสร้างสภาวะดังกล่าวก็คือ
ตั้งเป้าที่พยายามนิดๆหน่อยก็ทำได้สำเร็จนี่แหละครับ
1
ถ้าเชื่อมโยงกับหัวข้อที่พูดถึงการทำอะไรให้สม่ำเสมอ
ก็จะได้ว่า ตั้งเป้าสูงๆไว้ ตั้งเป้าย่อยๆ ทำให้สำเร็จ
ระหว่างทำก็จะไม่เครียดเกินไป ทำได้ก็จะรู้สึกฟิน
และก็อยากทำต่อไปเรื่อยๆ แล้ววงจรแห่งความสม่ำเสมอ
ก็เกิดขึ้นได้ในที่สุด
อย่าดูถูกของความสำเร็จขนาดกะทัดรัดนะครับ
เพราะรวมกันแล้วมันก็ล้มช้างได้เหมือนกัน
#เขียนทีละคำ
#ทำทีละสไลด์
#สรุปให้ก็ทำอย่างนี้พวกเราคงเคยได้ยิน คำว่า Comfort Zone
Learning Zone, Danger Zone กันบ่อยพอประมาณ
บทที่ 5 พูดถึงการฝึกฝน หรือวิธีทำ OUTPUT
อาจจะเป็นเพราะคุณ Kabasawa เป็นนักเขียนด้วยก็ได้นะฮะ
เขาเลยบอกว่า การเขียนไดอารี่เนี่ยเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด
ข้อดีของการเขียนไดอารี่มีมากมาย
1.เพิ่มทักษะการเขียน
2.อึด ความเข้าใจเนื้อหาดีขึ้น
3.ค้นหาความสนุกเก่งขึ้น
4.ลดความเครียด
5.เพิ่มความสุขในชีวิต
อันสุดท้ายนี่น่าสนใจ คุณ Kabasawa
ยกงานวิจัยของมหาวิทยาลัยบริคแฮม ยัง
ในรัฐ Utah ของอเมริกาที่จับนักศึกษากลุ่มเป้าหมาย 100 คน
มาเขียนไดอารี่
กลุ่มแรก ให้เขียนเรื่องดีๆที่ตัวเองพบทุกวัน
กลุ่มที่สอง ให้เขียนอะไรที่เจอในวันนั้นๆทุกวัน
ผ่านไปได้สักระยะก็ลองทำแบบสอบถามดู
พบว่า
กลุ่มที่เขียนเรื่องดีๆที่พบเจอในแต่ละวันดูมีความสุข
มากกว่ากลุ่มที่เขียนเรื่องอะไรก็ได้อย่างมีนัย
ที่พิเศษกว่านั้นคือเมื่อกลุ่มแรกเอาเรื่องดีๆในไดอารี่
ไปพูดคุยกับเพื่อนคนรักระดับความพึงพอใจและความสัมพันธ์
เพิ่มขึ้น 2-3 เท่าเลยทีเดียว
1
คุณ Kabasawa เขียนทุกวันติดต่อกันมา 13 ปีแล้ว
ถ้ายังจำกันได้ คุณ Komiya ผู้เขียนหนังสือ หลักคิดที่คนญี่ปุ่นพกติดตัวไปทำงานทุกวัน
ก็เขียนติดต่อกัน 17 ปีแล้วเช่นกัน
2
มาลองกันดูไหมครับ ทุกสัปดาห์ก็ยังดีพิมพ์ใส่ Facebook เป็น Private
ก็บไว้ดูเองก็ได้นะ^^
2
อีกวิธีที่การเขียนจะช่วยเปลี่ยน Input ให้เป็น Output ได้
คือการ รีวิวหนังสือ ด้วย BND model
B = Before / ก่อนอ่านหนังสือเล่มนี้ฉันเป็นอย่างไร
N = Notice / อ่านจบแล้วได้เรียนรู้อะไรบ้าง
D = To Do / จะเอาความรู้ที่ได้ไปทำอะไร
1
ผมลองยกตัวอย่างการอ่านหนังสือ
เปลี่ยนยากเป็นง่ายด้วยการคิดบนกระดาษหนึ่งใบ
ที่คนญี่ปุ่นใช้ มาให้ดูกัน
ส่วนตัววิธีมองว่า วิธีนี้คือการตกผลึกกับตัวเอง
ย่อย Input เป็น Output แบบง่ายๆที่ทำได้ทันทีเลย
1
ลองดูนะครับ
จากการเขียนบทความลง Blog, Website, Social Media กว่า 20ปี
คุณ Kabasawa ได้พบกฎที่เรียกว่า 100,300,1000
มันคือตัวเลขที่สะท้อนผลลัพธ์ที่ได้จากการออก OUTPUT
อย่างต่อเนื่อง
เช่น
ถ้าเขียนบทความได้ 100 บทความจะเริ่มมีผู้ติดตาม
ถ้าเขียนผ่าน 300 บทความ บางอันจะขึ้น 1st Page ใน Search Engine
และถ้าผ่านไปถึง 1,000 บทความได้ หลายบทความจะเป็น 1st Page
และก็จะมีคนเข้ามาดูที่เพจหรือเว็บไซด์จำนวนมากพอที่จะดึงดูดโฆษณา
หรือรายได้เข้ามาได้
ผมว่าหลักการนี้ใช้ได้กับทุกเรื่องครับ
ถ้าทำเรื่องเดิมให้เก่งขึ้นทุกครั้ง
ครบ 100 ครั้งทักษะนั้นอาจจะทำให้เราเป็นที่รู้จัก
ครบ 300 ก็จะเป็นที่รู้จักวงกว้างคนยอมรับว่าเป็นตัวจริงด้านนั้น
และเมื่อ ครบ 1,000 ครั้งก็จะเป็นผู้ทรงอิทธิพลด้านนั้น
1
อยากยกกรณีของพี่กุ๊ก ช่างซ้อมหนังสือเก่าที่ซ่อมหนังสือปีละ 1,000 เล่มครับ
พี่เขาซ่อมหนังสือไม่ได้ทำสื่อโซเชี่ยลแต่อย่างได้
แต่ลองพิมพ์คำว่า ซ่อมหนังสือเก่า ลงใน Google ดูครับ
ชื่อของพี่เขาจะโผล่มาเป็นท่านแรกเลยฮะ
แล้วถ้าเราอยากซ่อมหนังสือที่เป็นความทรงจำ
เราก็คงนึกถึงพี่เขาเป็นคนแรก
1
จริงไหมครับ^^
#1003001000
#สูตรไม่ลับความสำเร็จ
One Page Summary
โฆษณา