2 ส.ค. 2020 เวลา 13:51 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ECONOMY : ภาพรวมทางเศรษฐกิจโลกที่ควรจับตามองในสัปดาห์ถัดไป
ธนาคารกลางจาก 4 ทวีปทั่วโลกคาดการณ์ยังคงเผชิญกับความวิตกกังวลในการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้ เนื่องจากการคงอยู่ของ Coronavirus ยังเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
เจ้าหน้าที่ทางด้านการเงินในประเทศบราซิลและอินเดีย ซึ่งเป็น 2 ประเทศที่มีการระบาดอย่างรุนแรงไม่แพ้สหรัฐฯ อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกครั้ง ขณะที่ประเทศอื่น ๆ อย่างเช่น อังกฤษไปจนถึงออสเตรเลีย มีแนวโน้มที่จะเพิ่มการเฝ้าระวังให้สูงขึ้นไปอีก รวมถึงการปรับใช้มาตรการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
ทั้งหมดนี้คาดว่าจะออกมาในแนวโน้มที่คล้ายกับสหรัฐฯ อเมริกา ซึ่งเมื่อวันพุธที่ผ่านมา FED ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ใกล้ระดับ 0%
วิกฤตจากการระบาดซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ได้กระตุ้นให้เกิดการผ่อนปรนจากธนาคารกลางทั่วโลก โดยเจ้าหน้าเหล่านั้นรู้ดีว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดีที่สุดก็คือ "วัคซีนป้องกันไวรัส" ซึ่งพวกเขาไม่สามารถจัดหาให้ได้ในปัจจุบันนี้
สถาบันการเงินต่าง ๆ ซึ่งโดยปกติแล้วจะวางแผนการดำเนินงานโดยการคาดการณ์และคำนวณจากตัวเลขพยากรณ์ทางเศรษฐกิจ แต่ปัจจุบันถูกบังคับต้องรอจะกว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์จะสามารถป้องกันไวรัสชนิดนี้ได้ และช่วยปัดเป่าหมอกควันของความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจออกไป
นี่คือความไม่แน่นอนที่ธนาคารกลางแห่งประเทศอังกฤษ (Bank of England) จะต้องพบเจอ ซึ่งพวกเขาจะเปิดเผยการคาดการณ์การเติบโตใหม่พร้อม ๆ กับการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยในวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้
ขณะเดียวกันก็ยืนยันว่าพวกเขาจะอธิบายกฏระเบียบต่าง ๆ โดยแยกเป็น "กรณี (Scenarios)" ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะหน้า ณ ขณะนั้น เนื่องจาก Coronavirus ได้เอาชนะความพยายามของเจ้าหน้าที่ซึ่งต้องการจะหาแนวทางเดียวที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการจัดการกับผลกระทบที่แตกต่างกันตามสถานการณ์ความไม่แน่นอน
ผู้กำหนดนโยบายจะต้องทำงานร่วมกับธนาคารกลาง 7 แห่งซึ่งมีกำหนดจะพบกันในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ซึ่งรวมถึงประเทศไทย จอร์เจีย และสาธารณรัฐเช็ก นับเป็นหลักฐานเพิ่มเติมของความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการหยุดชะงักเพื่อต่อสู้กับโรคระบาด
ดัชนีผู้จัดซื้อจัดจ้างทั่วโลกดูเหมือนจะยืนยันแล้วว่าการฟื้นตัวจากจุดที่เลวร้ายที่สุดของเศรษฐกิจยังคงอ่อนแอ ขณะที่ข้อมูลด้านการจ้างงานในสหรัฐฯ เมื่อเดือนกรกฎาคมบ่งชี้ให้เห็นถึงการชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วของการฟื้นตัวในอัตราจ้างงาน
Tom Orlik หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Bloomberg กล่าวว่า
"บราซิลดูเหมือนพวกเขาจะตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ขณะที่อินเดียกำลังเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและผ่อนคลายมาตรการเพิ่มเติมจากอดีตที่ผ่านมา และการประเมินการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของอังกฤษ ยังแสดงให้เห็นอีกว่า Bank of England ยังไม่สามารถออกไปจากเกมนี้ได้"
สหรัฐฯ และแคนาดา
ตลาดแรงงานได้ฟื้นตัวเป็น V-Shaped เมื่อเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนที่ผ่านมา แต่คาดว่าจะสูญเสียแรงขับเคลื่อนอย่างรุนแรงในเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสภายในสหรัฐฯ รุนแรงขึ้นหลังจากที่รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการ Lockdowns
อนึ่ง การระบาดที่ทวีความรุนแรงขึ้นนี้ทำให้ธุรกิจบางแห่งต้องกลับไปปิดทำการอีกครั้ง รวมถึงพนักงานหลายคนจะต้องโดนปลดออกเพิ่มเติม
จากการสำรวจของ Bloomberg ก่อนหน้ารายงานของกระทรวงแรงงานในวันศุกร์ที่จะถึงนี้ ระบุว่ากลุ่มนายจ้างดูเหมือนจะจ้างงานเพิ่มเพียง 1.5 ล้านตำแหน่งในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา คิดเป็นเพียง 1 ใน 3 ของการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นเมื่อเดือนก่อน
อัตราการจ้างงานถูกคาดการณ์ไว้ว่าจะลดลง 0.6% สู่ระดับ 10.5% เทียบกับการลดลง 2.2% ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
1 วันก่อนการรายงานด้านการจ้างงาน ตัวเลขรายสัปดาห์ของผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานจะเป็นตัวชี้นำว่าการฟื้นตัวของตลาดแรงงานกำลังชะลอตัวลงในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม
ขณะเดียวกัน ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเมื่ออาทิตย์ที่แล้วได้แสดงให้เห็นถึงการพุ่งขึ้นเป็นกราฟเส้นตรง 2 สัปดาห์ติดต่อกันแล้ว โดยแนวโน้มที่ดูเป็นลางไม่ดีเหล่านี้ อาจเป็นการบอกล่วงหน้าถึงการทรุดตัวลงของเศรษฐกิจและการตกงานที่เพิ่มขึ้นในเดือนสิงหาคมนี้
ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
ด้วยการที่ Bank of England ไม่ได้คาดหวังจะกระทำการใด ๆ ในการประชุมสัปดาห์หน้านี้ ความสนใจของผู้จึงไปอยู่กับสัญญาณในอนาคตของพวกเขาแทน โดยเฉพาะการตัดสินใจของพวกเขาที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับต่ำกว่า 0% หรือติดลบ
ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางของสาธารณรัฐเช็กจะประกาศการตัดสินใจในวันเดียวกันนั้น ซึ่งโดยรวมแล้วคาดหวังว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิม
ตัวชี้วัดที่มีความถี่สูงในประเทศอังกฤษและสหภาพยุโรปคาดว่าจะยืนยันการฟื้นตัวในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้
ในทางกลับกันตัวเลขจากสวีเดนจะให้ข้อมูลคร่าว ๆ ว่ารัฐบาลมีความหละหลวมเกินไปในการควบคุมการระบาดของ COVID-19 และได้ทำให้เงินรั่วไหลออกจากเศรษฐกิจของประเทศ โดย Bloomberg Economics คาดการณ์ว่า GDP ของสวีเดนในไตรมาสที่ 2 จะหดตัว 8%
เอเชีย
ญี่ปุ่นจะปรับปรุงแก้ไขข้อมูล GDP ของพวกเขาในวันจันทร์นี้ ซึ่งเป็น 2 สัปดาห์ก่อนที่ตัวเลขซึ่งเลวร้ายกว่ามากในไตรมาสที่ 2 จะประกาศออกมา
รายงานการจัดซื้อจัดจ้างทั่วประเทศจะถูกเปิดเผยในวันจันทร์นี้เช่นกัน ซึ่งอาจแสดงให้เห็นว่าการฟื้นตัวของภาค Supply ภายในประเทศกำลังหยุดนิ่งลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 นี้
ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางออสเตรเลียจะประชุมกันในวันอังคารนี้ และดูเหมือนว่าพวกเขาจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้รวมถึงอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปีไว้ในระดับเดิม
และในวันพุธที่จะถึงนี้ ธนาคารกลางแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand) คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เช่นเดิมเหมือนกัน นอกจากนี้ยังแสวงหาแนวทางเพิ่มเติมเพื่อจำกัดขอบเขตของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในระดับที่รุนแรงขึ้นไปอีก
ส่วนคณะกรรมาธิการทางด้านการเงินของอินเดีย ดูเหมือนว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกครั้งในวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันกำลังเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ทางฝั่งจีน กำลังเตรียมรายงานข้อมูลการซื้อขายของเดือนกรกฎาคมในวันศุกร์นี้
ละตินอเมริกา
ในวันจันทร์ ธนาคารกลางของโคลัมเบียได้เผยแพร่รายงานการประชุม ณ วันที่ 31 กรกฎาคมของพวกเขา ซึ่งมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 2.25% โดยอาจลดลงอีก 0.25% ในเดือนสิงหาคมนี้
และในวันพุธนี้ ธนาคารกลางของบราซิลมีแผนที่จะขยายระยะเวลาของมาตรการผ่อนคลายเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษก่อน โดยมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลงสู่ระดับต่ำสูงตลอดกาลที่ 2%
ขณะเดียวกันรายงานกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากประเทศชิลีและรายงานผลผลิตจากอุตสาหกรรมของบราซิลจะบ่งชี้ให้เห็นถึงการฟื้นตัวในระยะแรก แม้ว่าภาพรวมเมื่อเทียบเป็นปีต่อปี (Y/Y) จะยังคงหดตัวลงเป็นตัวเลขถึง 2 หลัก
สุดท้ายก็คือตัวเลขของราคาผู้บริโภคในประเทศเปรู โคลัมเบีย เม็กซิโก ชิลี และบราซิล จะเป็นเครื่องมือที่ยืนยันว่าอัตราเงินเฟ้อได้ประเทศแถบละตินอเมริกากำลังอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายที่พวกเขาต้องการหรือไม่
การกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม และการติชมในเชิงสร้างสรรค์ของคุณ เป็นกำลังใจให้เราและเหล่าอาชีพนักเขียนทุกคนในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ขอเชิญทุกท่านร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้ที่ดีด้วยกันกับเรา
World Maker
สามารถติดตาม World Maker ผ่านทาง Facebook ได้แล้ววันนี้ที่
อยากลงทุน อยากมีเงินเก็บอย่างจริงจัง แต่ไม่มีพื้นฐาน World Maker มีคอร์สเรียนดี ๆ มาแนะนำให้ครับ รายละเอียดคลิกเลย
โฆษณา